การพัฒนาระบบการดูแลทารกแรกเกิดในระยะ 48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด โรงพยาบาลบุรีรัมย์

Main Article Content

ดวงเดือน กะการัมย์
พักตร์วิไล ศรีแสง

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบการ ดูแลทารกแรกเกิดในระยะ 48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด โดยใช้ทฤษฎีระบบของ Donamebian (Gillies, 1994) ประชากรเป็นพยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม 2 จำนวน 12 คน และทารกแรกเกิดในระยะ 48 ชั่วโมงแรก หลังคลอดปกติ ที่รับไว้ดูแลในหอผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม 2 โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2551 เครื่องมือวิจัย เป็นระบบการดูแลทารกแรกเกิด ในระยะ 48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด แบบสอบถามความ คิดเห็น และความพึงพอใจต่อระบบการดูแลทารกแรกเกิดฯ ของพยาบาลวิชาชีพ และแบบประเมินภาวะ แทรกซ้อนในทารกแรกเกิด

ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลวิชาชีพร้อยละ 84 มี ความพึงพอใจต่อระบบการดูแลในระดับมาก และสามารถ นำระบบการดูแลทารกแรกเกิดมาใช้ปฏิบัติได้จริงร้อยละ 80 และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้แก่ ภาวะแทรกซ้อน ในระบบทางเดินหายใจ ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำและการ เกิดสะดืออักเสบ ในทารกแรกเกิด ในระยะ 48 ชั่วโมงแรก หลังคลอดได้

 

Development of nursing care system for a Newborn in the first 48 hours after birth at Buriram hospital.

Kakarum, D., & Srisang, P.

The purpose of this independent study was to develop the nursing care system for the newborn in the first 48 hours after birth at Buriram Hospital. The conceptual framework was based on Donamebian system theory (Gillies,1994). The population included 12 registered nurses and the newborn in the first 48 hours after birth at Buriram hospital during February - August, 2008. The research tools were the nursing care system for newborn in the first 48 hours after birth, the nurse opinion and satisfaction questionnaire on nursing care system and newborn complication assessment.

The results revealed that eighty four professional nurses were satisfied with the nursing care system for the newborn at the high level and were able to practice 80 percents of nursing care procedures in this system. Newborn complications including respiratory complications, hypo-hyperthermia, and omphalitis, were decreased from the prior peroid.

Article Details

How to Cite
กะการัมย์ ด., & ศรีแสง พ. (2016). การพัฒนาระบบการดูแลทารกแรกเกิดในระยะ 48 ชั่วโมงแรกหลังคลอด โรงพยาบาลบุรีรัมย์. Thai Journal of Nursing, 61(2), 57–63. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/47529
Section
Research Article