การคิดทวนซํ้าการคิดในขั้นตอนที่ 2 ของการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน

Main Article Content

ทัศน์ศรี เสมียนเพชร

Abstract

การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเรียนกลุ่มย่อยและการใช้โจทย์ปัญหาเป็นสิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้นกระบวนการเรียนรู้ ผลลัพธ์ของการเรียนรู้คือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน ขั้นตอนของการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ตามลำดับได้แก่ 1) การทำความเข้าใจคำศัพท์ยาก 2) การตั้งคำถาม 3) การระดมสมอง 4) การวิเคราะห์ปัญหา 5) การกำหนดประเด็นการเรียนรู้ 6) การศึกษาด้วยตนเอง และ 7) การนำเสนอในชั้นเรียนผู้เรียนต้องเรียนรู้แต่ละขั้นตอนอย่างมีสติกำกับ โดยเริ่มต้นตั้งใจอ่านโจทย์ปัญหาที่กำหนดให้ เพื่อนำไปสู่การคิดคำถามและอภิปรายเชิงเหตุผล โดยเฉพาะขั้นตอนที่ 2 คือการตั้งคำถาม ผู้เรียนต้องตั้งคำถามอย่างไตร่ตรองเกี่ยวกับโจทย์ปัญหา เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์และการอภิปรายเชิงเหตุผล แต่ยังพบว่าในขั้นตอนนี้ คำถามของผู้เรียนยังขาดความชัดเจนในสาระสำคัญและไม่นำไปสู่การอภิปรายอย่างกว้างขวาง การคิดทวนซํ้าการคิดใหม่ อีกครั้งหลังสิ้นสุดของขั้นตอนที่ 2 นี้ เป็นการสะท้อนคิดเกี่ยวกับทักษะการตั้งคำถามทำให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบความคิดเดิมของตนเอง และทำให้คำถามใหม่มีความชัดเจน นำไปสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ดีขึ้น

 

Metacognition in the second step of problem-based learning.

Sameinpetch, T.

Problem-based learning is a process of self directed learning, small group discussion and triggering learning process by a problem or a scenario. The learning outcome is critical thinking. Problem -based learning composed of 7 steps including; 1) clarification of unfamiliar terms, 2) problem definition, 3) brain storming, 4) problem analysis, 5) formulating learning issues, 6) self study and 7) reporting to the class. Learner have to consciously learn in each steps from critical read a prescriptive problem or a scenario that leads to logical analysis and discussion especially in the second step. It was founded that most questions were unclear and did not lead to the extensive debate. Metacognition or re-think question about questions at the end of the second step is reflection on the questioning skills. As the result, learner can reassess their own initial thought and clarify new questions which lead to better learning outcomes.

Article Details

How to Cite
เสมียนเพชร ท. (2016). การคิดทวนซํ้าการคิดในขั้นตอนที่ 2 ของการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. Thai Journal of Nursing, 62(2), 46–51. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/47430
Section
Academic Article