ลาก่อนขวดนม... ช้าไปโรคภัยตามมา

Main Article Content

ศิราภรณ์ สวัสดิวร

Abstract

การยังคงให้ทารกดูดนมจากขวด หลังอายุ 1 ปี ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้หลายประการ เช่น ไม่ยอมกินข้าว ฟันผุ โรคอ้วน เสียโอกาสพัฒนาการกล้ามเนื้อมือและปาก เรื่องของการดูดขวดนมนับว่าเป็นพฤติกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดปัญหาต่างๆ ดังกล่าวเพราะเมื่อดูดนมจากขวดปริมาณน้ํานมจะไหลได้สะดวก เด็กๆจะชอบ และเด็กก็ชอบที่จะดูดกลืนมากกว่า เดี๋ยวกลืน ประกอบ กับวัยที่โตขึ้น ค่อยๆพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เมื่อชอบอะไรมักจะเลิกได้ยาก การศึกษาของกรมอนามัย ปี 2544 พบว่า เด็กอายุ 3-4 ปี มีปัญหาฟันผุถึง ร้อยละ 65 เด็กอายุ 5 - 6 ปี ในช่วงพศ.2527-2544 พบผู้มีฟันน้ํานมผุเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 71 เป็น 87 ผู้ปกครองจํานวนไม่น้อยยังไม่เห็นความสําคัญในปัญหานี้ แม้ว่าโรคฟันผุอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้และการศึกษาของ พญ.สุนทรี รัตนชูเอก สถาบันสุขภาพเด็กฯ พบว่า เด็กที่มารับบริการที่คลินิกสุขภาพเด็กดี ช่วงอายุ 1-2 ปี มีปัญหาอ้วนและน้ําหนักเกิน ร้อยละ 34 ผลงานของภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้ศึกษาเด็กอ้วนจํานวน 77 คน อายุตั้งแต่ 3.08 ถึง19 ปี ณ โรงพยาบาลศิริราช แสดงให้เห็นว่าเด็กอ้วนมีการแปรเปลี่ยนทางเมตาบอลิคพร้อมที่จะเป็นโรคเบาหวาน ไขมันสูงในเลือด เช่นเดียวกับการศึกษาของโรงพยาบาลรามาธิบดี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กําลัทําการศึกษาเรื่อง “สภาวะการดูดนมกลางคืนของเด็กไทย อายุมากกว่า 6 เดือน และการให้ความรู้พ่อ แม่ล่วงหน้า จะช่วยป้องกันได้หรือไม่” ระยะเวลา โครงการ 4 ปี หลังการศึกษา 1 ปี มีผลการศึกษา เบื้องต้น พบว่า


  • เด็กๆ อายุ 2-3 ปี ยังมีการดูดนมจากขวด ร้อยละ 80 เมื่ออายุ 4 ปี มีร้อยละ 45

  • เด็กๆยังคงตื่นดูดนมมื้อดึก (24.00-4,00 น.)

อายุ 6-12 เดือน ร้อยละ 85


อายุ 1-2 ปี ร้อยละ 70


อายุ 2-3 ปี ร้อยละ 42


อายุ 3-4 ปี ร้อยละ 21


  • ทําความสะอาดฟันกันแล้ว ยังดูดนมและ หลับคาขวดนม ร้อยละ 44

  • ผู้เลี้ยงดูจะรีบให้นม เมื่อทารกเริ่มบิดตัว หรือเริ่มร้อง เพราะคิดว่าหิว ร้อยละ 90

การยังดูดนมจากขวด แม้เมื่อโตแล้ว การยังคงดูดนมมื้อดึก การรีบให้นมตั้งแต่เริ่มบิดตัว หรือเริ่ม ร้อง และสนับสนุนให้เห็นว่า ผู้เลี้ยงดูส่วนใหญ่ อาจยังไม่เข้าใจในการจัดการการกินการนอน การติดใจ การดูดนมกลางคืนในระยะที่ฟันขึ้นแล้ว และเมื่อโตแล้วเริ่มดื้อมากขึ้นแล้ว จะส่งเสริมให้เลิกดูดนมจากขวด เมื่อถึงเวลาอันควร (อายุ 1-1 1/2 ปี) มักทําไม่ได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
1.
สวัสดิวร ศ. ลาก่อนขวดนม. ช้าไปโรคภัยตามมา. Th Dent PH J [Internet]. 2004 Dec. 27 [cited 2024 Jul. 18];9(1-2):99-102. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThDPHJo/article/view/212985
Section
Review Article

References

ได้รับการสนับสนุนจากสํานักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) รหัส โครงการ 45-01000 คณะผู้ทําการศึกษาจึงได้พัฒนา
• แผ่นพับแนะนํา “เตรียมตัว จัดการ การ กิน-การนอน ตั้งแต่เล็กๆ”
• แผ่นพับแนะนํา “ลูกโตแล้วไม่ยอมเลิก ดูดนมจากขวด ทําอย่างไรดี...”
• ชุดนิทรรศการ บ้าย..บายขวดนม ช้าไป โรคภัยตามมา
download ได้ที่ www.children hospital.com
คณะผู้ทําการศึกษา
- ศิราภรณ์ สวัสดิวร,
- สวิสา จวนสาง,
- เชิดชู ศรีอริยวัฒนา,
- สุริยเดว ทรีปาตี,

กุมารแพทย์
- พิริยา วรรธนะภูมิ,
- นงรัตน์ จันที่,
พยาบาลวิชาชีพ สถาบันสุขภาพเด็กแห่ง
ชาติมหาราชินี
- ดร.เรวดี จงสุวัฒน์. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หน่วยโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เครือข่ายรณรงค์เด็ก ไทยไม่กินหวาน
ทญ.อพภิวันท์ นิตยารัมพงษ์ ที่อนุญาต ให้ใช้ รูปการ์ตูน จากหนังสือนิทาน* บ้ายบาย ขวดนม”