การประเมินผลลัพธ์ของโครงการรณรงค์เด็กไทยไม่กินหวาน ในปีที่ 3 ของโรงเรียนวัดเขาวัง (แสง ช่วงสุวนิช) อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

มัณฑนา ฉวรรณกุล
เสน่ห์ โอฐกรรม

Abstract

การบริโภคน้ําตาลมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุ และโรคอ้วน การรณรงค์ลดการบริโภคน้ําตาล จึงเป็นมาตรการด้านการส่งเสริมสุขภาพที่สําคัญ การสํารวจในโรงเรียนวัดเขาวัง (แสง ช่วงสุวนิช) เมื่อปีพศ. 2547 พบอุบัติการณ์ของโรคอ้วนในเด็กชั้นประถมศึกษาสูงขึ้น ถึงร้อยละ 15.6 จึงเป็นโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกให้ เข้าโครงการรณรงค์เด็กไทยไม่กินหวาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลลัพธ์ของโครงการ ภายหลัง ดําเนินการแล้วเป็นเวลา 3 ปี ประชากรที่ศึกษา ประกอบด้วย ครูผู้บริหาร ครูคณะทํางาน ครูอนามัยประจํา สายชั้น ครูประจําชั้นและครูพิเศษจํานวน 32 คน นักเรียนยุวทูตอ่อนหวานที่กําลังศึกษาในชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4-6 จํานวน 47 คน นักเรียนทั่วไปชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จํานวน 1,624 คน ผู้ปกครองของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 จํานวน 292 คน และคณะทํางานด้านสาธารณสุข 9 คน ดําเนินการโดยเก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงคุณภาพ การสังเกต และใช้ข้อมูลทุติยภูมิเรื่องน้ําหนักเด็กและปริมาณการซื้อ น้ําตาลของโรงเรียนที่เก็บบันทึกไว้รายปี ผลการศึกษาพบว่า โดยภาพรวมนักเรียนบริโภคน้ําตาลในโรงเรียน เฉลี่ยลดลงเล็กน้อย อาหารของโรงเรียนลดปริมาณน้ําตาลลงอย่างเป็นรูปธรรม และโรงเรียนสามารถดําเนินการ ตามนโยบาย “โรงเรียนปลอดน้ําอัดลม” ได้ตลอด 3 ปี ด้านพฤติกรรมบริโภค พบว่านักเรียนดื่มน้ําอัดลมลดลง ดื่มนมรสจืดและน้ําผัก/ผลไม้สําเร็จรูปเพิ่มขึ้น การบริโภคหวานของนักเรียนที่เป็นยุวทูตอ่อนหวาน แตกต่างกับ นักเรียนทั่วไปทั้งในแง่จํานวนครั้งที่บริโภคและปริมาณน้ําตาลที่ได้รับ นโยบาย “โรงเรียนปลอดน้ําอัดลม” และ มาตรการ “ลดปริมาณน้ําตาลในครัวโรงเรียน” สามารถทําได้ต่อเนื่องโดยไม่เป็นภาระ และช่วยประหยัดค่า ใช้จ่ายของโรงเรียนประมาณปีละไม่น้อยกว่า 18,000 บาท ในด้านสุขภาพเด็ก พบเด็กที่น้ําหนักเกินเกณฑ์ มาตรฐานลดลงจากร้อยละ 25.9 เหลือร้อยละ 21.0 ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสําเร็จของโครงการเกิดจากการมี นโยบายลดน้ําตาลของโรงเรียน การจัดการสิ่งแวดล้อมเรื่องอาหารและเครื่องดื่มของโรงเรียน การเลือกทํา กิจกรรมเชิงนโยบายที่ส่งผลโดยตรงต่อการลดการบริโภคน้ําตาลของเด็ก และการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
1.
ฉวรรณกุล ม, โอฐกรรม เ. การประเมินผลลัพธ์ของโครงการรณรงค์เด็กไทยไม่กินหวาน ในปีที่ 3 ของโรงเรียนวัดเขาวัง (แสง ช่วงสุวนิช) อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. Th Dent PH J [Internet]. 2008 Feb. 29 [cited 2024 Nov. 24];13(1):117-29. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThDPHJo/article/view/210673
Section
Original Article

References

1. สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี, 2545 เอกสารรายงานผลการสํารวจทันตสุขภาพ จังหวัดราชบุรี ปี 2545. เอกสารอัดสําเนา กันยายน พ.ศ. 2545
2. อุไรพร จิตต์แจ้ง ประไพศรี ศิริจักรวาล และคณะ. รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาพฤติกรรม การบริโภคขนมและอาหารว่างของเด็ก 3-15 ปี เอกสารอัดสําเนา พ.ศ.2547
3. เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน, 2547 ความเชื่อมโยงระหว่างน้ําตาลกับความอ้วนโรคฟันผุ และบริโภคนิสัยที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว. เอกสารอัดสําเนา พ.ศ. 2547
4. ชัชฎาภรณ์ จิตตา, 2548 เอกสารประกอบการบรรยายโครงการควบคุมป้องกันภาวะ โภชนาการเกินในเด็กนักเรียน ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี. เอกสารอัดสําเนา มกราคม พ.ศ.2548
5. http://www.cspinet.org/liquidcandy/"Liquid Candy HOW SOFT DRINKS ARE HARMING AMERICA'S HEALTH
6. เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน และสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส). คู่มือครอบครัวอ่อนหวาน : ของกินเล่น น้ําตาลและการเลี้ยงเด็ก, กรุงเทพมหานคร. 2547
7. สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2545 แนวดําเนินการโครงการอาหาร กลางวันในโรงเรียนประถมศึกษากรุงเทพฯ : สํานักงาน, 27 - 28
8. World Health Orgaization.Ottawa Charter for Health Promotion/First International Conference on Health Promotion.Nov.21, 1986;Available from http://www.who.int/ health promotion/conferences/prvious/ ottawa/en Accessed on Feb 9, 2008
9. Kanyarat Korwanich, Aubrey Sheiham, Wichit Srisuphan, Patcharawan Srisilapanan Promoting healthy eating in nursery schoolchildren: A quasi-experimental intervention study Health Education Journal, Vol. 67, No. 1, 16-30 (2008)
10. (World Health Organization, "Marketing Food to Children: Changes in the Global Regulatory Environment 2004 - 2006", http://www.who.int/dietphysicalactivity/ regulatory_environment_CHawkes07.pdf,)
11. (United States Department of Agriculture.Food and Nutrition Service http://www.fns. usda.gov/cnd/lunch/)
12. http://korea.net/news/news/newsView. asp Date:September 03,2007 "Korea to ban soda sales at school
13. Rodregues C., Watt R., Sheiham A. The effects of dietary guidelines on sugar intake in 3 year olds attending nurseries. Health Promotion International 1999; 14:329-35.
14. สํานักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2549 มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและ ปฐมวัย.กรุงเทพฯ: สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.
15. จันทนา อึ้งชูศักดิ์ บุปผา ไตรโรจน์ สุภาวดี พรหมมา รายงานการจัดกิจกรรมรณรงค์ “วันครอบครัวอ่อนหวาน” ในส่วนภูมิภาค พศ. 2548 เอกสารอัดสําเนา
16. สนีย์วงค์คงคาเทพ พฤติกรรมการบริโภคหวานของเด็กไทยอายุต่ํากว่า 5 ปีและความ สัมพันธ์กับการเกิดโรคอ้วนว.ทันตแพทยสมาคม Vol.57 No.1 Jan-Feb 2007 หน้า 1-12
17. ปิยะดา ประเสริฐสม ผุสดี จันทร์บาง อังศณา ฤทธิ์อยู่ การบริโภคเครื่องดื่มของเด็กไทยใน 24 ชั่วโมง ในปิยะดา ประเสริฐสม บรรณาธิการ น้ําตาล ความหวาน ในขนม เครื่องดื่ม นม พร้อมดื่ม นมผงสําหรับเด็ก พิมพ์ครั้งที่ 1 นโมพริ้นติ้งแอนด์พับบลิชชิ่ง พ.ศ.2550 หน้า 7 ISBN 978-974-8455-66-2