การประเมินผลโปรแกรมการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเสริมสร้างความตระหนักต่อพิษภัยบุหรี่ในเยาวชนไทย

Main Article Content

ผ่องศรี ศรีมรกต
รุ้งนภา ผาณิตรัตน์
ศิรดา เกษรศรี

Abstract

เยาวชนเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญทางการตลาดของบริษัทบุหรี่ในการขยายลูกค้าเป็นผู้สูบบุหรี่รายใหม่ การป้องกันเยาวชนจากการเป็นนักสูบหน้าใหม่ จึงจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนให้มีศักยภาพในการนำเยาวชนที่เป็นเพื่อนในวัยเดียวกันเพื่อไม่ให้กลายเป็นนักสูบหน้าใหม่ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างความตระหนักต่อพิษภัยบุหรี่ในเยาวชนไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นแกนนำนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 20 คน เข้าร่วมโปรแกรมโดยผ่านความเห็นชอบจากผู้ปกครอง ผู้บริหารโรงเรียน และครู เครื่องมือเป็นแบบประเมินคุณลักษณะทั่วไปของนักเรียน และแบบประเมินความรู้ ทัศนคติและทักษะการเป็นแกนนำด้านการควบคุมยาสูบ โดยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย การให้ความรู้ การพบปะผู้ได้รับผลกระทบจากการสูบบุหรี่ และการดูวิดีทัศน์สถานการณ์การแพร่ระบาดยาสูบในประเทศไทย การพัฒนาทักษะการเป็นแกนนำและภาวะผู้นำผ่านกระบวนการกลุ่ม การระดมสมองแลกเปลี่ยนแนวคิดสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาโครงงานการควบคุมยาสูบในโรงเรียน กับกลุ่มเพื่อน ๆ และรุ่นน้องในโรงเรียน โดยมีการสนับสนุนจากทีมผู้วิจัยและอาจารย์ในโรงเรียน ผลการศึกษาพ พบว่า เยาวชนไทยมีการพัฒนาความรู้ทัศนคติเกี่ยวกับพิษภัยบุหรี่ และมีทักษะการเป็นแกนนำด้านการควบคุมยาสูบดีขึ้น มีความมั่นใจ และมีความพึงพอใจในโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพ แกนนำเยาวชนเพื่อเสริมสร้างความตระหนักในพิษภัยบุหรี่ดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ข้อเสนอแนะ คือครูควรเปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพการเป็นแกนนำ และมีโอกาสสัมผัสหรือพบปะประสบการณ์จริงที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่โดยตรง และสนับสนุนให้เยาวชนได้แสดงออกถึงพลังสร้างสรรค์กับกลุ่มเพื่อนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง มาสู่พฤติกรรมสร้างสรรค์ และมีภูมิคุ้มกันต่อพิษภัยยาสูบ พ่อแม่ผู้ปกครองและครูจำเป็นต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ในการไม่สูบบุหรี่ให้กับเยาวชนไทย และเฝ้าระวัง สั่งสอน อบรมเยาวชนให้เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพของสังคมไทยต่อไป

 

Evaluation of a capacity building workshop for raising awareness on tobacco harmfulness among thai adolescents.

Srimoragot, P., Panitrat, R., & Kesornsri, S.

Adolescents are at risk for smoking initiation and are the significant target group for tobacco marketing. Empirical evidences identified that smoking behavior initiation among adolescents are influenced by their curiosity and peer pressure. Inhibition or postponement smoking initiation is exclusively focused for health care providers. Objectives: To examine the effectiveness of school-based capacity building workshop. A Capacity Building Workshop focused on raising awareness in relation to tobacco related harm was conducted. Sample included twenty voluntary 10th grade students of two schools in Bangkok. Demographic data, knowledge, attitude, and leadership skill assessment tools were developed by the research team and validated by experts. Volunteers were pretest before joining the capacity building workshop which includes education, a lecture by a patient with tobacco health impact, a video tape on tobacco harmfulness, brain storming for development a project for further skill practice. One teacher and researcher team facilitated all processes of this workshop. Results revealed that students gained more knowledge and attitude regarding tobacco harmfulness and their leadership skills was performed in school. Recommendations are students' family and teacher should be the non-smoke role model. They could provide an opportunity for youth to perform their leadership for smoking prevention. Supporting information, on social influences for youth development and attention regarding tobacco use, was provided at short term and long term physiologic impact from tobacco smoke. A program-specific training for teachers and families should be provided as they influence youth's behavior. School administrators should enforce a school's tobacco free policies to support all activities of the tobacco prevention program.

Article Details

How to Cite
ศรีมรกต ผ., ผาณิตรัตน์ ร., & เกษรศรี ศ. (2016). การประเมินผลโปรแกรมการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเสริมสร้างความตระหนักต่อพิษภัยบุหรี่ในเยาวชนไทย. Thai Journal of Nursing, 62(1), 1–11. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/47439
Section
Research Article