Oral health service delivery as fee scheduling: movement in 2018
Main Article Content
Abstract
ปัญหาหลักของระบบบริการทันตกรรมของไทยคือ ประชาชนเข้าถึงบริการน้อย การสำรวจอนามัยและสวัสดิการของสำนักงานสถิติแห่งชาติหลังจากมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าใน พ.ศ. 2546 พบว่า คนไทยใช้บริการทันตกรรมในรอบปีผ่านมาร้อยละ 10.2 และลดลงในการสำรวจ พ.ศ. 2550 และ 2554 เป็นร้อยละ 8.7 และ 9.31 ในกลุ่มเด็กอายุ 5-14 ปีก็เป็นไปในทำนองเดียวกันคือ ร้อยละ 16.7 และลดลงเป็น 12.7 และ 11.02 ทั้งที่มีการพัฒนาระบบบริการโดยมีทันตบุคลากรกระจายลงถึงระดับตำบล แต่ด้วยข้อจำกัดของการบริหารจัดการและการเงินการคลัง ความครอบคลุมประชาชนจึงจำกัด
ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2554-2556 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้จัดตั้งกองทุน ทันตกรรมเป็นแหล่งงบประมาณในการขยายบริการให้เข้าถึงประชาชนมากขึ้น โดยใช้งบส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (PP budget) เน้นการป้องกันโรคในช่องปากเพื่อเก็บฟันธรรมชาติในกลุ่มเด็กและเยาวชนเป็นหลัก3 จากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการใน พ.ศ. 2556 กลุ่มอายุ 5-14 ปีใช้บริการทันตกรรมร้อยละ 13.3 เพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2554 อย่างชัดเจนซึ่งเป็นอัตราสูงที่สุดใน 10 ปีที่ผ่านมาและลดลงเป็นร้อยละ 12.1 ในการสำรวจ พ.ศ. 25584 ในภาพรวมก็ทำนองเดียวกัน เมื่อกองทุนทันตกรรมถูกยุบ
เลิกในปีงบประมาณ 2556 การสำรวจใน พ.ศ. 2558 พบว่า คนไทยใช้บริการลดลงเป็นร้อยละ 8.15
ในด้านผลลัพธ์สุขภาพช่องปาก จากการสำรวจระดับชาติทุกรอบ 5 ปีของสำนักทันตสาธารณสุข พบว่า ค่าเฉลี่ยฟันผุและฟันถอนในเด็กอายุ 3, 5 และ 12 ปี มีแนวโน้มลดลงุ6-8 แม้ฟันที่อุดแล้วมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่ก็เป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับฟันที่มีประสบการณ์ผุ การสำรวจครั้งล่าสุดใน พ.ศ. 2560 พบว่า กลุ่มอายุ 3 และ 5 ปีมีฟันน้ำนมที่อุดแล้วเพียงร้อยละ 3.6 และ 6.8 ของฟันที่มีประสบการณ์ผุ ตามลำดับ ในกลุ่มอายุ 12 ปีแม้ว่ามี ฟันแท้อุดแล้วมากถึงร้อยละ 53.8 ของฟันที่มีประสบการณ์ผุ9 แต่ก็ยังเหลืออีกเกือบครึ่งหนึ่งที่ยังไม่ได้รักษาซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ก็จะถูกถอนในที่สุด การเข้าถึงบริการจึงเป็นประเด็นปัญหาที่กลุ่มเครือข่ายวิชาชีพทันตแพทย์ สปสช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำมาพิจารณาหารือกันในทุกเวที
ต่อมาคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาสุขภาพช่องปาก (service plan: SP) มีมติในการขับเคลื่อนเพิ่มการเข้าถึงบริการทันตกรรม โดยมอบหมายให้สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัยจัดทำข้อเสนอ มีการประสานและหารือในประเด็นดังกล่าวกับทีมงานของ สปสช. โดยเสนอให้บริการทันตกรรมเป็นรายการเฉพาะและบริหารงบประมาณให้มีการบริการครอบคลุมเพิ่มขึ้น พร้อมกับกำหนดวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย และช่วงระยะเวลาเริ่มดำเนินการ ทั้งนี้ข้อเสนอควรประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย ความครอบคลุม รายการบริการ และอัตราค่าบริการเพื่อการจ่ายแบบรายการเฉพาะ (fee schedule)
แนวคิดคือ หญิงตั้งครรภ์ควรมีสุขภาพร่างกายรวมทั้งสุขภาพช่องปากดีเพื่อป้องกันโรคและลดความเสี่ยงต่อโรคในช่องปาก ส่วนการรักษาโรคเหงือกอักเสบและฟันผุเป็นการลดติดเชื้อในช่องปากซึ่งนอกจากจะส่งเสริมคุณภาพชีวิตของหญิงมีครรภ์เองแล้วยังส่งเสริมการเกิดอย่างมีคุณภาพเพราะส่งผลถึงสุขภาพบุตรในครรภ์ด้วย10 หากมารดามีสุขภาพช่องปากไม่ดี (poor oral health) ส่งผลให้บุตรมีปัญหาสุขภาพช่องปากมากกว่ามารดาที่มีสุขภาพช่องปากดีถึง 5 เท่า11 การที่เด็กเล็กจะมีอนามัยช่องปากดีได้นั้น มารดาต้องแปรงฟันตัวเองได้ดีก่อนจึงฝึกฝนทักษะให้ทำความสะอาดช่องปากบุตรได้12 เป้าหมายคนไทยมีสุขภาพช่องปากดีจึงควรสนับสนุนและส่งเสริมตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ให้เป็นช่วงเวลาคุณภาพต่อเนื่องจนคลอดและต่อเนื่องจนเด็กเข้าสู่ปฐมวัย เป็นการสร้างรากฐานสำคัญเพื่อสุขภาพช่องปากดีในระยะยาว
ในการจัดทำรายการบริการเพื่อการจ่ายค่าบริการแบบรายการเฉพาะนั้นยึดตามรายการกิจกรรมในชุดสิทธิประโยชน์ของ สปสช. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์เป็นการตรวจและทำความสะอาดฟัน กลุ่มเด็กปฐมวัยเป็นการอุดฟันด้วยวิธีสมาร์ท (SMART) และทาฟลูออไรด์วานิช ส่วนเด็กในระบบโรงเรียนเป็นการใช้ฟลูออไรด์เฉพาะที่และเคลือบหลุมร่องฟัน13 เนื่องจากเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กซึ่งสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จึงมีข้อสรุปว่าให้ทันตบุคลากรในพื้นที่จัดทำโครงการของบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นหรือกองทุนตำบล โดย สปสช. จะจัดทำแม่แบบโครงการ (project template) และสื่อสารกับ อปท. ให้ด้วย กลุ่มเป้าหมายควรเป็นหญิงตั้งครรภ์และเด็ก และมีแนวคิดในการขยายการจัดบริการเพื่อเพิ่มอัตราการเข้าถึงบริการในกลุ่มเป้าหมาย โดยเปิดโอกาสให้หน่วยบริการในภาคเอกชนเข้ามาร่วมจัดบริการด้วย
Downloads
Article Details
References
2. Lapying P, Putthasri W. Oral care utilization among children aged 5-14 years: the analysis of the nation-wide cross-sectional survey. Journal of Health System Research 2014; 8(2):187-96. (in Thai)
3. National Health Security Office. Dental fund management. in The manual of dental fund management. Bangkok: Sahamitr printing and publishing Co., Ltd.; 1990. p.13-6. (in Thai)
4. Ruangrit S, Lapying P. Oral health service utilization among Thai children aged 5-14 years in 2013 and 2015 health and welfare survey. Thai Dental Public Health Journal 2017; 22(2): 58-69. (in Thai)
5. National Statistical Office. The 2015 Health and Welfare Survey. Bangkok: Ministry of Information and Communication Technology; 2016. (in Thai)
6. Dental Health Division. The 5th National dental health survey report, 2000-2001. Bangkok: WVO Officer of Printing Mill; 2002. (in Thai)
7. Dental Health Division. The 6th National oral health survey report, 2006-2007. Bangkok: WVO Officer of Printing Mill; 2008. (in Thai)
8. Bureau of Dental Health. The 7th National oral health survey,2013. Bangkok: WVO Officer of Printing Mill; 2013. (in Thai)
9. Dental Health Bureau. The 8th National oral health survey report, 2017. Bangkok: Samcharoen-panit Co.; 2018. (in Thai)
10. Clothier B, Stringer M, Jeffcoat MK. Periodontal disease and pregnancy outcomes: exposure, risk and intervention. Best Practice and Clinical Research. Obstetrics and Gynaecology 2007; 21(3): 451–66.
11. Boggess KA, Edelstein BL. Oral health in women during preconception and pregnancy: implica-tions for birth outcomes and infant oral health. Matern Child Health J 2006; 10:S169–S174. DOI 10.1007/s10995-006-0095-x
12. Mohebbi SZ, Virtanen JI, Murtomaa H, Vahid-Golpayegani M, Vehkalahti MM. Mothers as facilitators of oral hygiene in early childhood. Int J Paediatr Dent 2008; 18:48–55.
13. Announcement of National Health Security Committee Issue 11: The health care service types and terms. Government gazette vol. 134, special section 139 d (24 May 2017). (in Thai)