ผลกระทบของการโฆษณาขนมทางโทรทัศน์ ที่มีต่อการบริโภคขนมของเด็กอายุ 10-12 ปี ในเขตเทศบาลของ จังหวัดปทุมธานี-สมุทรปราการ-นนทบุรี

Main Article Content

มาลี วันทนาศิริ
ธงชัย วชิรโรจน์ไพศาล
แพร จิตตินันทน์

Abstract

การศึกษาผลกระทบของการโฆษณาขนมทางโทรทัศน์ที่มีต่อการบริโภคขนมของเด็กอายุ 10-12 ปี ในเขตเทศบาลจังหวัดปทุมธานี สมุทรปราการ นนทบุรี ซึ่งเป็นเขตปริมณฑลของกรุงเทพ จํานวนเด็ก 900 คน ผลการศึกษาพบว่า ในขนมกลุ่มที่มีการโฆษณาทางโทรทัศน์ 39 ชนิด เด็กจะรู้จักขนมจาก โทรทัศน์เฉลี่ย 36.52 ชนิด และเคยบริโภคเฉลี่ย 30.94 ชนิด เด็กได้รับจํานวนครั้งเฉลี่ยของการโฆษณา ขนม 93 ครั้งต่อสัปดาห์ เด็กร้อยละ 59.1 มีความรู้สึกอยากบริโภคขนมเมื่อเห็นโฆษณาขนม ร้อยละ 40.2 ที่ดูโทรทัศน์ไปกินขนมไปด้วย ในวันธรรมดาที่เด็กไปโรงเรียนจะมีการบริโภคขนมเฉลี่ย 1.52 ครั้งต่อวัน ส่วนในวันหยุดจะบริโภคขนมเพิ่มเป็น 2.31 ครั้ง/วัน เด็กร้อยละ 36.3 จะบริโภคขนมทุกวัน และร้อยละ 55.8 บริโภคอาทิตย์ละ 2.3 ครั้ง สาเหตุในการบริโภคขนมเกิดจากติดใจในรสชาติ ร้อยละ 66.6 หิวหรือ กระหาย ร้อยละ 35.7 และเห็นโฆษณาทางโทรทัศน์ร้อยละ 31.3 สําหรับสถานภาพเศรษฐกิจนั้นเด็ก ได้รับเงินไปโรงเรียนเฉลี่ย 15.44 บาทต่อวันใช้เงินไปซื้อขนมเฉลี่ย 6.58 บาทต่อวัน การหาความสัมพันธ์ โดยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พบว่า จํานวนชนิดขนมที่เด็กรู้จักจากโทรทัศน์จะมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญ กับความถี่ในการดูโฆษณาขนมทางโทรทัศน์ ส่วนจํานวนเงินที่ได้รับจากผู้ปกครอง จํานวนเงินที่ใช้ซื้อขนม จํานวนชนิดขนมที่เด็กเคยบริโภคมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสําคัญกับความถี่ในการบริโภคขนม แต่ความถี่ ในการดูโฆษณาขนมทางโทรทัศน์ มีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสําคัญกับความถี่ในการบริโภคขนม

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
1.
วันทนาศิริ ม, วชิรโรจน์ไพศาล ธ, จิตตินันทน์ แ. ผลกระทบของการโฆษณาขนมทางโทรทัศน์ ที่มีต่อการบริโภคขนมของเด็กอายุ 10-12 ปี ในเขตเทศบาลของ จังหวัดปทุมธานี-สมุทรปราการ-นนทบุรี. Th Dent PH J [Internet]. 1993 Jul. 30 [cited 2025 Jan. 15];1(1):33-4. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThDPHJo/article/view/215065
Section
Original Article

References

1. จันทนา ภวกานันท์ “การเปิดรับสื่อมวลชนกับความสํานึกทางด้านอาหารและโภชนาการของ แม่” โภชนาสาร ตุลาคม-ธันวาคม 2525,16,4 :244-252
2. สุมาลี อรุณรัตนดิลก รายงานการวิจัย เรื่องผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาวะทันตสุขภาพ ของประชาชน กลุ่มอายุ 5-6 ปี และ 12 ปี จังหวัดนนทบุรี ปี 2535 นนทบุรี, 2535
3. พิศักดิ์ องค์ศิริมงคล และ มาลี วันทนาศิริรายงานการวิจัยเชิงสํารวจ เรื่องผลการสํารวจ สภาวะทันตสุขภาพของนักเรียน จังหวัดปทุมธานีปี 2534 ปทุมธานี, 2534
4. ชลธิชา พุทธวงษ์นันทน์ รายงานการวิจัยเชิง สํารวจ เรื่องสํารวจสภาวะทันตสุขภาพของประ ชาชน จังหวัดสมุทรปราการ ปี 2533 สมุทรปราการ, 2533
5. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ผลการสํารวจทันตสุขภาพแห่งชาติ ประเทศไทย ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2532 กรุงเทพ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2534
6. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ, เอกสารการสอนชุดวิชาสุขศึกษา หน่วยที่ 1-7 นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2529
7. มุทธิการ ตระกูลวงษ์ “การดําเนินงานสุขศึกษาทางสื่อมวลชน” วารสารสุขศึกษา เมษายนมิถุนายน 2532, 12, 46 1-7
8. ประภาพรรณ อุ่นอบ “ผลของการโฆษณาทางโทรทัศน์เรื่อง “ตาวิเศษ” ที่มีต่อพฤติกรรมการ ทิ้งขยะของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น” การประมวลวิเคราะห์ผลการศึกษาวิจัยทางสุข ศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพในประเทศไทย ใน ฃแผนพัฒนาสาธารณสุขฉบับที่ 5 กองสุขศึกษากระทรวงสาธารณสุข, 2533
9. ดุษณี สุทธปริยาศรี “วิธีการวิจัยพฤติกรรมทางโภชนาการและนิสัยการบริโภค”, โภชนาสาร มกราคม-มีนาคม 2526, 17,1: 47-52
10. พิษณุ อุตตมะเวทิน และคณะ รายงานการวิจัยเรื่องพฤติกรรมการบริโภคขนมของเด็กภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น : ขอนแก่น, 2535
11. Sinthavalai Sirilak “Attitudes and Behaviour of urban & chool – agethais towards snack Foods''; Yournel of Nutrition Association of Thailand October - December 1987, 21,4 : 310 - 329
12. ระวิวรรณ และ ยุทธนา ปัญญางาม “อิทธิพลของบริโภคนิสัยต่อสภาวะโรคฟันผุของเด็กวัย เรียน” วารสารทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ 2535, 15 (2) : 79-87