การปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เป็นปัจจัยเสี่ยง

Main Article Content

บุบผา ไตรโรจน์
จันทนา อึ้งชูศักดิ์
ปิยะนารถ จาติเกตุ

Abstract

  1. พฤติกรรมการบริโภคกับสุขภาพช่องปาก เด็กปฐมวัย

โรคฟันผุในเด็กมีสาเหตุหลักส่วนหนึ่งมาจาก พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม ปริมาณ และความถี่ในการบริโภคน้ำตาลมีความสัมพันธ์กับการเกิดฟันผุ การศึกษาที่ประเทศสวีเดนในปี 1954 พบว่าการรับประทานน้ําตาลมากกว่า 4 ครั้งต่อวันมีผลทําให้ฟันผุเพิ่มขึ้นรายงานการศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ พ.ศ. 2547 พบว่าเด็กที่บริโภค ขนมมากกว่าวันละ 3 ครั้ง มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอน อุดมากกว่าเด็กที่บริโภคน้อยกว่านี้ การป้องกัน โรคฟันผุโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กจึงเน้นในเรื่อง พฤติกรรมการบริโภคไม่น้อยไปกว่าเรื่องการทําความสะอาดช่องปาก


  1. พฤติกรรมการบริโภคของเด็กไทย

การบริโภคนม


จากการสํารวจของกรมอนามัย พ.ศ. 2542 พบว่า เด็กที่กินนมแม่อย่างเดียวจนถึง 4 เดือน มีเพียงร้อยละ 3 และแม่ส่วนใหญ่เป็นผู้เลี้ยงดู เด็กในช่วงแรกเกิดถึง 3 เดือนเท่านั้น หลังจากนั้น จะให้ปู่ ย่า ตา ยาย ช่วยเลี้ยงในช่วงเวลากลางวันดังนั้นนมขวดและนมผงสําเร็จรูปจึงเข้ามามีบทบาท แทนนมแม่ และส่วนใหญ่มักเลือกนมรสหวาน การสํารวจในผู้ปกครองเด็กอายุ 3-5 ปี จังหวัดราชบุรี พ.ศ. 2546 พบว่า ผู้ปกครองซื้อนมรสหวาน ให้เด็กกินเป็นประจํา ร้อยละ 81.8การศึกษาของ กรมอนามัย พ.ศ. 2547 พบว่าเด็กอายุ 1 ปี และ 4 ปี รับประทานนมรสหวาน ร้อยละ 44.4 และ 66.5 ตามลําดับ เหตุผลหลักในการเลือกซื้อนมให้เด็ก ของผู้ปกครอง คือ กินแล้ว เจริญเติบโตดี เด็กชอบ น้ําหนักดี อ้วน ท้องไม่ผูก


นอกจากนี้เด็กยังมีพฤติกรรมเสี่ยงจากการ เลิกนมมื้อดึกช้าและเลิกนมขวดช้า โดยพบว่า เด็ก อายุ 1 ปี ยังคงดูดนมมื้อดึกร้อยละ 85.3 เด็กอายุ 1.5 ปียังดูดนมจากขวดร้อยละ 85.8 รายงาน การศึกษาของ ฉลองชัย สกลวสันต์ พบว่า ผู้ปกครองยอมให้เด็กดูดนมก่อนนอนและหลับตา ขวดนม เพื่อไม่ให้เด็กตื่นง่าย อายุที่เลิกขวดนม โดยประมาณอายุ 2-3 ปี หรือจนกว่าเด็กจะยอม เลิกเอง ผู้ปกครองไม่เข้มงวดเรื่องเลิกขวดนม เพราะต้องการให้เด็กรับประทานนมมากๆ การดูดจากขวดทําให้เด็กรับประทานได้มากกว่าเมื่อเทียบ กับการดื่มจากแก้ว นอกจากนั้น แม่มีความคิดว่า การดูดนมขวดเป็นช่วงเวลาที่มีครามสุขของเด็กจึงไม่อยากบังคับให้ลูกเลิกนมขวดแม้จะรู้ว่าการที่ฟันผุ เกิดจากการกินนมขวด


การบริโภคขนม
ขนมต่าง ๆ นมกล่อง และนมเปรี้ยวเป็น อาหารว่างที่เด็กกินประจําเด็กกินขนมทุกวัน ร้อยละ 75.4 โดยกินเฉลี่ย 2.9 ครั้งต่อวัน เด็กมักรับประทานขนมนอกมื้ออาหาร โดยร้อยละ 68.2 รับประทานทุกวัน และรับประทานช่วงกลางคืนถึง ร้อยละ 46.4 ขนมส่วนใหญ่ที่รับประทานนอกมื้อ อาหาร ได้แก่ ขนมปังกรอบ ขนมบรรจุถุง และ ดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น น้ําอัดลม น้ําหวาน นมรสหวาน


ฉลองชัย สกลวสันต์ ได้สรูปปัจจัยที่ส่งเสริม ให้เกิดการกินขนมมาจากผู้ปกตรอง ตัวเล็ก และ สภาพแวดล้อม ในระดับครอบครัว โดย ผู้ปกตรอง มีทัศนคติว่าขนมเป็นสิ่งที่คู่กับเด็กและไม่มีอันตราย ต่อเด็ก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เด็กจะกินขนม นอกซาก นั้น ร้านขนมยังใกล้บ้าน ทําให้เด็กซื้อได้ง่าย การ ซื้อขนมในวัยนี้ผู้ปกครองปล่อยให้เด็กเลือกขนมเฮง เด็กบางคนเรียนรู้จากโฆษณาในโทรทัศน์แล้วเรียกร้องกับพ่อแม่ ผู้ปกครองบางคนให้เงินเด็กไป ซื้อเอง และยังพบว่า เด็กอายุ 4-5 ปี เริ่มเรียนรู้ การเอาขนมมาก่อนและให้ผู้ปกครองไปจ่ายเงิน ในภายหลัง


อาหารของเด็กในศูนย์เด็กเล็กขึ้นกับการจัด การของคณะกรรมการศูนย์ และนโยบายของกรม การส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีระบบ การจัดนมเป็นอาหารเสริมให้แก่เด็กทุกคน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จากการสํารวจ พ.ศ. 2544 พบศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กจัดนมรสหวานให้แก่เด็กร้อยละ 54 ต่อมาใน พ.ศ. 2545 กรมการส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้มีนโยบายจัดนมจืดให้เด็กในศูนย์ เด็กเล็กทั่วประเทศ


  1. นโยบายและมาตรการเพื่อควบคุมการบริโภคน้ำตาล

จากปรากฏการณ์ที่ชี้ชัดว่า การเกิดฟันผุจะ ทําในประเทศที่มีการบริโภคน้ำตาลน้อยกว่า 1520 กิโลกรัมต่อคนต่อปี หรือเท่ากับ 40 - 55 กรัม ต่อตนต่อวัน หรือร้อยละ 6-10 ของพลังงานที่ได้ รับจากอาหารทั้งหมด 10 องค์การอนามัยโลกจึงได้ กําหนดเป็นนโยบายว่าประเทศต่างๆควรจะแนะนํา ให้ประชาชนบริโภคน้ำตาลไม่เกินร้อยละ 10 ของ จํานวนแคลอรีที่สมควรจะได้รับต่อวัน 1) ซึ่งก็มี ประเทศต่างๆ ใช้มาตรฐานนี้แล้วไม่น้อยกว่า 25 ประเทศ เช่น เดนมาร์ก ฟินแลนด์ เยอรมนี กรีซ โปแลนด์ สเปน สวีเดน สหราชอาณาจักร ประเทศ อาฟริกาใต้ รวมทั้งประเทศไทย


กลุ่มทํางานมูลนิธิ โภชนาการของอังกฤษ (British Nutrition Foundation's Task Force on Oral Health, Diet and Other Factors) เสนอว่าเมื่อ พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างน้ำตาลกับฟันผุแล้ว เด็กปฐมวัยควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 30 กรัมต่อคน ต่อวัน หรือประมาณ 7.5 ช้อนชา และต้องแปรงฟัน ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์  สำหรับประเทศไทย เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวานได้เสนอข้อแนะนํา สําหรับเด็กและผู้ใหญ่ว่า ไม่ควรบริโภคน้ำตาล มากกว่า 6 ช้อนชาต่อวัน โดยประมาณการจากคำแนะนําขององค์การอนามัยโลกที่ให้ประชาชน บริโภคน้ำตาลไม่เกินร้อยละ 10 ของจำนวนแคลอรี ที่สมควรจะได้รับต่อวัน รวมทั้งพิจารณาว่าอาหาร สําเร็จรูปต่างๆมักมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบอยู่แล้ว ไม่มากก็น้อย


องค์การอนามัยโลก ได้จัดทําข้อแนะนํา ด้านโภชนาการสําหรับประชากรโลก โดยกําหนด เป้าหมายว่าพลังงานที่ได้จากน้ำตาลอิสระควรน้อย กว่าร้อยละ 10 โดยให้ความหมายของน้ำตาลอิสระ หมายถึง น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและโมเลกุลคู่ที่เดิม ลงในอาหารสําเร็จรูป อาหารที่ปรุงเอง รวมทั้ง น้ำตาลธรรมชาติเข้มข้นในน้ำผึ้ง น้ำหวาน และน้ำ ผลไม้


สําหรับประเทศไทย ได้เกิดนโยบายควบคุม การบริโภคน้ำตาลในเด็ก กล่าวคือ พ.ศ. 2545 มีนโยบายการจัดซื้อนมจืดให้เด็กในศูนย์เด็กเล็ก ของกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2547 มีการแก้ไขประกาศกระทรวง สาธารณสุข ที่ 156 และ 157 เพื่อห้ามการใช้ น้ำตาลหรือวัตถุที่ให้ความหวานอื่นใดในผลิตภัณฑ์ อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก และกรุงเทพมหานคร มีนโยบายให้โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพ มหานครเป็นโรงเรียน “อ่อนหวาน” เพื่อป้องกันโรค อ้วนในเด็กนักเรียน


การดําเนินการของประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่ จัดทําในระดับ “การออกคําแนะนํา หรือข้อเสนอ แนะ” เน้นกลุ่มอายุตั้งแต่ 6 ปี ขึ้นไป เพราะในเด็ก อายุต่ำกว่า 6 ปี มีข้อควรระวังที่เกี่ยวกับพัฒนา การและการเจริญเติบโตของเด็กอยู่มาก การทํา ข้อเสนอแนะสําหรับประชาชนเน้นการจํากัดการ รับประทานน้ำตาลและอาหารที่มีน้ำตาลให้น้อย ที่สุด ตัวอย่างการทําข้อเสนอแนะด้านโภชนาการ สําหรับประชาชนของประเทศต่างๆ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
1.
ไตรโรจน์ บ, อึ้งชูศักดิ์ จ, จาติเกตุ ป. การปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เป็นปัจจัยเสี่ยง. Th Dent PH J [Internet]. 2006 Dec. 25 [cited 2024 Dec. 28];11(1-2):49-54. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThDPHJo/article/view/212822
Section
Original Article

References

1. Gustafsson BE, Quensel CE,Lanke LS, Lundqvist C, Grahnen H, Bonow BE, et al. The Vipeholm dental caries study. The effect of different levels of carbohydrate intake on caries activity in 436 individual observed for 5 years. Acta Odontologica Scandinavica 1954 ; 11:232-364
2. วิไลลักษณ์ บังเกิดสิงห์, โครงการแก้ปัญหาทันตสุขภาพเด็กวัยก่อนเรียนโดยกลุ่มแกนนําสตรี อําเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการโครงการเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาบรมราชินีนาถ 23-24 สิงหาคม 2547 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพมหานคร: 148 160.
3. ทัศนีย์ มหาวัน พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพเด็กอายุ 2-3 ปี ของผู้ปกครองในอําเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ 1. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540.
4. บุบผา ไตรโรจน์ จันทนา อึ้งชูศักดิ์ วิไลลักษณ์ บังเกิดสิงห์ และสุรางค์ เชษฐพฤนท์, การศึกษาสถานการณ์การบริโภคนมของเด็กวัยก่อนเรียนในศูนย์เด็กเล็ก พ.ศ. 2546. ว.ทันต.สธ 2546; 8 (1-2): 31-37.
5. บุบผา ไตรโรจน์ และคณะ การศึกษาสถานการณ์การเลี้ยงดูเด็กของผู้ปกครองที่มีผลต่อสภาวะโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2547 ว.ทันต.สธ 2548 ; 10(1 – 2): 29 - 38. น าย
6. วรางคณา อินทโลหิต สลิตา อุประ และรสสุคนธ์ พานศรี, การศึกษาพฤติกรรมการเลี้ยงดูของผู้ปกครองต่อสภาวะสุขภาพช่องปากเด็กวัยก่อนเรียน. ว.ทันต.สธ 2545; 7(1): 56-69.
7. ฉลองชัย สกลวสันต์ บริบทการดําเนินชีวิตของครอบครัวที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัย, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาทันตกรรมป้องกัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2547.
8. สุนีย์ พลภาณุมาศ การศึกษาปัจจัยทางครอบครัวที่มีอิทธิพลต่อสภาวะสุขภาพช่องปากของเด็กก่อนวัยเรียน (4-5 ปี) ในเขตเทศบาล จังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์ปริญญาคหกรรมศาสตร์ มหาบัณฑิต วิชาเอกการพัฒนาครอบครัวและสังคม สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546.
9. จันทนา อึ้งชูศักดิ์ บุบผา ไตรโรจน์ ปิยะ ศิริพันธุ์ การจัดทําองค์ความรู้และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมการดื่มนมจืดของเด็กไทย เอกสารโรเนียว พ.ศ. 2544 สนับสนุนโดย สํานักงานสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ ปี 2544
10. Mann J. Sugar revisited-again. Bulletin of the World Health Organization 2003. 81 (8): 552.
11. Report of a joint FAO/WHO Consulation. Preparation and use of foodbase dietary guidelines. Geneva: World Health Organization: 1998 (WHO Technical Report Series No. 880)
12. Sheiham A. Dietary effects on dental diseases. Public Health Nutrition 2001;4:569-591
13. เด็กไทยไม่กินหวาน 2546 เอกสารโรเนียว
14. Joint WHO/FAO Expert Consultation on Diet. Nutrition and the prevention of chronic diseases.Geneva : World Health Organezation, 2003 (WHO Techincal Report Series No 916)
15. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น หนังสือด่วนที่สุด ที่ มท 0810.6/ว 3702 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2545 เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการดําเนินการโครงการอาหารเสริม (นม) ข้อ 4 กําหนดราคากลางที่จัดซื้อ เฉพาะนมพาสเจอร์ไรซ์ หรือนมยูเอชที รสจืด ให้นักเรียนดื่ม กรุงเทพ 2545
16. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 122 ตอนพิเศษ 9 ง ลงวันที่ 31 มกราคม 2548
17. สํานักการศึกษา กรุงเทพมหานคร บันทึกข้อความที่ กท 0805/8827 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2547 เรื่องการดําเนินงานโรงเรียนอ่อนหวานและปลอดบุหรี่ กรุงเทพ 2547
18. อัญชลี ดุษฎีพรรณ นโยบายสาธารณะและมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวกับขนมทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เอกสารโรเนียว 2546 สนับสนุนโดยเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน
19. Stuhldreher WL, Koehler AN, Harrison MK, Deel H. The West Virginia Standards for school nutrition. J Child Nutrition Management 1998 ; 22 : 79 - 86.
20.Comprehensive school nutrition policy force : promoting healthy eating in school and communities. Retried on December 12, 2003. From WWW.thefoodtrust.Org/pdfs/snpolicy.pdf-view as html.
21. http://www.agr.state.tr.US/food nutrition/whatnew/FMNV policy.doc
22. Florida Department of Education. Rule 6-7. 042, Reaponsibilities for the school food service program. Florida Administrative Weekly 25 : 5309 - 5310. Retrieved on May 17, 2002, :http://faw.dos.state.Fi. Us /fawframes. Html.