คุณภาพชีวิต ความเครียด และภาวะซึมเศร้า ในผู้สูงอายุที่ประสบมหาอุทกภัย ปี2554

Main Article Content

ศากุล ช่างไม้
สุปราณี แตงวงษ์
อรวรรณ สมบูรณ์จันทร์
กุลิสรา เฟื่องมะนะกูล
สุกฤตา ตะการีย์

Abstract

การวิจัยกรณีศึกษานี้เป็นการบูรณาการระหว่าง การจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการแก่สังคม และการวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต ภาวะเครียด และภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่ประสบ มหาอุทกภัยปี 2554 และประเมินโครงการบริการวิชาการ แก่สังคมโดยให้บริการสุขภาพแก่ผู้สูงอายุที่อยู่ในเขตที่ ได้รับผลกระทบจากมหาอุทกภัยปี 2554 กลุ่มตัวอย่าง คือสมาชิกชมรม ผู้สูงอายุ ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ที่ประสบอุทกภัย พ.ศ. 2554 เก็บข้อมูล ด้วยการสัมภาษณ์ ตามแบบสอบถามคุณภาพชีวิตของ องค์การอนามัยโลก และใช้แบบประเมินภาวะเครียดและ ภาวะซึมเศร้า (2Q, 9Q) ของกรมสุขภาพจิต

ผลการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตใน ระดับกลางๆ ส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับน้อยและ ไม่มีภาวะซึมเศร้า มีเพียง 1 ราย ที่มีอาการของโรคซึมเศร้า ในระดับปานกลาง การจัดบริการวิชาการด้านการดูแล สุขภาพแก่ผู้สูงอายุโดยบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอน รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลทำให้ผู้สูงอายุคลายความเครียด และได้เรียนรู้การดูแลตนเองในภาวะวิกฤติได้ และทำให้ นักศึกษาได้ดูแลผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจากภาวะมหาอุทกภัย และสามารถคัดกรองผู้สูงอายุที่มีอาการของโรคซึมเศร้า ส่งต่อให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่เกี่ยวข้อง ได้ทันเวลา

 

Feungmanakoon, K., & Takaree, S. Quality of life, stress and depression among the elderly encountering the 2554 Mega Flood.

Changmai, S., Tangwong, S., Somboonjan, O.

This case-study is an integration of teaching-learning process, academic service and research. The objectives included studying of quality of life, stress, depression among the elderly and evaluating academic service project for the elderly who encountered Mega flooding situation at Tambon Raikhing, Sampran District, Nakhon Pathom Province in 2011. Data collection was done by interviewing according to the three questionnaires; WHO quality of life, stress, and depression developed by Department of Mental Health, Ministry of Public Health.

The results revealed that this elderly group had a moderate level of quality of life. Most of them had mild stress level and no depression. Only one person had a moderate symptom of depression. The integration of academic service for the elderly, teaching-learning process, and research could decrease stress and increase learning ability for self-care in the elderly during the crisis of Mega Flood. Moreover, It was able to allow nursing graduate students to care for the elderly who were in a risk group by early detection of depression and to refer them to Health-Promotion hospital nearby on time.

Article Details

How to Cite
ช่างไม้ ศ., แตงวงษ์ ส., สมบูรณ์จันทร์ อ., เฟื่องมะนะกูล ก., & ตะการีย์ ส. (2016). คุณภาพชีวิต ความเครียด และภาวะซึมเศร้า ในผู้สูงอายุที่ประสบมหาอุทกภัย ปี2554. Thai Journal of Nursing, 61(4), 1–9. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJN/article/view/47605
Section
Research Article