บริการสุขภาพช่องปากของประเทศไทย : การคาดการณ์อนาคต
Main Article Content
Abstract
“โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้กําหนดให้บุคคลมีสิทธิได้รับบริการสาธารณะ สุขที่ได้มาตรฐาน ผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษา พยาบาลโดยไม่คิดมูลค่าในขณะที่รัฐนั้นจึงส่งเสริม การสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานโดยทั่วถึงและพึง ให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ยากไร้โดยไม่คิดมูลค่า และพึงส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเอกชน มีส่วนร่วมด้วยเท่าที่จะกระทําได้
องค์การอนามัยโลกได้กําหนดว่าสุขภาพช่อง ปากเป็นส่วนผสมผสานที่สําคัญส่วนหนึ่งขององค์ รวมสุขภาพของร่างกายที่ไม่สามารถแยกจากกันได้ การบริการสุขภาพช่องปากจึงเป็นองค์ประกอบหนึ่ง ของการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้น การปฏิรูปการ บริการสุขภาพของประเทศไทยในอนาคต จะมีผล ต่อบริการสุขภาพช่องปากที่จะต้องปรับเปลี่ยนหรือ ปฏิรูปให้สอดคล้องกับระบบสาธารณสุขของประเทศ ในที่สุดและให้สอดคล้องกับสิทธิเสรีภาพของปวงชน ชาวไทย ในการรับบริการสาธารณสุขตามรัฐธรรมนูญ
“สุขภาพอนามัยเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชา ชนทุกคนพึงได้รับ” รัฐควรจะต้องจัดบริการให้มีลักษณะและกลวิธี ดังนี้ คือ
- การบริการจะต้องครอบคลุมประชากร มากที่สุด และจะต้องเป็นไปตามความจําเป็นทาง ทันตกรรมที่ประชาชนพึงได้รับ โดยประชาชนจะ ต้องสามารถไปรับบริการได้สะดวก และ ประชาชน จะต้องสามารถรับภาระค่าบริการได้ เช่น การจ่ายการประกัน
- การบริการจะต้องเป็นไปโดยประหยัด และมีคุณภาพดี โดยเน้นการส่งเสริมป้องกันและ การรักษาโรคแต่ระยะแรก
ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนไทยทุกคนมีโอกาส เสมอภาคกันในการได้รับบริการสุขภาพช่องปาก ตามกําหนดแห่งรัฐธรรมนูญ และ เพื่อให้ทุกคนเข้า ถึงบริการที่ได้มาตรฐานมีประสิทธิภาพ ได้รับบริการ ที่จําเป็นโดยจ่ายค่าบริการในราคาที่เหมาะสม รวม ทั้งมีโอกาสเลือกบริการที่มั่นใจได้ว่ามีคุณภาพและ สามารถตรวจสอบได้ จะต้องมี “ระบบการจัดการ ที่เหมาะสม
Downloads
Article Details
References
1. ร่างพระราชบัญญัติประกันสุขภาพ พ.ศ. ...... จัดทําโดยกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับคณะกรรมาธิการการสาธารณสุขสภาผู้แทนราษฎร
2. สรุปสาระข้อสังเกต ของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปทางการเมือง
3. สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ยุทธศาสตร์ การปฏิรูประบบบริการสุขภาพไทย 2541 .
4. คมสรรพ์ บุณสิงห์ และคณะ การศึกษาวิจัยความต้องการกําลังคนด้านสุขภาพในสองทศวรรษหน้า กลุ่มผู้ให้บริการทางทันตกรรม ใน รายงานการศึกษาวิจัย การคาดการณ์ความต้องการกําลังคนด้านสุขภาพในสองทศวรรษหน้า สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ร่วมกับสํานักนโยบายและแผนสาธารณสุข และสถาบันพระบรมราชชนก มกราคม 2540
5. ทบวงมหาวิทยาลัย แผนการผลิตทันตบุคลากร. บทที่ 4 เรื่องสถานการณ์ความเสมอภาค เรื่องการรับบริการสุขภาพช่องปากของประชาชน 2541.