ระบบบริการสุขภาพช่องปาก : สร้างนำซ่อม: 30 ปี แห่งการซ่อมมากกว่าสร้าง

Main Article Content

การุญ เลี้ยวศรีสุข

Abstract

กรอบแนวคิดหลักของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ที่รัฐบาลได้กําหนด ให้ทุกหน่วยงานต้องนําไปใช้คือ ระบบการสร้างเสริมสุขภาพนําการรักษา หรือเรียกว่า สร้างนําซ่อมนั้น ใน ระบบบริการสุขภาพช่องปากได้ใช้กรอบแนวคิดนี้อย่างจริงจัง และมีหลักฐานยืนยัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 โดยกระทรวงสาธารณสุขได้มีการบรรจุทันตาภิบาลเพื่อลงปฏิบัติงานในสถานีอนามัยชั้น1 ซึ่งเป็นการจัดการ บริการทันตาสุขภาพในระดับอําเภออย่างแท้จริงเป็นครั้งแรกที่ยึดกรอบแนวคิดนี้ โดยมีการกําหนด บทบาทหน้าที่ของทันตาภิบาลที่เน้นการสร้างทันตสุขภาพมากกว่าการให้การบําบัดรักษา เน้นกลุ่มนักเรียน เป็นหลักซึ่งเรียกว่า ทันตกรรมเพิ่มทวี (incremental dental care) ที่ประกอบด้วย การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก การป้องกัน และการรักษาเป็นลําดับสุดท้าย


ต่อมาแผนงานทันตสาธารณสุขในแผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ก็เป็นการเน้นแนวคิดสร้างนําซ่อม ด้วยการจัดลําดับความสําคัญของผู้รับบริการตามความเสี่ยง ของการเกิดโรคในช่องปากออกเป็นเด็กวัยเรียนในชั้นประถมศึกษา, เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กชั้นมัธยมศึกษา, หญิงมีครรภ์และหญิงที่กําลังเลี้ยงดูบุตร, ผู้สูงอายุ และสุดท้ายคือประชาชนทั่วไป นอกจากนั้นยังมีการ กําหนดให้มีฝ่ายทันตสาธารณสุขในสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อการทําหน้าที่ส่งเสริมและ ป้องกันเป็นงานหลักรวมทั้งได้มีการบรรจุทันตแพทย์ในโรงพยาบาลที่มีขนาด 30 เตียงขึ้นไปทุกโรงพยาบาล โดยมุ่งเน้นการบริการเพื่อการบําบัดและบรรเทาความเจ็บปวดเป็นอันดับแรก (เพื่อการมุ่งแก้ไขปัญหาหญ้า ปากคอกของระบบบริการทันตกรรม ที่ประชาชนจะมารับการบริการเฉพาะเมื่อมีปัญหาเท่านั้น ดังหลักการของ โครงการเจ็บฟันได้รักษาที่เสนอเมื่อปี 2545) โดยมีการกําหนดให้ครอบคลุมประชาชนในเขตเมืองร้อยละ 30 และในเขตชนบทร้อยละ 10


แม้ว่าแผนงานทันตสาธารณสุขที่กล่าวข้างต้น จะมีการกําหนดเป้าหมายอย่างเป็นระบบตามเหตุผล ความจําเป็นของประชาชนผู้ใช้การบริการแล้วก็ตาม แต่ผลการดําเนินงานตามแผนที่กําหนดไว้ก็ไม่เป็นตาม เป้าหมาย ทั้งนี้เนื่องจากการกระจายของทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนมีอัตราความครอบคลุมเพียง น้อยกว่าร้อยละ 20 ทพ.บุญฤทธิ์ สุวรรณโนภาส 2541)


ดังนั้นแผนงานทันตสาธารณสุขตามแผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 5 (2525-2529) จึงได้นํา หลักการสาธารณสุขมูลฐาน (Primary health care) มาใช้โดยกําหนดเป้าหมายการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าในปี 2543 เป็นเป้าหมายสูงสุด ด้วยการนํามาตรการเพิ่มศักยภาพของประชาชนโดยการให้รับความรู้พื้นฐาน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
1.
เลี้ยวศรีสุข ก. ระบบบริการสุขภาพช่องปาก : สร้างนำซ่อม: 30 ปี แห่งการซ่อมมากกว่าสร้าง. Th Dent PH J [Internet]. 2007 Jun. 29 [cited 2024 Jul. 18];12(1):89-95. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThDPHJo/article/view/212697
Section
Review Article

References

เอกสารประกอบการประชุมระดมสมอง “การวิเคราะห์ระบบทันตกรรมในประเทศไทย ” วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม 2546 ณ. ห้องประชุม สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข คณะทํางาน ปรsues paper ระบบทันตกรรม สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข 2546.