รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันการเข้าถึงบุหรี่ ของเยาวชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

ไพฑูรย์ วุฒิโส
ขวัญหทัย ยิ้มละมัย
มณฑล ทองนิตย์
ธรณินทร์ คุณแขวน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาสภาพการมีส่วนร่วม การหารูปแบบและประเมินผลรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันการเข้าถึงบุหรี่ของเยาวชน โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบบูรณาการทั้งการศึกษาเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพและการศึกษาแบบมีส่วนร่วมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ ศึกษาสภาพการมีส่วนร่วม ค้นหารูปแบบการมีส่วนร่วม พิจารณาความเป็น ไปได้ การทดสอบและประเมินผลรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชน ผู้นำชุมชน นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ และบุคลากรด้านสุขภาพ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึกและการทำประชาคม ผลการวิจัย ด้านสภาพการมีส่วนร่วมในปัจจุบันของชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง เกิดรูปแบบการมีส่วนร่วม ประกอบด้วยคณะกรรมการชุมชน ขอบข่ายการมีส่วนร่วม และกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งมีความเหมาะสมของรูปแบบ ในระดับมาก และมีระดับความเป็นไปได้ของรูปแบบ ในระดับปานกลาง สำหรับการทดสอบรูปแบบพบว่า มีการปฏิบัติตามรูปแบบในภาพรวม ในระดับมาก การประเมินผลรูปแบบ มีความเหมาะสม ในระดับมาก และมีประโยชน์ ในระดับมาก ทั้งนี้รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันการเข้าถึงบุหรี่ของเยาวชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ เป็นรูปแบบการทำงานแบบมีส่วนร่วมในเชิงรุกของชุมชน โดยกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมที่มุ่งเน้นทั้งปัจจัยภายในและภายนอกตัวบุคคล สามารถใช้เป็นแบบอย่างนำร่องในการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันการเข้าถึงบุหรี่ของเยาวชนในพื้นที่ อื่นๆ ต่อไป

 

A community participation model of tobacco accessibility prevention for youth in Muang district, Chaiyaphum province

Vutiso P, Yimlamai, K, Thongnit M, & Khunkhavan T.

The objectives of this study were to examine participating situation, and select and evaluate a community participation model of tobacco accessibility prevention for youth in Muang district, Chaiyaphum province, Thailand. Quantitative, qualitative, and participatory action research method were derived for this study; which were defined into five stages, examining participating situation, selecting a participation model, finding possibility to implement, and testing and evaluating the selected model. Samples were community members, community leaders, academic experts, and health care providers. Data collection was done through questionnaires, focus group, in-depth interviews, and community forum record. Result reveals that community participation of tobacco prevention for youth was at a moderate level. The selected model of tobacco accessibility prevention for youth consists of community administration committee, scope of community participation, and community participation process. The appropriateness of the model was at a high level and the possibility to implement was at a moderate level. Results of the model test reveal high levels of model appropriateness and benefit to perform. This participation model of tobacco accessibility prevention for youth could be applied as a pilot model for a community participation model in other area.

Article Details

How to Cite
วุฒิโส ไ., ยิ้มละมัย ข., ทองนิตย์ ม., & คุณแขวน ธ. (2016). รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันการเข้าถึงบุหรี่ ของเยาวชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. Thai Journal of Nursing, 62(1), 12–21. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/47440
Section
Research Article