สภาวะโรคฟันผุจากผลการสำรวจทันตสุขภาพระดับจังหวัด (พ.ศ.2527-2535)

Main Article Content

ศรีสุดา ลีละศิธร
จันทนา อึ้งชูศักดิ์
ขนิษฐ์ รัตนรังสิมา

Abstract

การศึกษาสภาวะโรคฟันผุจากผลการสํารวจทันตสุขภาพระดับจังหวัด มีวัตถุประสงค์ที่จะแสดง สภาวะการเกิดโรคฟันผุของประชาชนในจังหวัดต่าง ๆ และเปรียบเทียบกับเป้าหมายทางทันตสุขภาพของ ประเทศไทย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สําหรับการวางแผน และสนับสนุนการดําเนินการแก้ไขปัญหา ทันตสาธารณสุขของจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ การดําเนินการ ได้จัดทําแบบสํารวจสภาวะโรคฟันผุส่งให้ จังหวัดและศูนย์ส่งเสริมสุขภาพเขต เพื่อรวบรวมข้อมูล โดยใช้ข้อมูลครั้งหลังสุดของจังหวัดมาเปรียบเทียบ กับเป้าหมายทันตสุขภาพแห่งชาติ ในเรื่องสภาวะโรคฟันผุของฟันน้ํานม ฟันถาวร และการสูญเสียฟัน ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดที่ดําเนินการสํารวจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2535 มีทั้งสิ้น 54 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 74.0 ของจังหวัดทั่วประเทศ การเกิดโรคฟันผุในเด็กอายุ 12 ปี พบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของ จังหวัดที่ทําการสํารวจ (30 จาก 54 จังหวัด) มีเด็กฟันผุมากกว่าร้อยละ 50 ค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดของพัน ถาวร (DMFT) มีค่าตั้งแต่ 0.3-4.9 ซีต่อคน เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายทันตสุขภาพแห่งชาติที่กําหนด ให้เด็กอายุ 12 ปี ควรมีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดของฟันถาวรไม่เกิน 1.5 ซีต่อคน พบว่าจังหวัดที่มีโรคสูงกว่า เป้าหมายมี 21 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 38.9 ของจังหวัดที่สํารวจ เมื่อจัดกลุ่มของจังหวัดตามระดับความ รุนแรงของการเกิดโรคตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก พบว่าจังหวัดส่วนใหญ่ยังมีการเกิดโรคอยู่ใน ระดับต่ําและต่ํามาก อย่างไรก็ตามมีพื้นที่ 6 จังหวัดที่อยู่ในระดับปานกลางและสูง เป็นข้อบ่งชี้ว่าการเติม ฟลูออไรด์ในน้ําประปา อาจเป็นกลวิธีหนึ่งที่ควรพิจารณา สําหรับภาวะการสูญเสียฟัน ข้อมูลที่รวบรวม ได้มี 44 จังหวัด พบจังหวัดที่มีผู้มีฟันใช้งานต่ํากว่าเป้าหมาย 25 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 56.8 สําหรับ สภาวะโรคฟันผุในฟันน้ํานมของเด็กอายุ 6 ปี พบว่าจังหวัดที่เด็กมีฟันน้ํานมผุมากกว่าร้อยละ 70 มี 33 จังหวัดจาก 41 จังหวัดที่มีข้อมูล คิดเป็นร้อยละ 80.5 พบฟันผุสูงในทุกภาค ยกเว้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการศึกษาครั้งนี้ ทําให้มองเห็นปัญหาทันตสาธารณสุขแยกรายจังหวัดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งหน่วยงาน ส่วนกลางสามารถนํามาใช้ในการวางแผนการสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานระดับจังหวัด ทั้งในด้านทรัพยากร และด้านวิชาการที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้ประชาชนไทยมีสุขภาพช่องปากที่ดี ตามเป้าหมายทันตสุขภาพ ที่ตั้งไว้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
1.
ลีละศิธร ศ, อึ้งชูศักดิ์ จ, รัตนรังสิมา ข. สภาวะโรคฟันผุจากผลการสำรวจทันตสุขภาพระดับจังหวัด (พ.ศ.2527-2535). Th Dent PH J [Internet]. 1993 Jul. 30 [cited 2024 Jul. 18];1(1):17-22. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThDPHJo/article/view/214562
Section
Original Article

References

1. กรมการแพทย์ กรมอนามัย สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข คู่มือการสํารวจข้อมูลระบาดวิทยาทางทันตสาธารณสุขระดับจังหวัด 2532
2. World Health Organization, Planning Oral Health Services, WHO Offset Publication No. 53 Geneva 1980
3. ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เป้าหมายทางทันตสุขภาพของประเทศ ไทย และแนวทางการดําเนินงานเพื่อบรรลุสุขภาพ ดีถ้วนหน้า ปี 2543 หจก.บูรพาศิลป์การพิมพ์ 2529 2 TEATEATEAETA
4. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย เอกสารประกอบ การประชุมการถ่ายทอดแผนพัฒนาทันตสาธารณสุข 2535-2539
5. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย รายงานผลการสํารวจทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ประเทศไทย 2532 โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก 2534
6. World Health Organization. Oral health survey basic methods Third edition. WHO, Geneva 1986.