ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ ของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร (Psycho-Social Factors Related Cigarette Smoking Prevention Behaviors of Primary School Students Year 4-6 in Bangkok Metropolitan)

Main Article Content

พัสวีภรณ์ อัครกิตติพงศ์ (Patsaweeporn Akkarakittipong)
ณัฐวุธ แก้วสุทธา (Nathawut Kaewsutha)
อังศินันท์ อินทรกำแหง (Ungsinun Intarakamhang)

Abstract

                การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาอำนาจในการทำนายของกลุ่มตัวแปรปัจจัยทางจิตและกลุ่มตัวแปรปัจจัยทางสังคมที่สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 545 คน ใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดประเภทมาตรประเมินค่า จำนวน 1 ฉบับ (8 ตอน) มีค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟ่าระหว่าง .76 ถึง .88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีลำดับ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวแปรปัจจัยทางจิต (ลักษณะมุ่งอนาคต-ควบคุมตน เจตคติที่ดีต่อพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ และการมีภูมิคุ้มกันทางจิต) และกลุ่มตัวแปรปัจจัยทางสังคม (การสนับสนุนทางสังคม การเห็นแบบอย่างที่ดีในการป้องกันการสูบบุหรี่ และการควบคุมการสูบบุหรี่จากผู้ปกครอง)สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ ได้ร้อยละ 24.6 โดยมีตัวแปรสำคัญ ได้แก่ เจตคติที่ดีต่อพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ และการเห็นแบบอย่างที่ดีในการป้องกันการสูบบุหรี่


 


                 The purpose of this research were to study the predictor factor between psycho and social factors on cigarette smoking prevention behaviors of primary school student year 4-6. The sample consisted of five hundred and forty five primary school students year 4-6 chosen by stratified sampling. This research consisted of an instrument with eight components, in form of summated rating scales. The reliability with alpha coefficients was .76 to .88. The data were analyzed by hierarchical multiple regression analysis. The result found that the psycho factors (future orientation-self control, positive attitudes toward cigarette smoking prevention behaviors, and psychological immunity) and the social factors (social support, role modeling in smoking prevention, and smoking control from parents) predicted cigarette smoking prevention behaviors at 24.6% and also found that positive attitudes toward cigarette smoking prevention behaviors and role modeling in smoking prevention were significant factors on cigarette smoking prevention behaviors

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ