ประสิทธิภาพของการช่วยเลิกบุหรี่โดยพยาบาลในประเทศไทย

Main Article Content

ผ่องศรี ศรีมรกต
จรรยา ใจหนุน
ปุณยนุช สนามทอง
ยุพิน หงษ์ทอง
ประทีป แสวงดี
อรสา อัครวัชรางกูร

Abstract

พยาบาลเป็นกลุ่มบุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญที่สุดในการช่วยผู้สูบบุหรี่ให้เลิกบุหรี่ โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการช่วยเลิกบุหรี่แบบบูรณาการทั้งการให้คำปรึกษารายบุคคล รายกลุ่ม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสูบบุหรี่สู่พฤติกรรมการไม่สูบบุหรี่ และการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน โดยคัดเลือกผู้สูบบุหรี่เป็นประจำต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ปี ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการเลิกบุหรี่ในโรงพยาบาล 5 แห่ง จำนวน 300 คน เป็นกลุ่มทดลอง 150 คน ได้รับการพยาบาลแบบบูรณาการตามกรอบ 5A และ กลุ่มเปรียบเทียบ 150 คน ได้รับคำแนะนำและการพยาบาลตามปกติ ทั้งสองกลุ่มได้รับการประเมินก่อนเข้าร่วมโครงการ และติดตามประเมินการเลิกบุหรี่ต่อเนื่องอีก 5 ครั้ง ในสัปดาห์ที่ 1 และเดือนที่ 1, 2, 4, 6 หลังจากวันที่กำหนดว่าจะเลิกบุหรี่ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติและแบบแผนการสูบบุหรี่ ระดับการเสพติดนิโคติน แรงจูงใจในการเลิกบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ไคสแควร์ และสถิติ t-test ผลการศึกษาพบว่า ก่อนเข้าร่วมโครงการ นักสูบทั้งสองกลุ่มมีแบบแผนการสูบบุหรี่ และมีแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่ไม่แตกต่างกัน หลังเข้าร่วมโครงการ กลุ่มทดลองมีจำนวนมวนบุหรี่ที่สูบ ในระยะ 1 สัปดาห์ และ 1, 2, 4, 6 เดือน น้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และมีอัตราการเลิกบุหรี่ได้สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น จึงควรมีการนำรูปแบบการบำบัดที่บูรณาการการให้คำปรึกษาการทำพฤติกรรมบำบัด การผสมผสานสมุนไพรไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเสริมกำลังใจเพื่อช่วยผู้เลิกบุหรี่ โดยจัดการฝึกอบรมให้พยาบาลที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้เลิกบุหรี่ โดยเฉพาะในหน่วยงานระดับปฐมภูมิ

 

Effectiveness of nurse managed tobacco cessation program in Thailand.

Srimoragot, P., Sanamthong, P., Chainun, J., Hong-thong, Y., Sawangdee, P., & Auckarawacharangkul, O.

Nurse, one important health professional, has a significant role on providing an effective tobacco cessation service. The objective of this study was to evaluate the effectiveness of an integrated nurse managed tobacco cessation program, including individual and group counseling, behavioral modification, and lay herbal treatment. Sample were 300 smokers who voluntary participated the program which was conducted in 5 hospitals. The 150 experimental participants received the integrated tobacco cessation program based on 5As strategies. The other 150 comparison participants received a conventional care from nurses. Demographic assessment tool, motivation questionnaire, Fagerstorm nicotine addiction test, social support assessment, and quitting outcome were used to examine both at pretest and posttest. Volunteers in both groups had been followed up at least 5 times, after they set the quit date, by telephone call or home visit or OPD visiting at 1 week, and 1,2,4,6 months. Data analysis was performed by using descriptive statistics, Chi-square test, and t-test. Results revealed that smokers in the experimental group had higher quit rate and reduced number of cigarette than those in the comparison group (p < .05). They could maintain high commitment to quit longer than those in the comparison group. Therefore, the effective tobacco cessation should employ integrated strategies, such as Thai herbal medicine and lay knowledge assets. Nurses, especially, in primary care service units, should join a training course to gain their confidence on tobacco cessation service for all Thai smokers.

Article Details

How to Cite
ศรีมรกต ผ., ใจหนุน จ., สนามทอง ป., หงษ์ทอง ย., แสวงดี ป., & อัครวัชรางกูร อ. (2016). ประสิทธิภาพของการช่วยเลิกบุหรี่โดยพยาบาลในประเทศไทย. Thai Journal of Nursing, 62(1), 32–43. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/47444
Section
Research Article