อิทธิพลของโปรแกรมการโค้ชการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีต่อ สมรรถนะของครูผู้สอน(Influence of Project-Based Learning Coaching Program on Teacher Competency )

Main Article Content

ธนวัฒน์ ศรีไพโรจน์ (Thanawat Sripairote)
ปิยดา สมบัติจินดา (Piyada Sombatwattana)
ดุษฎี โยเหลา (Dusadee Yoelao)

Abstract

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสมรรถนะของครูผู้สอนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานซึ่งได้รับกระบวนการโค้ช สมรรถนะของครูผู้สอนแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการรู้คิด ด้านการเข้าใจตนเอง ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นครูผู้สอนที่จัดการเรียนรู้ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 16 คน โดยกลุ่มตัวอย่างจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยแต่ละกลุ่มจะประกอบด้วยครูผู้สอนจำนวน 8 คน ที่มาจากแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ โปรแกรมการโค้ชการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีต่อสมรรถนะของครูผู้สอน แบบประเมินสมรรถนะของครูผู้สอนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ  (One-way ANOVA for Repeated Measure)


 ผลการวิจัยพบว่า


               1) ครูผู้สอนที่เข้าร่วมโปรแกรมการโค้ชการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานมีสมรรถนะของครูผู้สอนในระยะก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการโค้ชกับระยะหลังสิ้นสุดโปรแกรมการโค้ชและระยะสิ้นสุดโปรแกรมการโค้ชกับระยะติดตามผลอีก 2 สัปดาห์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


               2) ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะของครูผู้สอนของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 


              The purpose of this study was to examine the Influence of Project-Based Learning coaching program on teacher competency. The teachers’ competencies consist of 4 domains (cognition, intrapersonal, interpersonal and instruction).  The sample consisted of 16 teachers who teach in Mattayomsuksa 2 from the Office of the Basic Education Commission schools. They were assigned into experimental and control groups (n = 8 in each group). The research tools are the coaching program and the teacher competencies evaluation form whose teach though Project-Base Learning. We analyze the data by one-way ANOVA for Repeated Measure.


               The findings were as follows:


               1) Teachers who join in our coaching program have the teachers’ competencies score in the post-coaching program period different from the pre-coaching and in the post-coaching program period different from the 2 weeks follow up period at .05 level.


               2) The difference between the experiment group and the control group is non-significant at .05 level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ