ความสัมพันธ์ระหว่างการมีลูกอม ขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลมที่บ้าน ความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากนักเรียนของผู้ปกครอง กับโรคฟันแท้ผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 3 ในเขตรับผิดชอบ ของโรงพยาบาลเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ภัทริน สงคราม
จิราพัชร์ กฤษดำ
ปิ่นนเรศ กาศอุดม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีลูกอม ขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลมที่บ้านความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากนักเรียนของผู้ปกครองกับโรคฟันแท้ผุของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 ถึง 3 ในโรงเรียนเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบบันทึกการตรวจฟันแบบสอบถามผู้ปกครองและแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากนักเรียนของผู้ปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สหสัมพันธ์ของเพียรสัน และสถิติวัน-เวย์อโนวา ผลการศึกษาพบว่านักเรียน 176 คน มีฟันแท้ผุร้อยละ 31.8 ค่าเฉลี่ยฟันแท้ผุ ถอน อุด 0.62 ซี่/คน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.159) นักเรียนที่มีลูกอม ขนมกรุบกรอบน้ำอัดลมที่บ้านเป็นประจำมีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุดในฟันแท้มากกว่านักเรียนที่ไม่มีลูกอม ขนมกรุบกรอบน้ำอัดลมที่บ้านหรือนักเรียนที่มีลูกอม ขนมกรุบกรอบน้ำอัดลมที่บ้านเป็นบางครั้งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากนักเรียนของผู้ปกครอง ไม่มีความสัมพันธ์กับค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุดในฟันแท้ของนักเรียนที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และทัศนคติของผู้ปกครองเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากนักเรียนมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกับค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุดในฟันแท้ของนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กล่าวคือ ผู้ปกครองที่มีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพช่องปากนักเรียน ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุดในฟันแท้ของนักเรียนนั้นมีค่าน้อยกว่า คือนักเรียนมีฟันแท้ผุน้อยลง

Downloads

Article Details

How to Cite
1.
สงคราม ภ, กฤษดำ จ, กาศอุดม ป. ความสัมพันธ์ระหว่างการมีลูกอม ขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลมที่บ้าน ความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากนักเรียนของผู้ปกครอง กับโรคฟันแท้ผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 3 ในเขตรับผิดชอบ ของโรงพยาบาลเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี. Th Dent PH J [อินเทอร์เน็ต]. 31 ธันวาคม 2015 [อ้างถึง 28 เมษายน 2025];20(3):36-43. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThDPHJo/article/view/150953
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. สำนักทันตสาธารณสุขกรมอนามัย.รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 7 ประเทศไทยพ.ศ. 2555.สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.พิมพ์ครั้งที่ 1.พฤษภาคม 2556.

2. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี.รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของจังหวัดจันทบุรี พ.ศ.2555.

3. Navia JM. Carbohydrates and dental health. Am J ClinNutr. 1994; 59(3 Suppl): 719-727.

4.Southam, J.C., &Soames, J.v. Dental Caries. Oral pathology (2nded.). Oxford: Oxford Univ. Press, 1993.

5.ปิยะดา ประเสริฐสม, และศรีสุดา ลีละศิธร. รายงานวิจัยสถานการณ์และแนวโน้มของปัญหาตลอดจนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสาธารณสุขในระดับอำเภอ. กรุงเทพฯ: กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. 2542

6. Mattila ML, Rautava P, Sillanp M, Paunio P. Caries in five-year-old children and associations with family-related factors. J Dent Res. 2000; 79(3): 875-881.

7. Rugg-Gunn, A.J. Diet and dental caries. In: Murray, J.J. (ed) Prevention of oral Disease. Oxford: Oxford University Press, 1996.

8. ฤดีสุราฤทธิ์.น้ำตาล.โรงพิมพ์ออนพริ้นช้อพ, 2549

9. Casamassimo P.S. Relationships between oral and systemic health. PediatrClin North Am 2000; 47: 1149-1157.

10. Petersen PE. The World Oral Health Report 2003. Continuous improvement of oral health in the 21 st century – the approach of the WHO Global Oral Health Programme. Geneva : World Health Organization, 2003.

11. Marshall TA, Levy SM, Broffitt B, Warren JJ, Eichenberger-Gilmore JM, Burns TL, Stumbo PJ. Dental caries and beverage consumption in young children. Pediatrics. 2003; 112(3Pt1): 184-191.

12. Lim S, Sohn W, Burt BA, Sandretto AM, Kolker JL, Marshall TA, Ismail AI. Cariogenicity of soft drinks, milk and fruit juice in low-income african-american children: a longitudinal study. J Am Dent Assoc. 2008; 139(7): 959-967; quiz 995.

13. Marshall TA, Eichenberger Gilmore JM, Broffitt B, Stumbo PJ, Levy SM. Diet quality in young children is influenced by beverage consumption. J Am CollNutr. 2005;24(1): 65-75.

14.Saied-Moallemi Z, Virtanen JI, Ghofranipour F and Murtomaa H. Influence of mothers’ oral health knowledge and attitudes on their children’s dental health. Eur Arch Paediatr Dent 2008; 9(2): 79-83.