พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของเด็ก 0-3 ปี ในเขตอําเภอเมือง
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเรื่องพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของเด็ก 0- 3 ปี ศึกษาในเขตอําเภอเมือง จังหวัด สิงห์บุรี และฉะเชิงเทรา เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แม่หรือผู้ดูแลเด็กพร้อมทั้งตรวจสภาวะทันตสุขภาพ ของเด็กไปด้วย ได้ตัวอย่างมาวิเคราะห์ทั้งหมด 626 คู่ ผู้ดูแลเด็กเป็นแม่ร้อยละ 71.7 อายุเฉลี่ย 33 ปี จบประถมศึกษาร้อยละ 71.1 มีค่าเฉลี่ยทัศนคติเกี่ยวกับทันตสุขภาพ9.9 คะแนนจาก 12.0 คะแนน ข้อที่ ตอบถูกน้อย คือ แปรงสีฟันที่ดีคือแปรงสีฟันที่มีราคาแพง เด็ก ๆ ไม่ต้องแปรงฟันก็ได้เพราะยังเป็นฟัน น้ํานมอยู่ และฟันน้ํานมไม่สําคัญเท่าฟันแท้ ข้อความรู้ที่ตอบผิดมากที่สุด คือเมื่อเด็กอายุ 6 เดือน ควร เลิกให้นมมื้อดึก ทําความสะอาดปากและฟันให้เด็กเป็นประจํา ร้อยละ 24.0 เด็กกินนมแม่เฉลี่ย 4.4 เดือน กินนมขวดเมื่ออายุเฉลี่ย 3.1 เดือน หย่านมขวดเมื่ออายุเฉลี่ย 20.0 เดือน นมขวดที่ได้รับเป็นนมผสม ร้อยละ 60.4 อาหารอื่นที่เด็กกินนอกมื้อเป็นประจํา คือ น้ําอัดลมร้อยละ 8.9 ทอฟฟี่ร้อยละ 7.3 ขนม ขบเคี้ยวร้อยละ 14.2 ผลไม้ร้อยละ 37.7 มีการเติมโอวัลตินในนมร้อยละ 3.0 ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด โรคฟันผุในเด็ก เรียงลําดับจากมากไปน้อย คือ การกินทอฟฟี่ของเด็ก การเติมโอวัลติน, ไมโลในนม ระดับการศึกษาของผู้ดูแลเด็ก การทําความสะอาดปากเด็ก และทัศนคติของผู้ดูแลเด็ก โดยมีค่า R ตามลําดับ คือ.042 .056 ,068 ,076 และ .084 เด็กเป็นโรคฟันผุร้อยละ 26.5 ค่า dmfs 3.4 ด้าน/คน dmft 0.37 ซี/คน ด้านที่ผุสูงสุดคือ mesial ของฟันหน้าบนซีที่ 1 และ facial ของฟันหน้าบนซีที่ 2
Downloads
Article Details
References
2. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ผลการสำรวจทันตสุขภาพ ครั้งที่ 3 ประเทศไทย 2532 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก 2534
3. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง บทบาทของแม่ในการดูแลฟันลูกวัย 0-3 ปี 1 ตุลาคม 2534 ร.ร.รัตนโกสินทร์
4. ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย เป้าหมายทางทันตสุขภาพของประเทศไทย และแนวทางการ ดําเนินงานเพื่อบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้า ปี 2543 กรุงเทพฯ : บูรพาศิลป์การพิมพ์ 2529
5. อุทัยวรรณ กาญจนกามล เฉลิมพงษ์ ชิดไทสง คมขํา พัฒนาภรณ์ วันทนา เลิศพูนวิไลกุล สุวรรณี ตวงรัตนพันธ์ ทรงวุฒิ ตวงรัตนพันธ์ การศึกษาความชุกของการเกิดสภาวะผิดปกติ ของเคลือบฟันและการเกิดโรคฟันผุ ในฟันน้ํานม ของเด็กชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงอายุ 1-4 ปี ตําบล พระบาทห้วยต้ม จังหวัดลําพูน เอกสารประกอบ การประชุมวิชาการทันตสาธารณสุข ครั้งที่ 3 กองทันตสาธารณสุข หน้า 4, 2535.
6. Brown J.P., Junner C., Liew V. A study of Streptococus mutans level in both infants with bottle caries and their mothers. Aust Dent J. 30 : 96 - 98. 1985 .
7. Bullen C., Rubentein L.; Saravia M.E., MOurino A.P., Improving children's We oral hygiene through parental in volvement, ASDC J Dent Child 55 : 125 – 128, 1988.
8. Dilley G.L., Dilley D.H., Mechen J.B. Prolonged nursing habit : A Profile of patients and their families. J. Dent Child 47 : 102 - 108, 1980.
9. Eungpoonsawat W. Oral health behavior of parent and their 5-year-old children: A socio - epidemiology study. Thesis for Mastor of dental sciences. Faculty of Medicine, School of Dentistry, Oral Pathology and Maxilofacial Surgrery 1991.
10.Infante P.E., Gilespie G.M. An epidemiology study of linear enamel hypoplasia of deciduous antherior teeth in Guatamalan children Arch Oral Biol 19 : 1055 – 1061, 1974.
11. Rayner J.F., Socioeconomic status and factors influnecing the dental health practices of mothers, Am J pub Health 60 : 1250 – 1258, 1970.
12. Sarnat H., Kagan A., Raviv A., The relation between mother's attitude toward dentistry and the oral status of their children, Pediatric Dent 6 : 128-131 . 1984.