แนวทางการประเมินโครงการวิจัยและผลงานวิจัย กระทรวงสาธารณสุข
Main Article Content
Abstract
การประเมินผลโครงการวิจัยและผลงานวิจัย นับว่า เป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการดําเนินงานวิจัยไม่ว่าจะเป็นขั้นตอน การพิจารณาอนุมัติโครงการหรือการพิจารณาจัดสรรทุน สนับสนุนการวิจัย รวมทั้งเมื่อการดําเนินงานวิจัยสิ้นสุดลง และมีผลการวิจัยออกมา จะต้องมีการประเมินถึงความ เชื่อถือได้ คุณภาพของการวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจะ นําผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ หรือขยายผลให้ครอบคลุม พื้นที่ที่กว้างขวางขึ้น การประเมินดังกล่าวนี้นับได้ว่าเป็นทั้ง ศาสตร์และศิลป์ ผู้ประเมินจะต้องอาศัยพื้นฐาน ความรู้ทาง หลักวิชาการที่ดี ประสบการณ์จากการทําวิจัยของตนเอง และจริยธรรมส่วนบุคคล การประเมินควรเป็นในลักษณะ สร้างสรรค์สามารถแยกแยะประเด็นต่างๆ ออกมาได้อย่าง ชัดเจน อาทิเช่น มีระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง ถูกขั้นตอน มี การป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ให้มากที่สุด มีการวางรูปแบบการวิจัยที่ถูกต้องเหมาะสมกับปัญหาที่ ศึกษามีวิธีการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผลการวิจัยที่ออกมามีน้ําหนักมีคุณค่า น่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับในทางวิชาการ นอกจากนี้ผู้ประเมิน จะต้องสามารถระบุจุดอ่อนและข้อบกพร่องต่างๆ และ สามารถเสนอแนะวิธีที่ดีกว่าในการปรับปรุงแก้ไข
เอกสาร “แนวทางการประเมินโครงการวิจัยและ ผลงานวิจัย” นี้จึงเป็นความพยายามของสํานักงานวิชาการ สาธารณสุข สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่จะจัดทํา แนวทางกว้างๆ โดยใช้วิธีประชุมระดมสมองผู้เชี่ยวชาญ ด้านการวิจัย ทั้งภายในกระทรวงสาธารณสุขและทบวงมหาวิทยาลัย เพื่อเผยแพร่ให้หน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และนักวิชาการ ต่าง ๆ ได้ใช้ประโยชน์ เพื่อเป็นแนวทางในการกํากับและ พัฒนาคุณภาพงานวิจัยในหน่วยงานของตนเอง เพื่อให้ งานวิจัยสามารถตอบสนองและสอดคล้องกับความต้องการ ในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางานสาธารณสุขตาม วัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นการใช้ทรัพยากรทางการวิจัยที่มีอยู่อย่างจํากัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
Downloads
Article Details
References
WHO /SEA TASK FORCE ON HEALTH SYSTEM RESEARCH, Report of a Consultative Meeting on “Development of Criteria for Appraisal of HSR Project Proposals” SEA/HSR/93/Inf 8,7 October 1993.