ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพบริการของพยาบาลเวชปฏิบัติตามการ รับรู้ของผู้รับบริการ ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

สุรีรัตน์ จรัสโสภณ
สุทธีพร มูลศาสตร์

Abstract

การวิจัยเชิงบรรยายหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพบริการที่ได้รับจากพยาบาลเวชปฏิบัติตามการรับรูข้ องผูรั้บบริการ 2) เปรียบเทียบคุณภาพบริการตามการรับรูข้ องผูรั้บบริการที่มีเพศ อาชีพ สิทธิในการรักษาและลักษณะการเจ็บป่วยต่างกัน และ 3) หาความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านความเจ็บป่วย การยอมรับบทบาทพยาบาลเวชปฏิบัติ กับคุณภาพบริการตามการรับรู้ของผู้รับบริการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้รับบริการสุขภาพจากพยาบาลเวชปฏิบัติในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปทุมธานี จำนวน 350 คน สุ่มเลือกแบบมีระบบ เครื่องมือ วิจัยเป็นแบบสอบถามมี 5 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ปัจจัยด้านความเจ็บป่วย 3) การยอมรับบทบาทของพยาบาลเวชปฏิบัติ 4) คุณภาพบริการของพยาบาลเวชปฏิบัติ และ 5) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อคุณภาพบริการ ส่วนที่ 3 และ 4 มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา 0.98 และ 0.96 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.92 และ 0.98 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณภาพบริการที่ได้รับจากพยาบาลเวชปฏิบัติตามการรับรู้ของผู้รับบริการในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปทุมธานี โดยรวมและรายด้านทุกด้านในระดับดี 2) การรับรู้คุณภาพบริการที่ได้รับจากพยาบาลเวชปฏิบัติ มีความแตกต่างกันระหว่างผู้รับบริการที่มีอาชีพและสิทธิในการรักษาต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่มีเพศและลักษณะการเจ็บป่วยต่างกัน 3) ปัจจัยด้านการศึกษาความรุนแรงของการเจ็บป่วย ประสบการณ์ในการรับบริการและการยอมรับบทบาทมีความสัมพันธ์กับคุณภาพบริการที่ได้รับจากพยาบาลเวชปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=-0.154, -0.180, 0.490 และ 0.897 ตามลำดับ) ส่วนอายุ รายได้ และจำนวนครั้งของการมารับบริการไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพบริการ

 

Factors related to service quality of nurse practitioners as perception of clients in community hospital, Pathumthani Province.

Jarussopon, S., & Moolsart, S.

The objectives of this descriptive correlational research were: 1) to study the service quality of nurse practitioners as perception of clients in community hospitals, Pathumthani province; 2) to compare service quality of nurse practitioners in different groups of gender, occupation, service rights and type of illness; and 3) to find the correlation of personal factors, illness factors, role acceptance and service quality of nurse practitioners. The sample of 350 clients receiving service from nurse practitioners in community hospitals, Pathumthani province, was selected by systematic random sampling. The questionnaire used to collect data, composed of 5 parts: personal factors, illness factors, role acceptance, service quality of nurse practitioner, and opinion and recommendation of clients. The content validity index of part 3 and 4 were 0.98 and 0.96 and the reliability coefficients were 0.92 and 0.98, respectively. The statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, Analysis of variance, and Pearson product-moment correlation.

The results revealed that 1) clients perceived the overall and each domain of service quality of nurse practitioners in community hospitals at the good level. 2) There was significant difference in service quality of nurse practitioners in community hospitals as perceived by clients who were different in occupation and service rights. However, there was no significant difference in the groups who differed in gender and type of illness at p < .05. 3) There were correlation between education (r = -0.154), severity of illness (r = -0.180), past experience (r = 0.490) and role acceptance (r = -0.897) with service quality of nurse practitioners; controversially, age, income, type of illness and number of service usage did not correlated to service quality at p <.05.

Article Details

How to Cite
จรัสโสภณ ส., & มูลศาสตร์ ส. (2016). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพบริการของพยาบาลเวชปฏิบัติตามการ รับรู้ของผู้รับบริการ ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปทุมธานี. Thai Journal of Nursing, 62(2), 26–35. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/47146
Section
Research Article