ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาตามความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาล และอาจารย์ที่ปรึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี

Main Article Content

สิริอร ข้อยุ่น
ภาสินี โทอินทร์
วิระกาญจน์ สุเมธานุรักขกูล

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา ความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลและอาจารย์ที่ปรึกษา ต่อระบบอาจารย์ที่ปรึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์พยาบาล จำนวน 45 คน และนักศึกษาพยาบาลของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี ปีการศึกษา 2553 จำนวน 226 คนเลือกโดยการ สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม ความคิดเห็นต่อระบบอาจารย์ที่ปรึกษาของนักศึกษา พยาบาล การปฏิบัติในการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาและ บทบาทที่คาดหวังกับบทบาทที่ปฏิบัติจริงของอาจารย์ ที่ปรึกษา และ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อระบบ อาจารย์ที่ปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษา การตอบใช้มาตร ประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม 2 ฉบับ เท่ากับ 0.94 และ 0.92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษามีความคิดเห็นต่อ ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาและการปฏิบัติในการเข้าพบ อาจารย์ที่ปรึกษาอยู่ในระดับปานกลาง 2) นักศึกษา มีความคาดหวังต่อบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาโดยรวมและ ทุกด้านอยู่ในระดับมาก มีความคิดเห็นต่อบทบาทที่ปฏิบัติ จริงของอาจารย์ที่ปรึกษาโดยรวมและทุกด้านอยู่ใน ระดับปานกลาง และ 3) อาจารย์ที่ปรึกษามีความคิดเห็น ต่อระบบอาจารย์ที่ปรึกษาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ในรายด้านพบว่ามี 4 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง มี 1 ด้าน อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความพร้อมของเครื่องมือและข้อมูล 4) อาจารย์ ที่ปรึกษาและนักศึกษาพยาบาลมี ความคิดเห็นต่อปัญหาที่พบในระบบอาจารย์ที่ปรึกษา คือ เวลาที่ไม่ตรงกัน ของอาจารย์ที่ปรึกษากับนักศึกษา มีข้อจำกัดด้านเวลาในการเข้าพบนักศึกษาและอาจารย์มี ภาระงานมาก

 

Opinion toward the advisor system among nursing students and advisors at Boromarajonani College of Nursing Udonthani.

Khoyun, S., Thoin, P., & Sumatanurukagrun, W. 

This descriptive research aims to survey opinion toward the advisor system among nursing students and advisors at Boromarajonani College of Nursing, Udonthani. A sample of 45 advisors and 226 nursing students in the academic year 2011, were randomly selected. The research tools were questionnaires on opinion toward the advisor system among nursing students, the expectation on advisors' role and their actual performance, advisory approach, and opinion toward the advisor system of advisors. Data were analyzed for frequency, percentage, mean and standard deviation.

The results were as follows. 1) Opinion toward the advisor system among nursing students and the advisory approach were at the moderate level. 2) The nursing students expected on advisor roles in total and 5 subparts at the high level, but the advisors' actual performance was at the moderate level. 3) The advisors' opinion toward advisor system in total and 4 subparts were at the moderate level, only the part of readiness of tool and information for advisors was at the high level. 4) The crucial problems as perceived by advisors and students were time incongruence, time limitation due to advisor workloads.

Article Details

How to Cite
ข้อยุ่น ส., โทอินทร์ ภ., & สุเมธานุรักขกูล ว. (2016). ระบบอาจารย์ที่ปรึกษาตามความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาล และอาจารย์ที่ปรึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุดรธานี. Thai Journal of Nursing, 61(2), 64–71. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/47530
Section
Research Article