Dental Care Utilization : Socio-Economic Viewpoint

Main Article Content

เพ็ญแข ลาภยิ่ง

Abstract

ประเมินคุณภาพบริการทันตกรรมในโครงการ ประกันที่สามารถเลือกได้ 2 แบบ (dual-choice dental plan) ในสถานบริการทันตกรรม 11 แห่งซึ่งได้รับ ค่าตอบแทนแบบเหมาจ่าย 6 แห่ง และตามบริการที่ ให้ (fee-for-service : FFS) 5 แห่ง เป็นการประเมิน โครงสร้างและกระบวนการ โดยสุ่มบัตรบันทึกการ รักษาผู้ป่วยทันตกรรมขึ้นมา จากสถานบริการแต่ละ แห่ง รวม 495 บัตร ร่วมกับการตรวจและสังเกต สถานบริการและสัมภาษณ์บุคลากร ทีมผู้ประเมิน ตรวจสอบบัตรบันทึกการรักษาว่า มีการบันทึกประวัติ ทางการแพทย์และทันตกรรมหรือไม่, บันทึกผลการ ตรวจวินิจฉัยและการรักษาหรือไม่, มีการถ่ายภาพ รังสีหรือไม่ และภาพรังสีมีคุณภาพหรือไม่, การวางแผน การรักษาสอดคล้องกับผลการตรวจและสุขภาพของ ผู้ป่วยหรือไม่


พบว่ามีเพียงสถานบริการแบบเหมาจ่าย 2 แห่งจาก 6 แห่งที่บริการอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ส่วน ใหญ่ไม่มีการบันทึกข้อมูลที่ดีพอทําให้ประเมิน กระบวนการบริการได้ยาก ผู้รับบริการแบบ FFS ได้รับบริการมากครั้งและมากชนิดกว่าแบบเหมาจ่าย แบบ FFS มีการบริการมากเกินความจําเป็น ขณะที่สถาน บริการแบบเหมาจ่ายให้บริการน้อยเกินไป ในด้าน การกระจายบริการ พบว่า ในสถานบริการแบบเหมา จ่าย แบบแผนการใช้บริการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ มากกว่า 1 อย่างในรอบปีผันแปรไปในแต่ละสถาน บริการโดยไม่มีแบบแผนแน่นอน การศึกษานี้สะท้อน ให้เห็นว่า จําเป็นต้องมีกลไกการประกันสุขภาพอย่าง ชัดเจนและเข้มข้น เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้รับบริการ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
1.
ลาภยิ่ง เ. Dental Care Utilization : Socio-Economic Viewpoint. Th Dent PH J [Internet]. 1998 Dec. 28 [cited 2025 Jan. 15];3(2):61-3. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThDPHJo/article/view/214005
Section
Miscellaneous