การเงินการคลังด้านสุขภาพช่องปากของประเทศไทย

Main Article Content

เพ็ญแข ลาภยิ่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงเอกสารนี้วิเคราะห์ข้อมูลและฐานข้อมูลรายจ่าย พฤติกรรม และสภาวะสุขภาพช่อง ปากตั้งแต่ปี 2531-2541 เพื่อหาขนาดและแนวโน้มรายจ่ายของครัวเรือนและรัฐบาล และสัมฤทธิผลของ การลงทุนระดับประเทศต่อสุขภาพช่องปาก โดยมีผลการศึกษาดังนี้


ครัวเรือนใช้จ่ายเพื่อสุขภาพช่องปากเป็นมูลค่าเฉลี่ยต่อเดือนเพิ่มขึ้นจากปี 2531-2539 และลดลง เล็กน้อยในปี 2541 แต่เป็นสัดส่วนค่อนข้างคงที่เมื่อเทียบกับรายจ่ายค่าสินค้าและบริการทั้งหมด ครัวเรือนจ่ายค่าแปรงและยาสีฟันมากกว่าค่าบริการทันตกรรม ในปี 2541 ครัวเรือนจ่ายค่าบริการ ทันตกรรมและค่าแปรงและยาสีฟันประมาณ 25.3 และ 87.5 บาทต่อคนต่อปี ตามลําดับ รายจ่ายรวม ด้านสุขภาพช่องปากมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2529 และลดลงในปี 2541 โดยมีอัตราเพิ่มมากที่สุดระหว่างปี 2533-2535 ในระดับภูมิภาค ประชาชนในกรุงเทพมหานครมีรายจ่ายด้านสุขภาพช่องปากมากที่สุดรองลง มาคือ ภาคกลาง ใต้หรือเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเท่ากับ 257.0, 116.4, 88.9, 82.7 และ 73.6 บาทต่อคนต่อปี ตามลําดับในปี 2541 เมื่อพิจารณาตามเขตการปกครอง ประชาชนในเขตเทศบาลจ่าย มากกว่าเขตสุขาภิบาล และนอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาล ซึ่งเท่ากับ 132.7, 104.2 และ 81.0 บาทต่อ คนต่อปี ตามลําดับ


รัฐบาลในอดีตจัดสรรงบประมาณให้กับการบริการทันตกรรมมากกว่าการส่งเสริมป้องกันโรคใน ช่องปาก แต่สัดส่วนงบประมาณส่งเสริมป้องกันเพิ่มขึ้นตามลําดับจนใกล้เคียงกับด้านรักษาในปี 2535 จาก นั้นเพิ่มขึ้นมากกว่าด้านรักษาซึ่งเป็นทิศทางที่ดีแม้ว่าจะมากกว่าเพียงเล็กน้อย และพบว่ามีความไม่ เท่าเทียมของการลงทุนโดยรัฐลงทุนในเขตเมืองมากกว่าเขตสุขาภิบาลและชนบทมาโดยตลอด แม้ว่า มูลค่างบประมาณสุขภาพช่องปากจะเพิ่มขึ้นแต่เป็นสัดส่วนที่ลดลงอย่างช้าๆ เมื่อเทียบกับงบประมาณ สุขภาพโดยรวม โดยลดลงจากร้อยละ 2.7 ในปี 2531 จนเป็น 2.3 ในปี 2539 แต่เป็นสัดส่วนค่อนข้าง คงที่เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ คือร้อยละ 0.02 ตั้งแต่ปี 2529 จนถึงปี 2535 และเป็น 0.03 ระหว่างปี 2537-2539


ระดับประเทศ รายจ่ายรายปีต่อประชากร ด้านสุขภาพช่องปากระหว่างปี 2531-2539 ปีเว้นปีเท่ากับ 88.90, 98.13, 121.51, 130.06 และ 141.24 บาทต่อคนต่อปี แม้ว่ารายจ่ายสุขภาพช่องปากจากทุก แหล่งจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นแต่เป็นสัดส่วนที่คงที่เท่ากับ 0.2 เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ รายจ่ายสุขภาพช่องปากโดยรวมมาจากประชาชนเป็นหลักซึ่งมีแนวโน้มลดการใช้จ่ายลงอย่างช้าๆ โดยภาค รัฐเข้ามาจ่ายเพิ่มขึ้นทดแทนรายจ่ายของครัวเรือนในรูปของงบประมาณและโครงการสวัสดิการต่างๆ ในแง่ ประเภทรายจ่าย แม้ว่ามีการใช้จ่ายเพื่อส่งเสริมอนามัยช่องปากและป้องกันโรคมากกว่าการรักษา แต่เป็น สัดส่วนที่ลดลงตามลําดับสวนทางกับรายจ่ายด้านรักษาที่เพิ่มขึ้น


ด้านพฤติกรรม แม้ว่าสัดส่วนของประชาชนที่แปรงฟันวันละ 2 ครั้งขึ้นไปด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ จะเพิ่มขึ้นในทุกกลุ่มอายุ แต่ยังคงมีประชาชนส่วนหนึ่งที่ไม่แปรงฟันก่อนนอน และส่วนใหญ่มีการบริโภค อาหารที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคฟันผุ พฤติกรรมเสี่ยงสําคัญต่อการเป็นโรคปริทันต์คือ การสูบบุหรี่เป็นประจํา ซึ่งเพศชายสูบมากกว่าหญิงหลายเท่าแต่อัตราลดลงในทั้ง 2 เพศและทุกกลุ่มอายุแต่อายุเมื่อเริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรก ลดน้อยลง ในด้านบริการ บริการทันตกรรมหลักที่ประชาชนทุกกลุ่มได้รับคือการถอนฟัน


ด้านสัมฤทธิผล พบว่าบรรลุผลในด้านรักษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดบริการสําหรับกลุ่มนักเรียน ประถมศึกษาที่ให้บริการเพื่อเก็บรักษาฟันได้เพิ่มขึ้นมาก แต่ยังมีปัญหาการสูญเสียฟันในกลุ่มผู้ใหญ่ รวมทั้ง กลุ่มอายุ 17-18 ปีซึ่งจะมีปัญหาในแง่ความจําเป็นต้องได้รับบริการใส่ฟันปลอมตามมา สัดส่วนของผู้เป็น โรคฟันผุและโรคปริทันต์ที่มากขึ้นบ่งชี้ว่า การป้องกันโรคในช่องปากค่อนข้างล้มเหลว ปัญหาสุขภาพ ช่องปากอาจทวีความรุนแรงขึ้นในอนาคตหากแหล่งรายจ่ายส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการสวัสดิการ ต่างๆ ยังคงให้ความสําคัญต่อการรักษามากกว่าการส่งเสริมและป้องกันโรค จึงจําเป็นต้องทบทวนและ พัฒนากลยุทธ์การส่งเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันโรคขึ้นมาใหม่

Downloads

Article Details

How to Cite
1.
ลาภยิ่ง เ. การเงินการคลังด้านสุขภาพช่องปากของประเทศไทย. Th Dent PH J [อินเทอร์เน็ต]. 27 ธันวาคม 1999 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];4(2):7-35. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThDPHJo/article/view/213847
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ

References

1. ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ, สุณี ผลดีเยี่ยม และเพ็ญแข ลาภยิ่ง การพัฒนาและสถานการณ์ในภาพรวมของระบบบริการทันตสุขภาพในระดับอําเภอ รายงานการวิจัย กระทรวงสาธารณสุข 2542 เอกสารอัดสําเนา
2. กองทันตสาธารณสุข การประเมินผลแผนงานทันตสาธารณสุขในแผนพัฒนาการสาธารณสุข ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ปีพ.ศ. 2530-2534 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 2534
3. สํานักงานประกันสุขภาพ สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โครงการบัตรประกันสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข 2541 เอกสารอัดสําเนา
4. สํานักงานประกันสุขภาพ สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข งานรักษาพยาบาลผู้มีรายได้น้อยและผู้ที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูล เอกสารประกอบการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อการปฏิรูปโครงการบัตรประกันสุขภาพ 3 มิถุนายน 2541 กระทรวงสาธารณสุข เอกสารอัดสําเนา
5. จารุวัฒน์ บุษราคัมรุหะ, โกเมศ วิชชาวุธ, สุณี ผลดีเยี่ยม และ สุรัตน์ มงคลชัยอรัญญา 10 ปี ทันตแพทย์ผู้ทําสัญญาของกระทรวงสาธารณสุข วิทยาสาร ทันตสาธารณสุข 2541:3(1) 54-62
6. กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย รายงานการประเมินผลแผนงานทันตสาธารณสุข ตามแผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539) กระทรวงสาธารณสุข โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์ 2541
7. กองทันตสาธารณสุข รายงานผลการสํารวจทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 2 ประเทศไทย 2527 กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข เอกสารอัดสําเนา
8. กองทันตสาธารณสุข รายงานผลการสํารวจทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 3 ประเทศไทย 2532 กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข 2534
9. กองทันตสาธารณสุข รายงานผลการสํารวจทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 4 ประเทศไทย 2537 กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข 2537.
10. World Health Organization. Evaluation of Recent Changes in the Financing of Health Services . WHO Technical Report Series : 829 Geneva , 1993.
11. Roemer M. I. Chapter 3 Health System Components and Their Relationships. In National Health Systems of the World: volume one: The Countries. Oxford University Press 1991.
12. สํานักงานสถิติแห่งชาติ รายงานการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2531, 2533, 2535, 2537, 2539 และ 2541 ทั่วราชอาณาจักร สํานักนายกรัฐมนตรี
13. สัมฤทธิ์ ศรีธํารงสวัสดิ์ , จริยา วิทยะศุภร และเพ็ญแข ลาภยิ่ง การลงทุนด้านสุขภาพเพื่อเด็กและเยาวชน รายงานการวิจัย 2541 เอกสารอัดสําเนา
14. นวลอนันต์ ตันติเกตุ, กิตยา มั่งเรือน, จงกล เลิศเกียรดํารง และวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร การคลังเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ รายงานการวิจัย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข 2541 เอกสารอัดสําเนา
15. สํานักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ําตาลทราย รายงานปริมาณการผลิตและการจําหน่ายน้ําตาลทรายในประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรม กรุงเทพมหานคร 2541
16. สํานักงานสถิติแห่งชาติ รายงานการสํารวจอนามัยและสวัสดิการครัวเรือนพ.ศ. 2529, 2534 และ 2539 สํานักนายกรัฐมนตรี
17. สํานักงานสถิติแห่งชาติ รายงานการสํารวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากรพ.ศ. 2534 และ 2536 สํานักนายกรัฐมนตรี
18. วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, นวลอนันต์ ตันติเกตุ, พินทุสร เหมพิสุทธิ์, วงเดือน จินดาวัฒนะ และคณะ แบบแผนรายจ่ายสุขภาพภาครัฐในแผนพัฒนาการสาธารณสุขฉบับที่ 5-7 (พ.ศ. 2525-2539) รายงานการวิจัย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และสํานักนโยบายและแผนสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข 2541 เอกสารอัดสําเนา
19. Qandil R. , Sandhu H.S. and Matthews D.C. Tobacco, smoking and periodontal diseases. J
Can Dent Assoc. 1997 ; 63(3) :187-195.
20. Christen A.G. The impact of tobacco use and cessation on oral and dental diseases and Conditions. Am J Med 1992; 93:255-315.
21. กองทันตสาธารณสุข รายงานผลการสํารวจสภาวะทันตสุขภาพในผู้ใช้แรงงานในพื้นที่ 5 จังหวัดรอบกรุงเทพมหานคร กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 2535.
22. Grembowski D., Fiset L. , Milgrom P. et al. Does Fluoridation Reduce the Use of Dental Services Among Adults? Med Care 1997;35(5) : 454-71 .
23. Kathryn A. A. A Comparison of Quality in a Dual-choice Dental Plan : Capitation versus Fee-for-service. J Public Health Dent 1990;50(3):186-93 .
24. Stein R. M. Lessons from Medicine: An Economist's Perspective. Dent Education 1996;60(4): 368-72.