การปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมในผู้ป่วยจิตเภทที่ติดบุหรี่

Main Article Content

ปาริชาติ ขุนศรี
กฤตยา แสวงเจริญ

Abstract

การศึกษาเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมในผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ติดบุหรี่ กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ติดบุหรี่ กลุ่มงานจิตเวชโรงพยาบาลสกลนคร จำนวน 10 คน ได้รับบำบัด จำนวน 6 ครั้ง โดยประยุกต์ตามกรอบแนวคิดของ Hitsman, Taryn และ Montaya (2009) ติดตามผล 2 สัปดาห์ และ 1 เดือน หลังสิ้นสุด การบำบัด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วย แบบประเมินสภาวะการติดนิโคตินของผู้สูบบุหรี่ แบบประเมินอาการทางจิต และแบบประเมินภาวะซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการบำบัด กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีความคิดเลิกสูบบุหรี่ลดปริมาณการสูบบุหรี่ลง ไม่มีอารมณ์หงุดหงิด ไม่มีอาการทางจิตรุนแรงระหว่างการบำบัด และไม่มีภาวะซึมเศร้าหลังบำบัด ด้านพฤติกรรมการติดบุหรี่พบว่า ผู้ป่วยสามารถลดการสูบบุหรี่ 8 คน หยุดสูบบุหรี่ 1 คน ในระยะติดตามผลพบว่ากลุ่มตัวอย่างสามารถลดการสูบบุหรี่ได้ 7 คน และหยุดสูบบุหรี่ได้ 2 คน และไม่มีผู้ใดปรากฏ อาการทางจิตหรือมีอาการซึมเศร้า ดังนั้น รูปแบบการบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยโรคจิตเภทลดและเลิกบุหรี่ได้

 

Cognitive behavioral therapy for smoking cessation in patients with schizophrenia

Khunsi, P., & Sawangcharoen, K.

The purpose of this descriptive study was to examine effects of a cognitive behavior therapy for smoking cessation among patients with Schizophrenia. Participants were 10 patients with schizophrenia attending Smoking Cessation Clinic, Outpatient Department, Sakonnakhon Hospital. The six sessions of cognitive behavioral therapy was applied from Brian, Hitsman, Taryn, and Montaya (2009). Two follow-up activities were done at 2 weeks and one month after the therapy. Data collection was performed by using demographic questionnaire, Fagerstrom Test for Nicotine Dependence, Typology for smoker, Brief Psychiatric Rating Scale, and the Thai Depression Inventory scale. Results reveal that, at two weeks follow-up, eight participants decreased smoking and one participant quitted. At one month follow-up, seven participants decreased smoking and two participants quitted. Therefore, this cognitive behavior therapy for smoking cessation could help patients with schizophrenia decrease tobacco smoking and then, quit.

Article Details

How to Cite
ขุนศรี ป., & แสวงเจริญ ก. (2016). การปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมในผู้ป่วยจิตเภทที่ติดบุหรี่. Thai Journal of Nursing, 62(1), 55–64. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/47447
Section
Research Article