1. เพื่อเป็นการป้องปรามมิให้มีการกระทำอันเป็นการลอกเลียนงานวรรณกรรมของบุคคลอื่น ดังนั้น บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงขอให้ผู้ที่จะเสนอบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ  Veridian E-Journal ส่งผลการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรมบทความของท่านจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์

“ อักขราวิสุทธิ์ https://plag.grad.chula.ac.th/

แนบส่งมาพร้อมกับบทความที่นำเสนอมาด้วย โดยทางวารสารจะนำผลการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรมแนบไปกับบทความประกอบการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่การสมัครส่งบทความ วันที่ 2 เมษายน 2561 เป็นต้นไป

 

2. เป็นบทความวิจัย หรือบทความวิชาการ ของนักศึกษาระดับปริญญาโท หรือปริญญาเอก อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการ จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ   

 

3. เสนอบทความเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ 

 

4. ผู้เสนอบทความต้องจัดทำบทความตามแบบฟอร์มที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด โดยมีความยาว 15 - 20 หน้า กระดาษเอ 4 และมีรูปแบบการพิมพ์ตามที่กำหนด 

(ทั้งนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI) ดังนั้น จึงกำหนดให้ผู้เสนอบทความที่ส่งบทความเป็นภาษาไทยจัดทำชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่งและคณะ สังกัด ตลอดจนอาจารย์ที่ปรึกษา ให้เป็นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

 

5. สมัครบทความในระบบการจัดการวารสารออนไลน์ (ThaiJO)  โดยสามารถดูรายละเอียดได้ที่ หัวข้อ การสมัครและการส่งบทความ

 

6. ค่าสมัครบทความ
    เมื่อบทความได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review) ให้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ Veridian E-Journal ได้ ผู้สมัครจะต้องเสียค่าสมัครเรื่องละ 2,500 บาท โดยยกเว้นคณาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยศิลปากรไม่ต้องเสียค่าสมัคร ทั้งนี้ บทความที่ได้รับการยกเว้นค่าสมัครต้องไม่เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา เพื่อการสำเร็จการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 เป็นต้นไป

 

7. บทความที่เสนอต้องยังไม่เคยได้รับการจัดพิมพ์เผยแพร่ในที่อื่นมาก่อน และหากบทความที่เสนอ ได้รับการจัดพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ Veridian  E-Journal Silpakorn University  ผู้เสนอบทความต้องรับรองว่าจะไม่นำบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ที่อื่นอีก (เว้นแต่จะได้รับ ความยินยอมที่เป็นหนังสือจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร) และหากเกิดความ เสียหายใด ๆ เกิดขึ้น ผู้เสนอบทความยินดีรับผิดชอบ ความเสียหายนั้น 

 

8. บัณฑิตวิทยาลัยจะไม่รับบทความ หากผู้เสนอบทความไม่ปฏิบัติตาม เงื่อนไขที่กำหนด

 

9. บทความที่เสนอจะพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review) อย่างน้อยเรื่องละ 2 คน โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาจะไม่อยู่ในสังกัดเดียวกันกับผู้เสนอบทความและบทความที่จะได้รับการจัดพิมพ์เผยแพร่จะต้องผ่านการ พิจารณาตรวจสอบคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review) ก่อนการเผยแพร่

 

10. หลังจากบัณฑิตวิทยาลัยได้รับผลจากผู้ทรงคุณวุฒิครบทั้งสองท่านแล้ว  บัณฑิตวิทยาลัยจะส่งผลการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิไปให้ผู้ส่งบทความทาง email  

 

11. ขอให้ผู้ส่งบทความปรับแก้บทความตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิแนะนำ และส่งไฟล์บทความฉบับสมบูรณ์เป็นไฟล์  .docx  หรือ  .doc กลับมายังบัณฑิตวิทยาลัย

 

12. หลังจากบัณฑิตวิทยาลัยได้รับไฟล์ฉบับสมบูรณ์ที่ปรับแก้โดยผู้ส่งบทความเรียบร้อยแล้ว ในกรณีที่ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสองท่านเห็นสมควรให้ตีพิมพ์เผยแพร่ บัณฑิตวิทยาลัยจะจัดทำหนังสือแจ้งผลการพิจารณาบทความ (แบบตอบรับบทความ) ต่อไป