สวมบทบาท: เตรียมพร้อมเพื่อเลี้ยงดูลูกในนักเรียนที่ตั้งครรภ์ไม่ได้ตั้งใจ

Main Article Content

บุญมี ภูด่านงัว
วรรณี เดียวอิศเรศ
กนกนุช ชื่นเลิศสกุล

Abstract

การวิจัยเชิงคุณภาพแบบทฤษฎีพื้นฐานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายกระบวนการของการเป็นมารดา ในระยะสวมบทบาท: เตรียมพร้อมเพื่อเลี้ยงดูลูกในนักเรียน ที่ตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ แบบเจาะลึกพร้อมกับการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการเปรียบเทียบ ตลอดเวลาและการให้รหัส สิ้นสุดเมื่อทฤษฎีพื้นฐานที่ได้ มีความอิ่มตัวตามหลักการเลือกตัวอย่างเชิงทฤษฎี มีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 22 คน

ผลการศึกษาแสดงให้เห็น “การปรับเปลี่ยนตนเอง เพื่อเป็นแม่” เป็นกระบวนการจิตสังคมเบื้องต้นของนักเรียน ที่ตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจเพื่อปรับเปลี่ยนตนเองให้เป็นแม่ ที่ดีในการเลี้ยงดูลูก ความรู้สึกของการเป็นแม่ขณะตั้งครรภ์ คือ การอยู่กับความกลัวและความไม่มั่นใจ อันเป๋นเงื่อนไข สาเหตุชักนำให้นักเรียนที่ตั้งครรภ์มีการสวมบทบาทเตรียม พร้อมเพื่อเลี้ยงดูลูกที่จะเกิดมา ด้วยการสร้างความมั่นคง ปลอดภัยเพื่อแม่และลูก ประกอบด้วย การสร้างความมั่นคง ปลอดภัยด้านร่างกายและจิตใจ และการสร้างความมั่นคง ปลอดภัยในบทบาทใหม่

 

Taking role: Preparing for childbearing in unintended pregnant schoolgirls.

Phoodaangau, B., Deoisres, W., & Chunlestskul, K.

The purpose of this qualitative research was to explain the process of being a mother in the phase of taking role: preparing for childbearing in unintended pregnant schoolgirls. Grounded theory method was used in this study. The gathering data was employed in-depth interviews in accordance to the objective, and data analysis was done using the constant comparative method and coding, which data was collected with the principles of theoretical sampling until theory saturation from the 22 participants.

The finding was as follows. “Self transformation to be a mother” was the basic social psychological process for the schoolgirls who become unintentionally pregnant and to be a mother. The experience of feeling as a mother during pregnancy was “living with fear and insecurity”. It was the causal conditions which led mother to perform a new role in order to prepare for childbearing. These new roles included the creation of physical and psychological security, and the promotion of confidence in the new role as a mother.

Article Details

How to Cite
ภูด่านงัว บ., เดียวอิศเรศ ว., & ชื่นเลิศสกุล ก. (2016). สวมบทบาท: เตรียมพร้อมเพื่อเลี้ยงดูลูกในนักเรียนที่ตั้งครรภ์ไม่ได้ตั้งใจ. Thai Journal of Nursing, 63(3), 46–55. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/47025
Section
Research Article