ประวัติทันตาภิบาล

Main Article Content

วิไลลักษณ์ บังเกิดสิงห์

Abstract

เมื่อพ.ศ. 2503 Dr.R. Harris ได้เดินทางเข้า มาทําหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางด้านทันตกรรมของ องค์การอนามัยโลกสําหรับประเทศไทยเป็นครั้งที่ 2 ได้เสนอแนะให้แต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาทาง ทันตกรรมขึ้นในกระทรวงสาธารณสุข เพื่อ พัฒนาเกี่ยวกับโครงการทางทันตกรรม รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้มีคําสั่งแต่งตั้งคณะ กรรมการดังกล่าวขึ้น เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 คณะกรรมการฯ ได้ให้ความเห็นข้อหนึ่งว่า รัฐบาลควรถือเป็นความสําคัญระดับต้นที่จะให้การ ดูแลทันตสุขภาพแก่เด็กเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ทั่วไปและป้องกันโรคในช่องปากไม่ให้แพร่หลายยาก แก่การบําบัด อันเป็นการหมดเปลืองมากขึ้นซึ่งเป็น ผลร้ายต่อเศรษฐกิจในส่วนรวมของประเทศ คณะ กรรมการฯ ได้เสนอแนะให้จัดตั้งคลินิกไว้ในโรงเรียน ภายใต้ความดูแลของทันตแพทย์ในอัตราส่วนทันต แพทย์หนึ่งคนต่อทันตนามัยห้าคน นอกจากนั้นยัง เสนอให้จัดวางโครงการผลิตบุคลากรเข้าปฏิบัติราชการ ตามอัตราส่วนดังกล่าวด้วย นับแต่นั้นมาเรื่องต่าง ๆ ก็ยังไม่คืบหน้าจนถึง พ.ศ.2506 กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอให้คณะ รัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาทางทันตสาธารณสุขอีกครั้งหนึ่ง ด้วยเหตุผลว่า ที่ปรึกษา ขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับทันตสาธารณสุขได้ เสนอว่า โรคต่าง ๆ ภายในช่องปากนั้นเป็นโรคสําคัญ ซึ่งจะมีผลให้สุขภาพของประชาชนดีหรือเสื่อมได้ และ การบริหารงานที่เกี่ยวกับช่องปากและฟันของ ประชาชนนี้ย่อมต้องกระทําทั้งในด้านการส่งเสริม ป้องกันและการบําบัด อันมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในและภายนอกกระทรวงสาธารณสุขอยู่หลาย แห่ง ร่วมกันดําเนินงานเพื่อความผาสุกของประชาชน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจาก มหาวิทยาลัยมหิดล (มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในขณะนั้น) กระทรวง ศึกษาธิการ กระทรวงกลาโหม คณบดีและอาจารย์ จากคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คณะทันตแพทยศาสตร์ยังสังกัดอยู่กับมหาวิทยาลัย แพทยศาสตร์ในขณะนั้น) ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของ กระทรวงสาธารณสุข


คณะกรรมการ ได้มีการประชุมและพิจารณา เรื่องการอบรมพนักงานทันตาภิบาลตามโครงการของ กรมอนามัยและมีมติที่สรุปได้ คือ
1. หลักสูตรการอบรมควรมีระยะเวลา 2 ปีโดยกรม อนามัยเป็นผู้คัดเลือกบุคคลเข้ารับการอบรม ปีละ 50 คน
2. ผู้เข้ารับการอบรมต้องมีพื้นความรู้สอบไล่ได้ ม.ศ.5 และเป็นเพศหญิง
3. ผู้ที่สําเร็จการอบรมแล้วไม่ต้องรับใบอนุญาต ประกอบโรคศิลปะ ให้ปฏิบัติงานประจําอยู่ในโรงเรียน เพื่อดูแลทันตสุขภาพของเด็กภายใต้การควบคุมของ ทันตแพทย์


แต่การดําเนินการอบรมพนักงานทันตาภิบาล ตามมติดังกล่าวก็ยังไม่เกิดขึ้น จนกระทั่ง พ.ศ. 2510 กระทรวงสาธารณสุขได้มีหนังสือถึงทันตแพทยสมาคม แห่งประเทศไทยฯ แจ้งว่า กรมอนามัยได้มีแผนการ อบรมทันตาภิบาล ในปี พ.ศ. 2510 โดยจะอบรม บุคคลซึ่งสําเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปลาย (ม.ศ. 5) มี กําหนดเวลา 1 ปีครึ่ง เมื่อจบหลักสูตรแล้วจะแต่งตั้ง ให้ประจําสถานีอนามัยชั้นหนึ่ง เพื่อทําการบําบัดและ ป้องกันโรคฟันให้แก่นักเรียนและประชาชน แต่ขณะ นั้นยังขาดอุปกรณ์การอบรมและสถานที่ ขอให้สมาคมฯ ช่วยสนับสนุนและกําลังติดต่อขอรับการช่วยเหลือจาก องค์การอนามัยโลกอยู่


ทันตแพทยสมาคมฯ ได้มีหนังสือตอบกระทรวง สาธารณสุขถึงข้อขัดข้องต่าง ๆ ที่ไม่สามารถให้ความ ช่วยเหลือได้ ดังนั้น กรมอนามัย จึงได้มอบให้กองการ ศึกษาและฝึกอบรม ดําเนินการจัดตั้งโรงเรียนทันตาภิ บาลขึ้น และรับสมัครทันตแพทย์เพื่อเข้าทําหน้าที่ใน การฝึกอบรมนักเรียนทันตาภิบาล กรมอนามัยได้เชิญ คณบดีและอาจารย์จากคณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายกทันตแพทยสมาคมฯ ผู้ อํานวยการฝ่ายสาธารณสุขเทศบาลนครกรุงเทพฯ เข้าประชุมปรึกษาเรื่องการจัดตั้งโรงเรียนทันตาภิบาล ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของกรมอนามัย ที่ประชุมได้มีความ เห็นในหลักการส่วนใหญ่คล้ายกับมติของคณะกรรมการ ที่ปรึกษาทางทันตสาธารณสุข เมื่อ พ.ศ.2506 มี ข้อความโดยย่อ ดังต่อไปนี้


  1. เห็นชอบในหลักการที่จะจัดอบรมทันตาภิบาล
    2. ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องเป็นหญิงโสด มี พื้นความรู้สอบไล่ได้ ม.ศ.5
    3. หน้าที่การปฏิบัติงานจะได้พิจารณาราย ละเอียดโดยคณะอนุกรรมการที่ตั้งขึ้น
    4. ทันตาภิบาลที่สําเร็จการศึกษาแล้วจะมี สํานักงานอยู่ที่สถานีอนามัยชั้นหนึ่ง และให้ปฏิบัติงาน ในโรงเรียน
    5. ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
    6. คณะทันตแพทยศาสตร์ยินดีให้ความ ช่วยเหลือด้านวิชาการ

ต่อมากระทรวงสาธารณสุข ได้ติดต่อขอที่ ปรึกษาระยะสั้นจากองค์การอนามัยโลกมาช่วยดําเนิน การ Dr.G.H.Leslie ซึ่งดํารงตําแหน่งอธิบดีกรมทันต สุขภาพของประเทศนิวซีแลนด์ในขณะนั้น ได้เดินทาง เข้ามาเป็นที่ปรึกษาตามความเห็นชอบขององค์การ อนามัยโลก เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2510 มีกําหนดเวลา 6 เดือน


เมื่อ Dr.G.H. Leslie เดินทางเข้ามาแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มีคําสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการประสานงานการดําเนินงานอบรมนักเรียน ทันตาภิบาล และในการประชุมของคณะกรรมการฯ ดังกล่าว กองการศึกษาและฝึกอบรมได้รายงานการ ดําเนินงานว่า ได้รับอนุมัติเงินจากแผน พัฒนาภาคตะวันออก ให้สร้างอาคารโรงเรียนทันตาภิบาล ที่จังหวัดชลบุรี เป็น จํานวนเงิน 1,000,000 บาท และได้ทําสัญญาก่อสร้าง กับห้างหุ้นส่วนจํากัดประชากิจ ประมาณว่าการก่อสร้าง จะแล้วเสร็จในกลางเดือนมกราคม 2511 และได้จัดทํา หลักสูตรการอบรมเสนอ ก.พ. และได้รับอนุมัติ หลักสูตรในระยะเวลาการอบรม 1 ปีครึ่ง แต่ที่ประชุม พิจารณาเห็นควรขอขยายหลักสูตรเป็น 2 ปี ตามคํา แนะนําของที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลก และแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการจัดทําหลักสูตร ระยะเวลา 2 ปีขึ้นใหม่

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
1.
บังเกิดสิงห์ ว. ประวัติทันตาภิบาล. Th Dent PH J [Internet]. 1999 Jun. 28 [cited 2024 Jul. 18];4(1):47-51. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThDPHJo/article/view/213961
Section
Review Article

References

1. หนังสืออนุสรณ์ ทันตาภิบาล 2519 “ประวัติโรงเรียน ทันตาภิบาล” โดย มรว.นิภัสร ลดาวัลย์
2. เอกสารโรเนียว ของ สถาบันพระบรมราชชนก
3. เอกสารโรเนียว ของ ชมรมทันตาภิบาล ตุลาคม 2541