กรณีศึกษางานทันตสาธารณสุขแบบชุมชนมีส่วนร่วม : โครงการแก้ปัญหาผลกระทบการมีฟลูออไรด์ในน้ำสูงเกินมารฐาน จังหวัดลำปาง

Main Article Content

สุรัตน์ มงคลชัยอรัญญา

Abstract

ลําปางเป็นจังหวัดในภาคเหนือที่จัดว่าเป็น พื้นที่เสี่ยงสูงต่อการพบปัญหาฟันตกกระเนื่องจาก เป็นจังหวัดที่อยู่ในบริเวณที่มีสายแร่ฟลูออไรด์ ซึ่ง เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการทําเหมืองแร่ฟลูออไรด์ แหล่งน้ําพุร้อน และพบความชุกฟันตกกระในเด็ก อายุ 12 ปี ระดับเล็กน้อยถึงรุนแรง ประมาณร้อยละ 10? ฟันตกกระเป็นปัญหาจากการได้รับฟลูออไรด์ ในปริมาณที่มากเกินในช่วงวัยที่ฟันกําลังสร้าง และน้ําบริโภคเป็นแหล่งของฟลูออไรด์ที่สําคัญ


ปี พ.ศ.2543 สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ลําปางร่วมกับกรมอนามัยได้จัดทําโครงการแก้ ปัญหาผลกระทบของการมีฟลูออไรด์ในแหล่งน้ําสูง เกินมาตรฐาน ตามมาตรฐานน้ําบริโภคกรมอนามัย 2540 ฟลูออไรด์ไม่มากเกิน 0.7 มิลลิกรัม/ลิตร ในพื้นที่นําร่อง 3 อําเภอ และขยายพื้นที่ดําเนินการ อีกในปีต่อๆมารวมเป็น 3 ปี ปัจจุบันพื้นที่ดําเนิน การมากกว่า 30 หมู่บ้าน ใน 10 อําเภอ แก้ไข ปัญหาในประชากรกว่า 2,700 ครัวเรือน


การดําเนินงาน


แบ่งพื้นที่ดําเนินงานตามปริมาณฟลูออไรด์ ในน้ําบริโภคกล่าวคือกลุ่มที่สูงกว่า 1.5 มิลลิกรัม/ ลิตร (จํานวน 12 แห่งในปี 2543) และมากกว่า 0.7 มิลลิกรัม/ลิตร เป็นการทํางานร่วมกันระหว่าง เจ้าหน้าที่ภาครัฐจากหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ ทันต บุคลากรในระดับจังหวัดและอําเภอ เจ้าหน้าที่ สาธารณสุข (สถานีอนามัยและสํานักงานสาธารณสุข อําเภอ) นักวิชาการสุขาภิบาลระดับจังหวัดและ อําเภอ นักวิชาการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์ อนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต 10 ศูนย์ทันตสาธารณสุขระหว่างประเทศ กองทันต สาธารณสุข กรมอนามัย และภาคชุมชน ได้แก่ ตัวแทนจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อบต.) เทศบาล อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เป็นต้น  โดยแต่ละส่วนทํางานร่วมกันภายใต้บทบาทหน้าที่ และความชํานาญของตน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
1.
มงคลชัยอรัญญา ส. กรณีศึกษางานทันตสาธารณสุขแบบชุมชนมีส่วนร่วม : โครงการแก้ปัญหาผลกระทบการมีฟลูออไรด์ในน้ำสูงเกินมารฐาน จังหวัดลำปาง. Th Dent PH J [Internet]. 2002 Jun. 24 [cited 2024 Sep. 9];7(1):89-93. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThDPHJo/article/view/213207
Section
Miscellaneous

References

1. ประเสริฐ กุมารจันทร์และคณะ, 2540 คู่มือแผนที่แหล่งแร่และแหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติของประเทศไทย กรมทรัพยากรธรณี หน้า 114 - 115
2. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 2545 ผลการสํารวจทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 5 รายงานที่ไม่ได้จัดพิมพ์
3. WHO. 1994 World Health Organization, Fluoride and Oral Health, Geneva No. 846
4. ประกาศกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. เกณฑ์คุณภาพน้ําประปาดื่มได้ของกรมอนามัย ใน เพ็ญทิพย์ จิตต์จํานงค์, วิกุล วิสาลเสสถ์, มัลลิกา ตัณฑลเวศม์, บรรณาธิการ) 2543 เอกสารสรุปการประชุมสัมมนา เรื่อง ปริมาณฟลูออไรด์สูงสุดในน้ําบริโภคบรรจุขวด.กรุงเทพ หน้า 50
5. สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดลําปาง, 2544 เอกสารสรุปผลงานเด่นงานทันตสาธารณสุขปีงบประมาณ 2543 โครงการแก้ปัญหาผลกระทบของการมีปริมาณฟลูออไรด์ในแหล่งน้ําสูงเกินระดับมาตรฐาน
6. สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดลําปาง, 2545 เอกสารสรุปผลการสัมมนาการแก้ปัญหาผลกระทบของการมีปริมาณฟลูออไรด์ในแหล่งน้ําสูงเกินระดับมาตรฐาน จังหวัดลําปาง ปี 2545
7. โกมาตย์ จึงเสถียรทรัพย์, คณิศรเต็งรัง, ราตรี ปิ่นแก้ว, วรัญญา เพ็ชรคง, 2545 วิถีชุมชน. นนทบุรี, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หน้า 11
8. ศันสณี รัชชกูล, 2545 ปัญหาและการแก้ไขปัญหาการได้รับฟลูออไรด์มากเกินไป สําหรับบุคลากรสาธารณสุข เชียงใหม่ หจก.เชียงใหม่ บีเอส. การพิมพ์ หน้า 31
9. สรุปผลการสัมมนาเรื่องปริมาณฟลูออไรด์สูงสุดในน้ําบริโภคบรรจุขวด ใน เพ็ญทิพย์ จิตต์จํานงค์, วิกุล วิสาลเสสถ์, มัลลิกา ตัณฑลเวศม์. (บรรณาธิการ) 2543 เอกสารสรุปการประชุมสัมมนา เรื่อง ปริมาณฟลูออไรด์สูงสุดในน้ําบริโภคบรรจุขวด.กรุงเทพ หน้า 8
10. โกมาตย์ จึงเสถียรทรัพย์, คณิศร เต็งรัง, ราตรี ปิ่นแก้ว, วรัญญา เพ็ชรคง. 2545 วิถีชุมชน. นนทบุรี, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. นน หน้า 13
11. โกมาตย์ จึงเสถียรทรัพย์, คณิศร เต็งรัง, ราตรี ปิ่นแก้ว, วรัญญา เพ็ชรคง 2545 วิถีชุมชน. นนทบุรี, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หน้า 5
12. สุพัตรา ศรีวนิชชากรและคณะ, 2545 บริการสุขภาพใกล้ใจ-ใกล้บ้าน เอกสารวิชาการลําดับที่ 1 นนทบุรี : สํานักงานโครงการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข สํานักงานปลัดกระทรวง หน้า 32
13. สุพัตรา ศรีวนิชชากรและคณะ, 2545 บริการสุขภาพใกล้ใจ-ใกล้บ้าน เอกสารวิชาการลําดับที่ 1 นนทบุรี : สํานักงานโครงการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข สํานักงานปลัดกระทรวง หน้า 35
14. จุฑารัตน์ รัศมีเหลืองอ่อน. กรณีศึกษาที่ 2: การแก้ไขปัญหาฟันตกกระของหมู่บ้านแม่เติน บ้านยากจนแห่งตําบลแม่ถอด ในจันทนา อึ้งชูศักดิ์, ศันสนี รัชชกูล. สุณี วงศ์คงคาเทพ (บรรณาธิการ) 2543 การกระจายอํานาจกับความร่วมมือเพื่อแก้ ปัญหาสาธารณสุขในท้องถิ่น แกะรอยประสบการณ์ทันตสาธารณสุข นนทบุรี: สํานักงานโครงการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข หน้า 18-22
15. ลลนา ถาคําฟู, เฉลิมชัย วุฒิพิทยามงคล กรณีศึกษาที่ 1: การแก้ปัญหาฟันตกกระในตําบลแม่สัน อําเภอห้างฉัตร จังหวัดลําปาง ใน จันทนา อึ้งชูศักดิ์, ศันสณี รัชชกูล, สุณี วงศ์คงคาเทพ (บรรณาธิการ) 2543 การกระจายอํานาจกับความร่วมมือเพื่อแก้ ปัญหาสาธารณสุขในท้องถิ่น แกะรอยประสบการณ์ทันตสาธารณสุข นนทบุรี: สํานักงานโครงการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข หน้า 12-17