Individual Risk Assessment and Individual Use of Fluoride
Main Article Content
Abstract
เnณฑ์การพิจารณาระดับความเสี่ยงของบุคคลต่อโรคฟันผุในเด็กทารก
ทารกที่จัดว่ามีระดับความเสี่ยงสูงต่อการเกิด โรคฟันผุ จะต้องมีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง หรือมากกว่า
ดังนี้
- มารดามีความผิดปกติ หรือมีอาการแทรก ซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ หรือระหว่างคลอด
- มีความผิดปกติของโรคทางระบบ หรือความ พิการทางร่างกาย สติปัญญาและพัฒนาการ
- ไม่ได้รับฟลูออไรด์อย่างเหมาะสม (optimal fluoride therapy)
- บุคคลในครอบครัวมีประวัติของโรคฟันผุสูง โดยเฉพาะถ้าเป็นผู้ที่ดูแลทารก และโรคฟันผุนั้นยังไม่ ได้รับการรักษา
- มีนิสัยการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น การเลี้ยงดูด้วยนมขวดอย่างไม่เหมาะสม และ/หรือ การบริโภคอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง
- ครอบครัวมีทัศนคติ และสภาพสังคม ที่ไม่ เอื้อต่อการดูแลและป้องกันสุขภาพของฟันและช่องปากแก่ทารก
อายุเริ่มแsn ที่ทารกการพบทันตแพทย์
ทารกควรพบทันตแพทย์ เพื่อวางแผนทันต กรรมป้องกันก่อนเกิดโรคฟันผุ โดยพิจารณาจากระดับ ความเสี่ยง ดังนี้
- ทารกในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิด โรคฟันผุ ให้พบทันตแพทย์เพื่อวางแผนทันตกรรม ป้องกันในวัยทารก (infant oral health care) ตั้งแต่ อายุ 6 เดือน หรือเมื่อฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น
- ทารกในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิด โรคฟันผุ ให้พบทันตแพทย์เพื่อวางแผนทันตกรรม ป้องกันในวัยทารก (infant oral health care) ตั้งแต่ 1 ปี
เกณฑ์การพิจารณาระดับความเสี่ยง ของบุคคลต่อโรคฟันผุ
บุคคลที่จัดว่ามีระดับความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ สูง จะต้องมีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง หรือมากกว่า ดังนี้
- บุคคลที่มีโรคทางระบบซึ่งการรักษาโรค ทําให้มีการหลั่งน้ําลายน้อย (xerostomia) เช่น การได้รับ การฉายรังสี ได้รับเคมีบําบัด เพื่อการรักษาโรคมะเร็ง ที่ศีรษะและคอ หรือกําลังได้รับ Xerogenic drugs เช่น anticholinergics, sedatives, antipsychotics, antihistamines, diuretics ba antihypertensives เป็นต้น
- บุคคลที่กําลังใส่เครื่องมือจัดฟัน และ/หรือ ฟันปลอมชนิด temporary plate และ/หรือ partial denture
- มีฟันหน้าล่าง 4. มี 2 ใน 3 ของกรณีต่อไปนี้
- มีฟันผุที่บริเวณด้านเรียบ (smooth Surface caries) > 1 cavity
- มีฟันผุชนิด active (soft, open caries) > 2 cavities
- มีฟันผุซ้ํา (secondary caries)
- มีฟันผุเพิ่มขึ้น (caries increment) > 2 cavities/ปี ในผู้ที่ได้รับการรักษา complete case แล้ว และกลับมารับการตรวจเป็นระยะ
เรียบเรียงจาก เอกสาร เรื่อง เกณฑ์มาตรฐาน ที่ใช้ในการคัดกรองบุคคลที่เสี่ยงต่อโรคฟันผุโรคปริทันต์ และการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร หัวข้อ เกณฑ์การคัดกรองบุคคลที่เสี่ยงต่อโรคฟันผุ โดย รศ.ดร.ทพ.สิทธิชัย ขุนทองแก้ว และคณะ
Downloads
Article Details
References
2. Pinkham, JR., Casamassimo, PS., Fields, HW. and Nowak A. Pediatric Dentistry : Infancy Through Adolescence. second edition. W.B. Saunders Co., Philadelphia, 1994 : 192-208