อาการท้องผูก การจัดการ และผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม

Main Article Content

พรรณวดี พุธวัฒนะ
ไพรินทร์ แสนรังค์
วาสนา บุตรปัญญา

Abstract

การวิจัยนี้มุ่งศึกษาถึง อัตราการเกิดอาการ วิธีการรักษาดูแล และผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยวิกฤต ศัลยกรรมผู้ใหญ่และผู้สูงอายุของโรงพยาบาลระดับ ตติยภูมิแห่งหนึ่ง และหาความสัมพันธ์ของตัวแปรเหล่านี้ โดยการศึกษาแบบย้อนหลังจากบันทึกของแพทย์และ พยาบาลในเวชระเบียนผู้ป่วยที่เคยเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย วิกฤตศัลยกรรมและศัลยกรรมอุบัติเหตุที่มีคุณสมบัติตาม เกณฑ์ที่กำหนดใน พ.ศ. 2554 จำนวน 300 ราย เมื่อกำหนด ให้อาการท้องผูกหมายถึง การที่ไม่มีการถ่ายอุจาระ ต่อเนื่องกันตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป หรือถ่ายอุจจาระแห้งแข็งมาก โดยเก็บข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติบรรยาย และสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน

ผลการวิจัยพบผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกอย่างน้อย 1 ครั้งในระหว่างอยู่โรงพยาบาล ร้อยละ 73.3 จำนวนวันที่ไม่ถ่ายอุจจาระเฉลี่ย 5.5 วัน (Min-Max = 0-26, SD = 3.4) ร้อยละ 21.8 ของผู้ที่มีอาการได้รับการรักษาด้วยยา ส่วนใหญ่เป็นยาสวนทวาร และพบว่าจำนวนวันที่ไม่ถ่าย อุจาระต่อเนื่องกันมีความสัมพันธ์ทางบวกกับจำนวนวันนอน โรงพยาบาล (rs = 0.254, p<.001) และจำนวนวันนอน ในหอผู้ป่วยวิกฤต (rs = 0.179, p = .002) จำนวนครั้งของ การมีอาการท้องผูก มีความสัมพันธ์ทางบวกกับจำนวน วันนอนในโรงพยาบาล (rs = 0.209, p<.001) และจำนวน วันนอนในหอผู้ป่วยวิกฤต (rs = 0.141, p< .05) อาการ ท้องผูกมีความสัมพันธ์ทางลบกับการตาย (p<.05) ผลลัพธ์ทางคลินิกเหล่านี้ อาจเป็นได้ทั้งผลลัพธ์ทางอ้อม ของอาการท้องผูก การจัดการอาการ หรือเป็นข้อมูลที่ บ่งบอกว่าผู้ป่วยที่มีอาการในขั้นวิกฤตมีการขับถ่ายน้อยลง

 

Constipation, management, and clinical outcomes in critically ill surgical patients.

Putwatana, P., Sanrung, P., & Budpanya, W. 

This retrospective study aimed to determine the prevalence, management and outcomes of constipation in critically ill surgical patients in a tertiary hospital, and the relationships among these variables. The sample was the medical records of all patients who had admited in any of two intensive care units (ICUs), surgical and traumatic wards during the year 2011. After the permission from the hospital ethical committee, data were collected from the medical records. One of the researchers recorded data into the recording forms according to the definition of constipation as the difficulty of defecation due to hard and dry stool and/or less than three times a week, management, and clinical outcomes. Data were analyzed using descriptive statistics, and Spearman rank correlation.

The results revealed that constipation at least one time was found in 73.3 percents of cases. Mean days without stool passing were 5.5 (Min - Max = 0 - 26, SD = 3.4). There were 21.8 percents of whom with the symptom received oral and/or rectal laxatives. Number of days without stool passing had significantly positive correlation with length of hospital stay (rs = 0.254, p<.001), and length of ICU stay (rs = 0.179, p = .002). Frequency of constipation had significantly positive correlation with length of hospital stay (rs = 0.209, p<.001) and length of ICU stay (rs = 0.141, p<.05). There was significantly negative correlation between constipation and mortality at p<.05. These clinical outcomes reflected some indirect effects from constipation or it might be shown that during the critically ill period there were less stool.

Article Details

How to Cite
พุธวัฒนะ พ., แสนรังค์ ไ., & บุตรปัญญา ว. (2016). อาการท้องผูก การจัดการ และผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม. Thai Journal of Nursing, 61(3), 60–68. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/47603
Section
Research Article