ปฏิรูประบบบริการสุขภาพบทเรียนสำหรับสังคมไทย

Main Article Content

คัดจาก วารสารจับกระแส

Abstract

หากเชื่อกันว่าเรื่องของ “สุขภาพ” ที่เกี่ยวโยง เป็นปัญหาและภาระให้สังคมต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่ ปัญหาที่แต่ละปัจเจกบุคคลจะต้องแบกรับเพียงผู้เดียว แต่เป็นปัญหาของประเทศที่ทุกคนพึงตระหนักและช่วย กันแสวงหาทางคลี่คลาย เพื่อให้ปัญหาบรรเทาเบาบาง ลง “การปฏิรูประบบสุขภาพ” จึงเป็นอีกทางออกที่เป็น


ในสังคมต้องหันหน้ามาร่วมมือกัน ซึ่งไม่แตกต่างไปจากระบบการเมืองระบบราชการ และระบบการศึกษาที่นําไปสู่หนทางของการปฏิรูป แล้วเช่นเดียวกัน


เวทีสัมมนา “ปฏิรูประบบสุขภาพไทย” ซึ่งจัดขึ้น ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค ระหว่างวัน ที่ 13-15 ธันวาคม 2542 ที่ผ่านมา นับเป็นเวทีทาง วิชาการซึ่งจัดให้ผู้เกี่ยวข้องกับองค์กรระบบสุขภาพ และตัวแทนจากทุกส่วนในสังคม ได้มาพบปะแลก เปลี่ยนความคิดจากประสบการณ์ และบทเรียนที่ได้ จากงานปฏิรูประบบสุขภาพ แล้วกลั่นกรองร้อยความ คิดนําไปสู่ทิศทางของการปฏิรูปให้ได้ผลอย่างแท้จริง


น.พ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ ผู้อํานวยการสํานัก นโยบายและแผนสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข บอกเล่าบนเวทอภิปรายในหัวข้อ “การปฏิรูประบบ บริการสุขภาพ: บทเรียนสําหรับสังคมไทย” ผ่าน บทเรียนของการปฏิรูประบบสุขภาพจากบทเรียนของ ต่างประเทศในรูปแบบของการให้บริการที่แตกต่างกันไปดังนี้


  1. การปฏิรูประบบประกันสุขภาพ ซึ่ง ครอบคลุมประชาชนในทุกกลุ่มเพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย ไม่ให้สูงเกินไป และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ ประกันและผู้รับประกัน

  2. การปฏิรูปที่เน้นการกระจายอํานาจ เพื่อให้ โรงพยาบาลมีการบริหารที่คล่องตัวขึ้น โดยให้องค์กร ท้องถิ่นเข้ามามีอํานาจในการบริหารและจัดการสถาน บริการในท้องถิ่น ตลอดจนการใช้ทรัพยากรอย่างมี ประสิทธิภาพ

  3. การปฏิรูประบบบริหารสุขภาพ เพื่อลด ภาระความรับผิดชอบจากรัฐอันเป็นการเพิ่มดุลยภาพ ระบบบริการทั้งของรัฐและเอกชน เพิ่มบทบาทให้กับ เอกชน เพิ่มทางเลือกให้กับประชาชนในการใช้บริการ เป็นการลดค่าใช้จ่ายโดยไม่จําเป็นและเพิ่มการลงทุน ด้านการส่งเสริมสุขภาพที่ช่วยลดการเจ็บป่วยโดยไม่ จําเป็นอีกทั้งลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพด้วย

ส่วนรูปธรรมที่แต่ละประเทศดําเนินการมีทั้ง รูปแบบและมาตรการ น.พ.สมศักดิ์ ได้ยกตัวอย่างที่ ใช้ในหลายๆประเทศ เช่น


- ออกกฎหมายจัดตั้งควบคุมระบบประกัน สุขภาพ เช่นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ ไต้หวันและประเทศเกาหลี


หารือวิธีจัดสรรงบประมาณให้โรงพยาบาลรัฐ โดยยกโรงพยาบาลรัฐให้ท้องถิ่น บริหารแทน เช่นที่ประเทศฟิลิปปินส์


- มีคณะกรรมการโรงพยาบาลดูแลบุคลากร ส่วนราชการ เช่นที่ประเทศอังกฤษ และอูกานดา


- จัดสรรงบประมาณให้กับโรงพยาบาล โดยตรง เช่นที่ประเทศไนจีเรีย


- เปลี่ยนโรงพยาบาลให้เป็นบริษัทจํากัด เช่น ที่ประเทศสิงค์โปร์ และประเทศมาเลเซีย


- ขายโรงพยาบาลให้เอกชนดําเนินการ เช่น ที่ประเทศในยุโรปตะวันออก


- ออกกฎหมาย นําภาษีบุหรี่มาใช้ในเรื่อง ของสุขภาพ เช่น ที่ประเทศออสเตรเลีย และประเทศ เนปาล


- การจัดตั้งองค์กรแบบใหม่


สําหรับบทเรียนสําคัญของการปฏิรูประบบ สุขภาพในประเทศไทยนั้น นายแพทย์สมศักดิ์เสนอ แนวทางเป็นเชิงของการตั้งคําถามให้ผู้เข้าร่วมสัมมนา นําไปขบคิด เพื่อหาเป้าหมายของการปฏิรูปที่แท้จริง และเหมาะสมต่อวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมไทย แต่ก็ เสนอเป้าหมายของการปฏิรูปไว้ 3 ข้อ คือ 1. สุขภาพ ดี 2.เข้าถึงบริการที่ดี และ 3. การควบคุมค่าใช้จ่าย “ไม่มีระบบการปฏิรูปใดที่ดีที่สุดหรือนํามาใช้ได้ทันที แต่การปฏิรูปที่จะใช้ได้ผลนั้น จะต้องคํานึงถึงระบบ ความเป็นมาในอดีต โดยการศึกษาวิวัฒนาการของระบบ และสร้างความเข้าใจ เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม” นาย แพทย์สมศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย


ผู้ร่วมอภิปรายอีกท่านหนึ่งคือ นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ผู้อํานวยการโครงการปฏิรูประบบ บริการสาธารณสุขบอกเล่าประสบการณ์ปฏิรูประบบ สุขภาพในประเทศไทยว่า โดยหลักการ เพื่อให้เกิด ความเป็นธรรมถ้วนหน้าและคุณภาพที่ได้มาตรฐาน รัฐต้องเล็กลงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ส่วนภาค ประชาชนต้องโตขึ้นเพื่อให้ประชาคมมีส่วนร่วม


สําหรับสาระสําคัญของการปฏิรูปและสิ่งที่ควรทําในรูปแบบและมาตรการต่างๆ นั้น ประกอบด้วย


  1. การประกันสังคม

- เอกภาพเชิงนโยบาย หลากหลายเชิงปฏิบัติ


- การแข่งขันและร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน


- ควบคุมค่าใช้จ่ายโดยระบบ Capitation - ครอบคลุมประชากรที่เพิ่มขึ้น


ผลสําเร็จที่ได้รับจากรูปแบบนี้ น.พ.สงวนกล่าว ว่า ทําให้สถานพยาบาลเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเครือข่ายที่มีทั้งสถานพยาบาลภาครัฐและเอกชน แต่ก็พบปัญหาว่า อัตราในการใช้บริการยังอยู่ในระดับ ต่ำและประชาชนยังมีความไม่พึงพอใจต่อการให้บริการ


  1. เวชปฏิบัติครอบครัว

- บริการใกล้บ้านใกล้ใจ


- การเชื่อมโยงส่งต่อเป็นหนึ่งเดียวกับร.พ.


- ชุมชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ


รูปแบบนี้พบปัญหาความไม่ชัดเจนในเรื่องของ นโยบาย, ระบบการเกื้อหนุนโดยรวม, ความเข้าใจ ของสังคมและค่านิยมโดยรวม รวมทั้งความยั่งยืนของ การพัฒนาในระยะยาว


  1. การแพทย์แผนไทย - ฟื้นฟูระบบ ภูมิปัญญาไทยให้ได้รับการยอมรับมากขึ้นกระทั่งเกิด เครือข่ายและขุมพลังที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่วิธีการ นี้ก็พบปัญหาว่าองค์ความรู้บางส่วนยากต่อการฟื้นฟู และปัญหาลิขสิทธิ์

  2. สปร. – จัดสรรงบประมาณไปที่จังหวัดโดยระบบในปี พ.ศ.2543

- เน้นงบประมาณไปที่จุดบริการโดยตรง


เริ่มใช้ระบบการลงทะเบียน


- สนับสนุนการให้บริการระดับปฐมภูมิ (Primary Care)


- มีตัวแทนผู้เกี่ยวข้องในคณะกรรมการดูแล ทั้งส่วนกลางและทุกจังหวัด


                ผลสําเร็จที่เกิดขึ้น ทําให้ผู้บริการเกิดความพึง พอใจมากขึ้น และเกิดการตรวจสอบจากผู้บริโภคที่ เข้ามามีส่วนร่วม แต่ก็พบปัญหาว่า ทั้งผู้แทนฝ่าย บริโภคและคณะกรรมการจังหวัดยังไม่สามารถทํางาน ได้อย่างเต็มที่ โดยคณะกรรมการยังคงให้ความสําคัญ กับเรื่องของการแบ่งเงินเป็นหลักมากกว่าเน้นผู้ให้ บริการขณะเดียวกันค่าบริการต่อหัวอยู่ในอัตราที่ต่ํา รวมทั้งผู้มีสิทธิบางส่วนยังไม่ได้รับบริการอย่างทั่วถึง


  1. การประเมินสถานบริการ-เน้นการพัฒนา คุณภาพ ระดมการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย เพื่อให้เกิดความยั่งยืน โดยผลสําเร็จที่ได้รับในระยะ แรกนั้น มี ร.พ.เข้าร่วม 35 แห่ง และมี ร.พ.เข้า รับการอบรม 300 แห่ง โดยผ่านการรับรอง 3 แห่ง รูปแบบนี้พบปัญหาว่าความเข้าใจยังไม่ทั่วถึง เนื่องจากบุคลากรมุ่งหวังบรรลุตัวชี้วัดมากกว่าพัฒนา กระบวนการประเมินงาน

สุดท้าย นายแพทย์สงวน ในฐานะผู้อํานวย การปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข ได้สรุปบทเรียนที่ได้รับจากการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข จาก บทเรียนที่ 1 ว่า รูปแบบของการสมัครใจสามารถ กระตุ้นให้เกิดการขยายการพัฒนาได้ มีการคุ้มครอง กว้างขวางขึ้น, ได้รับบริการมากขึ้น ได้รับบริการดีขึ้น ทําให้สถานะสุขภาพดีขึ้น, คุณค่าไทยและภูมิปัญญา ไทยเกิดการอุ้มชูกันในครอบครัว มีการช่วยเหลือกัน และกันของชุมชนและบทบาทของผู้แทนประชาคม


สําหรับบทเรียนที่สอง นายแพทย์สงวน สรุปว่า ส่วนแบ่งของต้นทุนเท่ากับเงินได้คืนจากต้นทุน (การ พัฒนายังเน้นไปที่ Hard ware มากกว่า Soft ware) นอกจากนี้ในการจัดการแนวใหม่สามารถเปลี่ยนแปลง สิ่งที่อยากให้เป็นไปได้ ซึ่งรวมถึงการแข่งขันด้วย


ทั้งหมดนี้เป็นบทสรุปสาระสําคัญที่ได้จากการ อภิปราย ส่วนการปฏิรูประบบบริการสุขภาพจะบรรลุ ผลสําเร็จและบังเกิดได้ตรงเป้าหมายได้เพียงใด อยู่ที่


คนในสังคมไทยต้องร่วมมือกัน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
1.
วารสารจับกระแส ค. ปฏิรูประบบบริการสุขภาพบทเรียนสำหรับสังคมไทย. Th Dent PH J [Internet]. 1999 Dec. 27 [cited 2024 Jul. 18];4(2):78-80. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThDPHJo/article/view/213872
Section
Miscellaneous

References

คัดจาก วารสารจับกระแส ฉบับ เดือนตุลาคม 2542 ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข