การพัฒนาศักยภาพแกนนำนักศึกษาพยาบาล ด้านความรู้ ทัศนคติต่อบุหรี่ และทักษะการให้คำปรึกษาเรื่องการเลิกบุหรี่ในชุมชน

Main Article Content

อารีย์ เสนีย์
พรรณี ปานเทวัญ
เบญจมาศ บุญรับพายัพ

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบความรู้ทัศนคติต่อบุหรี่ และทักษะการให้คำปรึกษาเรื่องการเลิกสูบบุหรี่ในชุมชนของแกนนำนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก ก่อนและหลังการพัฒนาศักยภาพแกนนำ และศึกษาความพึงพอใจของแกนนำนักศึกษา พยาบาลและผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่อการจัดกิจกรรมรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่ในชุมชน กลุ่มตัวอย่าง เป็นแกนนำนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก 29 คน และประชาชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่ในชุมชน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบความรู้ชนิดเลือกตอบ แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ แบบสอบถาม ปลายเปิดเกี่ยวกับทักษะการให้คำปรึกษาการควบคุมยาสูบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t-test ผลการวิจัย พบว่า แกนนำนักศึกษาพยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และทัศนคติต่อบุหรี่หลังการพัฒนาศักยภาพแกนนำสูงกว่าก่อนการพัฒนาศักยภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ความพึงพอใจของแกนนำนักศึกษาพยาบาลและผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่อโครงการเลิกสูบบุหรี่ในชุมชน อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุดเป็นส่วนใหญ่ หลังการพัฒนาศักยภาพนักศึกษามีความรู้และทักษะด้านการให้คำปรึกษาเรื่องการเลิกสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น และเห็นคุณค่าของกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยผลของการวิจัยจะเป็นแนวทางให้นักศึกษาพยาบาลและบุคลากรในทีมสุขภาพนำไปพัฒนาโปรแกรมการควบคุมยาสูบ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีต่อไป

 

A potential developing program for nurse student leaders on knowledge, attitude toward tobacco, and smoke cessation counseling skills in community

Sanee A, Pantaewan P, & Boonrubpayap B.

This quasi-experimental research aimed to compare knowledge, attitude toward tobacco, and smoking cessation counseling skills of nurse student leaders, before and after a potential developing program. This study also examined satisfactions toward smoking cessation campaign among nurse student leaders and participants in community. Samples were 29 fourth year nursing students at the Royal Thai Army Nursing College and 90 participants in community. The Personal Characteristic Questionnaire, Tobacco Knowledge Questionnaire, Tobacco Attitude Questionnaire, and Open-ended Questions were used for data collection. Data analyses were performed by using percentage, mean, standard deviation, and paired t-test. Results revealed that after participating in the potential development program, nurse student leaders gained higher scores of knowledge and attitude toward tobacco than before their participation (p < 0.001). The satisfaction toward smoking cessation campaign of nurse student leaders and participants in community were at high and highest level. In conclusion, nurse students gained their knowledge and counseling skills on tobacco control in community from this potential developing program, which could enhance value of participatory learning. The study findings could guide nurse students and other health providers to develop other smoking control program for promoting quality of life and improving people healthy behavior.

Article Details

How to Cite
เสนีย์ อ., ปานเทวัญ พ., & บุญรับพายัพ เ. (2016). การพัฒนาศักยภาพแกนนำนักศึกษาพยาบาล ด้านความรู้ ทัศนคติต่อบุหรี่ และทักษะการให้คำปรึกษาเรื่องการเลิกบุหรี่ในชุมชน. Thai Journal of Nursing, 62(1), 22–31. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/47443
Section
Research Article