Login or Register to make a submission.

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.

  • บทความตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตการตีพิมพ์ของวิทยาสารทันตสาธารณสุข
  • บทความที่ส่งต้องยังไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์ใดและต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น (หากมีข้อสงสัยสามารถฝากคำถามได้ใน“ข้อความถึงบรรณาธิการ” (Comment for the Editor))
  • ผู้นิพนธ์หลักรับรองว่าผู้นิพนธ์ร่วมรับทราบและให้การยินยอมในการส่งบทความมารับการพิจารณาตีพิมพ์ครั้งนี้
  • การเตรียมบทความต้นฉบับต้องตรงตามคำแนะนำผู้นิพนธ์ หากคณะทำงานตรวจสอบภายหลังพบว่าไม่ตรงตามที่กำหนดคณะทำงานจะแจ้งผู้นิพนธ์ทำการแก้ไขบทความก่อน เมื่อแก้ไขเรียบร้อยแล้วบทความจึงจะถูกรับเข้าสู่กระบวนการ
  • กรุณาระบุ
    1. ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง และสถานที่ทำงานของผู้แต่งหลัก
    2. หมายเลขโทรศัพท์มือถือและอีเมลของผู้แต่งหลัก
    3. ชื่อ หมายเลขโทรศัพท์มือถือ และอีเมลของผู้แต่งทุกท่าน (ถ้าท่านใดเป็นทันตแพทย์โปรดระบุเลข ท. ด้วย หากได้ตีพิมพ์ผู้แต่งที่เป็นทันตแพทย์ทั้งหมดจะได้รับCE คนละ 5 หน่วยกิจต่อบทความ)
    ไว้ใน “ข้อความถึงบรรณาธิการ” (Comment for the Editor) ทั้งนี้สำหรับในการประสานการดำเนินงานด้านบทความ
  • การส่งไฟล์บทความ (Upload Submission File) ประกอบด้วย เอกสารรับรองจริยธรรม (pdf) และต้นฉบับบทความในรูปแบบไฟล์ word และ pdf รวม 3 ไฟล์
  • กรณีที่เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เพื่อเผยแพร่สำหรับขอจบการศึกษาให้ทำหนังสือโดยที่ปรึกษาหลักลงนามเพิ่มอีก 1 ฉบับ ดาวน์โหลดตัวอย่างได้จาก https://drive.google.com/file/d/1JIWDoRzENsF38C_GFfX_JbjUBca4Nd08/view?usp=sharing แล้วส่งเข้าสู่ระบบ รวม 4 ไฟล์
  • ผู้นิพนธ์รับทราบว่า "หนังสือรับรองให้ตีพิมพ์บทความจะขอรับได้เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่าบทความของท่านสามารถลงพิมพ์ได้ และผ่านการเห็นชอบโดยบรรณาธิการแล้ว"
  • เมื่อผ่านการพิจารณาตีพิมพ์ ก่อนการเผยแพร่คณะทำงานจะสอบถามการยอมรับต้นฉบับไปยังผู้ร่วมนิพนธ์ทุกท่าน โดยวารสารจะไม่เผยแพร่บทความที่ไม่มีการยอมรับจากผู้เขียนทุกคน

แนะนำขั้นตอนการส่งบทความในระบบ ThaiJo2.0 คลิกที่นี่

คำแนะนำการส่งบทความในระบบ ThaiJO-สำหรับผู้แต่ง(Author) แบบละเอียด คลิกที่นี่

ต้องการดาวน์โหลดคำแนะนำผู้นิพนธ์ คลิกที่นี่

แนะนำการเขียนเอกสารอ้างอิง(และข้อสังเกตส่วนที่มักเขียนผิด) คลิกที่นี่

คำแนะนำผู้นิพนธ์

กระบวนการพิจารณาประเมินบทความ

             เมื่อกองบรรณาธิการพิจารณาเห็นควรรับบทความไว้พิจารณาตีพิมพ์ จะส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องภายใน 1-3 วันเพื่อพิจารณาประเมินคุณภาพบทความ  กรณีบทนิพนธ์ต้นฉบับ รายงานวิจัยนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ และบทความปริทัศน์ มีผู้ทบทวนอย่างน้อย 3 ท่านร่วมกับการพิจารณาของบรรณาธิการ  ส่วนบทความพิเศษ บทฟื้นฟูวิทยาการ หรือปกิณกะ มีผู้ทบทวนอย่างน้อย 1 ท่านร่วมกับการพิจารณาของบรรณาธิการ 

             ในกระบวนการพิจารณาประเมินนี้ ผู้ประเมิน (reviewer) ไม่สามารถทราบข้อมูลของผู้นิพนธ์ และผู้นิพนธ์ก็ไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้ประเมินบทความ (double-blind peer review)  โดยทั่วไปจะสามารถแจ้งผลการประเมินบทความให้ผู้นิพนธ์ทราบภายใน 28 วันทำการ (หลังผู้นิพนธ์ส่งบทความที่มีโครงสร้างหัวข้อครบถ้วนและจัดทำตามรูปแบบที่วิทยาสารกำหนด)

ประเภทของบทความที่รับพิมพ์ในวิทยาสาร 

1. นิพนธ์ต้นฉบับ (original article) เป็นรายงานผลการศึกษาวิจัยที่ผนวกความรู้ปัจจุบันโดยมีคำถามการวิจัยหรือสมมติฐานที่ชัดเจน และดำเนินการโดยนักวิจัยเอง (primary research) อาจเก็บข้อมูลเองหรือใช้ข้อมูลที่มีการจัดเก็บอยู่แล้วมาวิเคราะห์ให้ได้ความรู้หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ใหม่ ประกอบด้วย บทคัดย่อภาษาไทยและอังกฤษพร้อมคำสำคัญ บทนำ ระเบียบวิธี การรับรองจริยธรรมการวิจัย ผล วิจารณ์ สรุป ข้อเสนอแนะ คำขอบคุณ และเอกสารอ้างอิง  สำหรับวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เดียว ความยาวควรเหมาะสมกับเนื้อหา ประมาณ 8-12 หน้ากระดาษ A4

           โครงการหรือระบบบริการให้ใช้หัวข้อเหมือนกับการศึกษาวิจัย ในบทนำให้กล่าวถึงที่มา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ของโครงการหรือระบบที่พัฒนา พร้อมการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และมีระเบียบวิธีในการประเมินผลโดยวัดเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการศึกษาโดยมีการทดสอบทางสถิติที่เหมาะสมสนับสนุนด้วย 

2. รายงานวิจัยนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ เหมือนกับนิพนธ์ต้นฉบับ ประกอบด้วย บทคัดย่อภาษาไทยและอังกฤษพร้อมคำสำคัญ บทนำ แนวคิดหลักการ ส่วนประกอบและวิธีการประดิษฐ์ การทำงานของสิ่งประดิษฐ์ ข้อดีและข้อด้อย การทดลองใช้และประเมินผลอย่างเป็นระบบ มีสถิติสนับสนุน วิจารณ์ สรุป ข้อเสนอแนะ คำขอบคุณ และเอกสารอ้างอิง ประมาณ 8 หน้ากระดาษ A4 หากทดลองใช้และหรือเก็บข้อมูลประเมินผลในคนต้องผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยในคนด้วย

3. บทความปริทัศน์หรือบทบรรณนิทัศน์ (review article) เป็นการสังเคราะห์องค์ความรู้ปัจจุบันหรือวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อนำเสนอความรู้ความเข้าใจใหม่เฉพาะด้านหรือชี้ถึงช่องว่างขององค์ความรู้ ด้วยการทบทวนวรรณกรรมและอ้างอิงตามแบบแผนวิชาการเกี่ยวกับทฤษฎี การวิจัย และความรู้จากวารสารวิชาการและหนังสือทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งข้อมูลเชิงประจักษ์จากหน่วยงานโดยผู้เขียนต้องแสดงความคิดเห็นหรือเสนอแนะร่วมด้วยแต่ไม่นับ เป็นนิพนธ์ต้นฉบับ (original research) บทความปริทัศน์ประกอบด้วย บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและอังกฤษพร้อมคำสำคัญ บทนำ วิธีการสืบค้นข้อมูล  เนื้อหาที่ทบทวน วิจารณ์และสรุป  ข้อเสนอแนะ  คำขอบคุณ และเอกสารอ้างอิง ความยาวเหมาะสมกับเนื้อหาประมาณ 8-12 หน้ากระดาษ A4

4. บทฟื้นฟูวิชาการ เป็นการวิเคราะห์โรคหรือวิจารณ์สถานการณ์ที่ให้ความรู้หรือข้อค้นพบใหม่ ๆ ในเรื่องที่น่าสนใจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ประกอบด้วย บทนำ วัตถุประสงค์ เนื้อหา วิจารณ์ สรุป เอกสารอ้างอิง มีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษพร้อมคำสำคัญ ความยาวเหมาะสมกับเนื้อหา ประมาณ 8-12 หน้ากระดาษ A4

5. บทความพิเศษ (special article) มักแสดงทัศนะของผู้เขียนในประเด็นเฉพาะที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่อยู่ในความสนใจเป็นพิเศษของสาธารณชน ความยาวประมาณ 5 หน้ากระดาษ A4

6. รายงานกรณีศึกษา (case study report) เป็นรายงานเหตุการณ์หรืองานในมิติดังกล่าวข้างต้นแต่มีจำนวนตัวอย่างน้อยจึงไม่สามารถเป็นนิพนธ์ต้นฉบับแต่แสดงผลการเรียนรู้ได้อย่างชัดเจนในด้านการบริหารความเสี่ยง พัฒนาคุณภาพการทำงาน กำหนดประเด็นนโยบาย หรืออธิบายปรากฏการณ์ ความเชื่อ การปฏิบัติ ประกอบด้วย บทนำ วัตถุประสงค์ เนื้อหา วิจารณ์ สรุป เอกสารอ้างอิง มีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษพร้อมคำสำคัญ ยาวเหมาะสมกับเนื้อหา ไม่เกิน 5 หน้ากระดาษ A4

7. ปกิณกะ (miscellaneous) เป็นบทความสั้นๆ อาจเป็นรายงานผลการศึกษาโดยสังเขปหรือรายงานเบื้องต้น

8. จดหมายถึงบรรณาธิการหรือจดหมายโต้ตอบ เป็นพื้นที่ให้ผู้อ่านสื่อสารความเห็นที่แตกต่างหรือข้อผิดพลาด ความไม่สมบูรณ์ของบทความถึงผู้นิพนธ์ โดยบรรณาธิการอาจวิพากษ์สนับสนุนหรือโต้แย้ง

การเตรียมต้นฉบับบทความประเภทนิพนธ์ต้นฉบับ

ก่อนส่งบทความรับการพิจารณาลงพิมพ์ขอให้ลงทะเบียนก่อนที่

https://www.tci-thaijo.org/index.php/ThDPHJo/user/register 

โดยศึกษาวิธีการส่งบทความได้จาก

แนะนำขั้นตอนการส่งบทความในระบบ ThaiJo2.0

เอกสารที่ต้องส่งเข้าสู่ระบบประกอบด้วย ไฟล์ใบรับรองจริยธรรมการวิจัย (COA) และต้นฉบับบทความในรูปแบบไฟล์ word และ pdf รวม 3 ไฟล์     

กรณีที่เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เพื่อเผยแพร่สำหรับขอจบการศึกษาให้ทำหนังสือโดยที่ปรึกษาหลักลงนามเพิ่มอีก 1 ฉบับ ดาวน์โหลดตัวอย่างได้จาก https://drive.google.com/file/d/1JIWDoRzENsF38C_GFfX_JbjUBca4Nd08/view?usp=sharing แล้วส่งเข้าสู่ระบบ รวม 4 ไฟล์  

มีวิธีเตรียมต้นฉบับบทความดังนี้ 

1. การพิมพ์บทความให้ใช้ตัวอักษร Th SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 15 ขนาดหน้ากระดาษ A4 เว้นระยะห่าง 1 บรรทัด เว้นขอบด้านบน 3.5 เซนติเมตร ด้านล่าง ซ้าย และขวา ด้านละ 2.54 เซนติเมตร และใส่เลขหน้าที่มุมขวาด้านบนของหน้า

2. ความยาวของต้นฉบับที่มีวัตถุประสงค์เดียว เมื่อรวมภาพและตารางแล้วไม่ควรเกิน 8-12 หน้ากระดาษ A4

3. การเขียนบทความ ให้ใช้รูปแบบดังนี้

     3.1 ชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและอังกฤษต้องมีความหมายตรงกัน บ่งถึงสาระสำคัญของเนื้อหาบทความยาวประมาณ 15-20 คำและไม่ใช่คำย่อ

     3.2 ชื่อผู้นิพนธ์และช่องทางการติดต่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ระบุวุฒิการศึกษา ที่ทำงาน ที่อยู่ และรหัสไปรษณีย์ พร้อมอีเมล หากมีหลายคนให้เรียงตามลำดับความสำคัญในการวิจัยหรือค้นคว้า และมีสัญลักษณ์แสดงความเป็นผู้ประสานงาน (corresponding author)

     3.3 เนื้อหาให้ใช้ภาษาไทยล้วนหรืออังกฤษล้วน ถ้าใช้ภาษาไทยให้แปลศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีปนกับภาษาไทยนั้นเป็นภาษาไทยตามหลักการของราชบัณฑิตยสถานและวงเล็บภาษาอังกฤษในครั้งแรกที่กล่าวถึงและใส่คำย่อภาษาอังกฤษต่อท้ายหากต้องการใช้คำย่ออีก เนื้อหาประกอบด้วยหัวข้อย่อยดังนี้

               3.3.1 บทคัดย่อ เป็นบทความสั้นที่กล่าวถึงวัตถุประสงค์ ระเบียบวิธีการศึกษา และผลของการศึกษาแบบสรุปย่อให้ได้ใจความ และมีข้อเสนอแนะ ไม่เขียนเป็นหัวข้อ ไม่ต้องมีข้อสรุปจากการวิจารณ์ และมีคำสำคัญ (keywords) บทคัดย่อภาษาไทยควรยาวไม่เกินครึ่งหน้ากระดาษ A4 ประมาณ 350 คำและประมาณ 250 คำในภาษาอังกฤษ

              3.3.2 บทนำ กล่าวถึงลักษณะของปัญหาที่นำมาศึกษาวิจัย เริ่มจากสถานการณ์และความสำคัญของปัญหาที่ศึกษามีการปริทัศน์ (review) บทความวิชาการใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องในด้านปัจจัย ตัวแปร วิธีการ และเครื่องมือ อย่างเพียงพอที่จะนำมาปรับใช้โดยเฉพาะเมื่อมีการสร้างเครื่องมือในการศึกษา ตอนท้ายให้ระบุวัตถุประสงค์และประโยชน์จากเรื่องนี้ โดยเขียนให้กระชับเข้าใจได้ง่าย ไม่ควรยาวเกิน 2 หน้ากระดาษ A4 

              3.3.3 ระเบียบวิธี กล่าวถึง แบบการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง (แสดงสูตรคำนวณและระบุค่าที่ใช้ในการคำนวณ ไม่ใช้ยามาเน่ (Yamane)​ หากใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคำนวณขอให้ระบุที่มาของโปรแกรมและอ้างอิงตัวอย่างการศึกษาวิจัยที่คล้ายกันซึ่งเลือกใช้สูตรดังกล่าวด้วย) วิธีการสุ่มตามหลักวิชาการพร้อมเกณฑ์การรับอาสาสมัครเข้าและไม่รับเข้าในการศึกษาวิจัยและเกณฑ์ให้อาสาสมัครออกจากการศึกษา (สำหรับเกณฑ์การยุติการศึกษาอาจมีเป็นบางการศึกษา) เครื่องมือ (ระบุการพัฒนา การตรวจสอบคุณภาพ และ/หรือทดลองใช้ และปรับปรุง) ที่ใช้โดยมีการควบคุมความคลาดเคลื่อนหรืออคติที่ชัดเจนสามารถปฏิบัติตามได้  ขั้นตอนกระบวนการชี้แจงอาสาสมัครและขอความยินยอม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ กรณีศึกษาวิจัยในคนต้องผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยโดยระบุชื่อคณะกรรมการ รหัสโครงการวิจัย หมายเลข วันที่ และช่วงระยะเวลาที่รับรอง   

              3.3.4 ผล บรรยายข้อค้นพบเฉพาะที่สำคัญหรือน่าสนใจด้วยข้อความก่อนแล้วระบุหมายเลขตาราง แผนภูมิ หรือภาพประกอบ   

                            3.3.4.1 ภาพ (illustrations) หรือแผนภูมิ (chart) ที่อ้างถึงต้องมีหมายเลขและชื่อทั้งภาษาไทยและอังกฤษ เป็นภาพสี ภาพต้นฉบับต้องมีความคมชัด  ขนาดอย่างน้อย 3 เมกะไบต์ต่อภาพ หลีกเลี่ยงการถ่ายภาพด้วยโทรศัพท์มือถือ ใช้คำภาษาอังกฤษหรือสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายอย่างชัดเจน  

                            3.3.4.2 ตาราง (tables) ที่อ้างถึงต้องมีหมายเลขและชื่อทั้งภาษาไทยและอังกฤษ เป็นตารางต้นฉบับที่สามารถแก้ไขได้ เนื้อหาในตารางควรเป็นภาษาอังกฤษ อาจมีเชิงอรรถท้ายตารางเพื่อบรรยายตัวย่อในตารางหรือนัยสำคัญทางสถิติ ไม่ต้องมีเส้นแนวตั้งคั่นระหว่างคอลัมน์  สำหรับข้อมูลในตารางและเนื้อหา ร้อยละให้ใช้ทศนิยม 1 ตำแหน่ง ส่วน p–value และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานใช้ทศนิยม 2 ตำแหน่ง ส่วนค่าเฉลี่ยเลขคณิตให้พิจารณาว่าเก็บข้อมูลมาอย่างไรแล้วเพิ่มทศนิยมอีก 1 ตำแหน่ง (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานต้องมีทศนิยมมากกว่าค่าเฉลี่ยเลขคณิต 1 ตำแหน่ง)  

              3.3.5 วิจารณ์ เป็นการประเมินโดยผู้นิพนธ์เปรียบเทียบกับการศึกษาอื่นว่าสอดคล้องหรือแตกต่างในด้านวิธีการและผลที่ได้ รวมทั้งข้อดีและข้อผิดพลาดของการวิจัย  

              3.3.6 สรุป เป็นการสรุปผลของงานวิจัยและข้อสรุปการวิจารณ์โดยมีข้อมูลของการศึกษาสนับสนุน  

              3.3.7 ข้อเสนอแนะ แบ่งเป็นข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการสำหรับการดำเนินงานหลังจากได้ผลการศึกษานี้ เชิงนโยบายเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานหรือการแก้ปัญหานั้น และเชิงวิชาการสำหรับการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป โดยต้องมีข้อมูลจากวิธีการ ผลการศึกษา และวิจารณ์ รองรับข้อเสนอแนะดังกล่าว  

     3.4 คำขอบคุณ กล่าวขอบคุณต่อองค์การหน่วยงานและหรือบุคคลที่สนับสนุนหรือช่วยเหลือเฉพาะการศึกษาวิจัย ไม่รวมการสนับสนุนช่วยเหลือด้านจิตใจและความเป็นอยู่   

     3.5 เอกสารอ้างอิง เป็นการแสดงรายการที่ถูกอ้างถึงในเนื้อหาบทความตามระบบแวนคูเวอร์ เขียนตัวเลขอารบิกกำกับหลังข้อความที่อ้างอิงตามลำดับก่อนหลัง  จำนวนรายการที่แสดงในหัวข้อนี้ต้องมีเนื้อหาตรงกันและจำนวนเท่ากันกับที่ถูกอ้างถึงในเนื้อหาบทความ  เขียนเป็นภาษาอังกฤษ  หากรายการที่นำมาอ้างอิงเป็นภาษาไทย ให้เพิ่มวงเล็บต่อท้ายว่า (in Thai)  ให้อ้างอิงจากแหล่งข้อมูลแรก (primary source) ที่เกี่ยวข้อง เชื่อถือและตรวจสอบได้ โดยต้องเป็นนิพนธ์ต้นฉบับที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่เป็นที่ยอมรับ (อยู่ในฐานข้อมูลของ TCI, Scopus, Web of Science) อย่างน้อย 15 รายการโดยมีบทความใหม่ในระยะ 5 ปีด้วย  หลีกเลี่ยงการอ้างอิงข้อมูลส่วนบุคคลหรือหน่วยงานที่ตรวจสอบไม่ได้ (เช่น เอกสารอัดสำเนา) และเว็บไซต์ที่ให้สมาชิกแก้ไขข้อมูลได้ และหลีกเลี่ยงการอ้างอิงรายงานการศึกษาวิจัยของบุคคลที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์บุคคลหรือหน่วยงาน รวมทั้งผลงานวิชาการต่างๆ ที่ไม่มีระบบการทบทวน 

          รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิงมีดังนี้

          3.5.1 บทความในเล่มวารสารวิชาการ (hard copy)

ชื่อสกุล ชื่อต้นของผู้เขียนคนที่หนึ่ง, ชื่อสกุล ชื่อต้นของผู้เขียนคนที่สอง หากมีหลายคนใส่ถึงคนที่หก. ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสารแบบย่อ (ถ้ามี) ค.ศ.ที่พิมพ์; จำนวนปีที่พิมพ์ (ฉบับ): หน้าแรก-หน้าสุดท้ายของบทความ. 

Villalobos-Rodelo JJ, Mediha-Solis CE, Maupome G, Lamadrid-Figueroa H, Casanova-Rosado AJ, de Lourdes Marquez-Corona M. Dental needs and socioeconomic status associated with utilization of dental services in the presence of dental pain: a case-control study in children. J Orofac Pain 2010; 24(3): 279-86.

Lapying P. Oral care utilization among children aged 5-14 years in 2011 and 2013. Journal of Health Science 2015; 24(5): 975-88. (in Thai)

          3.5.2 บทความในวารสารออนไลน์ (E Journal Articles)

ชื่อสกุล ชื่อต้นของผู้เขียน, หากมีหลายคนให้ใส่ชื่อถึงคนที่หก. ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสารแบบย่อ ค.ศ. ที่พิมพ์; จำนวนปีที่พิมพ์ (ฉบับ): หน้าแรก-หน้าสุดท้ายของบทความ. เลขบ่งชี้วัตถุดิจิตอล (DOI-number)   

Nihtilä A, Widström E, Elonheimo O. Heavy consumption of dental services; a longitudinal cohort study among Finnish adults. BMC Oral Health 2013; 13: 18. doi:10.1186/1472-6831-13-18.   

          3.5.3 บทความในเว็บไซต์หน่วยงาน 

ชื่อหน่วยงาน. ชื่อบทความ. [online] วันเดือนปี ค.ศ.ที่ upload ไฟล์ในเว็บไซต์ [ปี ค.ศ. เดือนวันที่อ้างอิง];  Available from: URL

U.S. Department of Health and Human Services. Medicaid program. [online] 16 June 2011 [cited 2011 Sep 7]; Available from: URL:https://www.cms.gov/MedicaidGenInfo/

          3.5.4 หนังสือหรือบทความของหน่วยงาน

ชื่อหน่วยงาน. ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์: ชื่อสำนักพิมพ์หรือหน่วยงานต้นสังกัด; ปีที่พิมพ์.

Bureau of Dental Health. The 7th national oral health survey 2012 of Thailand. Bangkok: Department of Health; 2013. (in Thai)

          3.5.5 หนังสือที่ไม่มีบรรณาธิการ 

ชื่อสกุล ชื่อต้นของผู้เขียน. ชื่อบท. In ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์หากไม่ใช่ครั้งแรก. สถานที่พิมพ์: ชื่อสำนักพิมพ์; ปีที่พิมพ์. เลขหน้าของบทนั้น.

Cooper R, Kaplan RS. Using ABC for budgeting and transfer pricing. In The design of cost management systems: text and cases. 2nd ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall; 1999. p. 527-36.

          3.5.6 หนังสือที่มีบรรณาธิการ

ชื่อสกุล ชื่อต้นของผู้เขียนบทนั้น. ชื่อบท. In ชื่อสกุล ชื่อต้นของบรรณาธิการ, (eds). ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์ หากไม่ใช่ครั้งแรก. สถานที่พิมพ์: ชื่อสำนักพิมพ์; ปีที่พิมพ์. เลขหน้าของบทนั้น.

Duton DB. Social class, health and illness. In Aiken LH, Mechanic D, (eds). Application of social science to clinical medicine and health policy. New Brunswick, NJ: Rutgers University Press; 1986. p. 31-62.

          3.5.7 วิทยานิพนธ์/ ปริญญานิพนธ์/ สารนิพนธ์/ ดุษฎีนิพนธ์

ชื่อสกุล ชื่อต้นของผู้เขียน. ชื่อเรื่อง. ระดับวิทยานิพนธ์ (ใช้ตามที่ระบุในต้นฉบับที่นำอ้างอิง). สถาบัน, เมือง;  ปีที่สำเร็จ.  

Lapying P. The demand analysis of oral care: a case study of Uthong district, Suphanburi. Dissertation. Mahidol University, Nakornpathom; 2000.

          3.5.8 ประกาศหรือคำสั่งของหน่วยงาน

ชื่อหน่วยงานเจ้าของประกาศ. ชื่อประกาศ. วัน เดือน ปีของประกาศ.

The Comptroller General Department. Types and rates of prosthesis and equipment for disease treatments (3rd issue) 2016. 16 Jun 2016. (in Thai)

          3.5.9 หนังสือราชการ

ชื่อหน่วยงานเจ้าของหนังสือ. เรื่องของหนังสือ. เลขที่ และวัน เดือน ปี ของหนังสือ.

The Comptroller General Department. The health service rates for reimbursement in public health facilities. Circular letter no. 0431.2/246 on 16 Jun 2016. (in Thai)