ผลของโปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมต่อความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี

Main Article Content

พอเพ็ญ ไกรนรา
ยุพาวดี เกริกกุลธร
ภูวสิทธิ์ สิงห์ประไพ

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมโดยเปรียบเทียบความแตกต่างของความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ระหว่างก่อนและหลังการใช้โปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 213 คน ถูกเลือกแบบเจาะจง เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี 7 แห่ง เครื่องมือวิจัยเป็น แบบวัดความรู้ แบบวัดทัศนคติและแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ความเที่ยงของแบบวัดความรู้ ค่า KR เท่ากับ 0.75 แบบวัดทัศนคติและแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.69 และ 0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test

ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังเข้าโปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อม นักเรียนส่วนใหญ่มีความรู้ และทัศนคติ ระดับปานกลาง การรับรู้สมรรถนะแห่งตนระดับมาก ภายหลังการใช้โปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมนักเรียนมีความรู้และทัศนคติสูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ส่วนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนไม่แตกต่างกัน

 

The effects of unintended pregnancy prevention program on knowledge, attitude, and perceived self-efficacy among Mathayomsuksa students in schools under the Saraburi Municipality.

Krinara, P., Kirkgulthorn, Y., & Singpraphai, P.

This quasi-experimental research aimed to study effects of the unintended pregnancy prevention program on knowledge, attitude, and perceived self-efficacy among Mathayomsuksa students in schools under the Saraburi Municipality. The purposive sample consisted of 213 students from seven schools under Saraburi Municipality. Research tools were developed by researchers including the unintended pregnancy prevention program, the knowledge test, the attitude test, and the self-efficacy questionnaire. The reliabilities of the tools were 0.75, 0.69 and 0.91 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and paired t-test.

Results indicated that after attending the unintended pregnancy prevention program, the majority of students had the knowledge and attitude at the moderate level and perceived self-efficacy at the high level. Knowledge and attitude at the post test were significantly higher than the pre test at p<.001, but perceived self-efficacy was not significantly different.

Article Details

How to Cite
ไกรนรา พ., เกริกกุลธร ย., & สิงห์ประไพ ภ. (2016). ผลของโปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมต่อความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี. Thai Journal of Nursing, 62(2), 1–9. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/47134
Section
Research Article