การพัฒนาต้นแบบคุณภาพบริการสาธารณสุขเทียบเคียงมาตรฐานสากล สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
Abstract
1) บริบทการพัฒนาคุณภาพบริการสาธารณสุข ตามมาตรฐาน PHCA ของศูนย์บริการสาธารณสุข 68 แห่ง มีความแตกต่างในเชิงโครงสร้างประชากร แต่การให้บริการ มีความคล้ายคลึงกัน มีการให้บริการตามมาตรฐาน PHCA ทุกศูนย์ฯ และได้รับรางวัลในระดับหน่วยงานของสำนัก อนามัยและการรับรองคุณภาพที่มีผลงานนวัตกรรมระดับ ทอง กระบวนการพัฒนาคุณภาพเริ่มจากการพัฒนาคุณภาพ ศูนย์บริการสาธารณสุขด้วยวงล้อคุณภาพ และการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมี ประสิทธิภาพ การพัฒนาสมรรถนะผู้เยี่ยมสำรวจ พี่เลี้ยง คุณภาพ และผู้ปฎิบัติในการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ พัฒนาเครือข่าย ผู้บริหารผลักดันการพัฒนาและจัดการ เรียนรูคุ้ณภาพรอบด้าน กระบวนการสนับสนุนการพัฒนา ประกอบด้วย การตั้งศูนย์ประสานคุณภาพเพื่อให้คำปรึกษา การเยี่ยมสำรวจเพื่อรับรองคุณภาพของสำนักอนามัย และ การติดตามผลภายหลังการนำมาตรฐาน PHCA ไปใช้อย่าง ต่อเนื่อง
2) ต้นแบบคุณภาพบริการสาธารณสุขเทียบเคียงมาตรฐานสากล สำนักอนามัย ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ หลัก ได้แก่ 1) ทิศทาง/เป้าหมาย/การพัฒนาเทียบเคียง มาตรฐานสากล 2) ประเด็นสำคัญของมาตรฐาน 3) ระบบ บริหารความเสี่ยง 4) ระบบเวชระเบียน (การบริหารจัดการ/ การบันทึกเวชระเบียน) 5) ระบบการดูแลผู้ป่วย และ 6) ระบบยา ภายหลังการพัฒนา ผู้รับบริการและผู้ให้ บริการผูมี้ความพึงพอใจต่อบริการของศูนย์บริการสาธารณสุข สูงกว่าก่อนการพัฒนา
Development of a prototype for public health service quality based on the international standard in health department, Bangkok Metropolitan Administration.
Sirisonthi, C.
The objectives of this research and development were to explore the context of public health service quality based on Public Health Center Accreditation (PHCA), the quality development process and the supporting process of public health service development and to develope a prototype for public health service quality of Health Department, Bangkok Metropolitan Administration based on the international standard. The population was all 68 Public Health Centers. The study period was three years. Data collection were done using the self- assessment report, the customer and health provider satisfaction questionnaires. The frequency, percentage and Public Health Center Accreditation Index comparison were used in data analysis. The results were as follows.
1) Public health service quality based on PHCA in 68 public health centers, their context were different in population structure, but the services were quite similar. The services were running according to the standard and policy of Health Department. All public health centers were awarded and certified at the gold level by Head Office. The quality development process included implementing the Deming cycle and continuous quality improvement, facilitating efficient material management, improving auditor competency, training effective facilitator and health providers and collaborating among all sectors in Health Department. The supporting processes composed of setting up the Public Health Accreditation Center, auditing surveyors, and following up the outcome after the implementation of Public Health services based on the PHCA standard.
2) The prototype for public health service quality consisted of 6 components: 1) Direction development based on the international standard. 2) Main issue of standard 3) Risk management system 4) Information management system 5) Health care services system and 6) Pharmaceutical management system. After the development, staffs’ and customer’s satisfaction on health service were higher than the pre-development period.