ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด การสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองกับภาวะซึมเศร้าของมารดาหลังคลอด

Main Article Content

มาลีวัล เลิศสาครศิริ
พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์
วรรณี เดียวอิศเรศ
Kinjo Hisako

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียด การสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และภาวะซึมเศร้าของมารดาหลังคลอด และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความเครียดการสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองกับ ภาวะซึมเศร้าของมารดาหลังคลอด กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 160 คนเป็นมารดาหลังคลอด 4 สัปดาห์ ของโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช และโรงพยาบาลบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัย เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคลการรับรู้ความเครียด ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคม และภาวะซึมเศร้า หาความเที่ยงของส่วนที่ 2-5 ได้ค่าเท่ากับ 0.72, 0.84, 0.77 และ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และการวิเคราะห์สมการถดถอยโลจิสติคแบบสองกลุ่ม (Binary Logistic Regression)

ผลการวิจัย พบว่า มารดาหลังคลอดส่วนใหญ่ร้อยละ 75 มีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 82.50 มีความเครียดสูงร้อยละ 70.62 ได้รับการสนับสนุนทางสังคมน้อย และร้อยละ 74.38 มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองต่ำ มารดาหลังคลอดที่มีสัมพันธภาพกับสามีที่ดีมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าลดลง 0.212 เท่าของผู้ที่มีสัมพันธภาพไม่ดีกับสามี ส่วนผู้ที่มีความเครียดสูงมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้น 7.132 เท่าของผู้ที่มีความเครียดต่ำ และผู้ที่มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองต่ำมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้น 5.587 เท่าของผู้ที่มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Relationship between stress, social support, self-esteem and depression in postpartum mothers.

Lertsakornsiri, M., Boonyanurut, P., Deoisres, W., & Hisako, K.

The purposes of this descriptive research were to explore stress, social support, self-esteem and depression in postpartum mothers, and find the relationships between personal factors, stress, social support, self-esteem and depression in postpartum mothers. The samples consisted of 160 postpartum mothers who attended the postpartum clinic at King Narai Hospital and Banmi Hospital in Lopburi Province. The research tools were questionnaires that composed of 5 parts:1) personal data, 2) the perceived stress, 3) Rosenberg self-esteem, 4) the perceived social support and 5) depression. The reliabilities of part 2-5 were 0.72, 0.84, 0.77 and 0.95 respectively. The data were analyzed by using the descriptive statistics and Binary logistic regression.

The results revealed that 82.5 percents of postpartum mothers expressed stress at high level, 70.62 percents of them gained low social support and 74.38 percents had low self-esteem. Depression was founded in 75 percents of the postpartum mothers. Postpartum mothers who had good relationship with husband, decreased chance of having depression 0.212 times of those who had poor relationship with husband. Postpartum mothers who had high level of stress, increased chance of having depression 7.132 times of those who had low level of stress. Postpartum mothers who had low self-esteem, increased chance of having depression 5.587 times of those who had high self-esteem at statistically significant level .05.

Article Details

How to Cite
เลิศสาครศิริ ม., บุญญานุรักษ์ พ., เดียวอิศเรศ ว., & Hisako, K. (2016). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด การสนับสนุนทางสังคม ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองกับภาวะซึมเศร้าของมารดาหลังคลอด. Thai Journal of Nursing, 61(3), 1–8. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/47595
Section
Research Article