การพัฒนาบริษัทส่งออกจำลองแบบมีส่วนร่วมสำหรับผู้เพาะเลี้ยงปลาสวยงาม ในประเทศไทย (The development of replication export company by participation model for ornamental fish farmers in Thailand)

Main Article Content

กนกพัชร กอประเสริฐ (Kanokpatch Koprasert)
กสมล ชนะสุข (Kasamol Chanasuk)
ฉัตรรัตน์ โหรตระไวศยะ (Chattrarat Hotrawaisaya)

Abstract

                โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งและดำเนินการบริษัทส่งออกจำลองแบบมีส่วนร่วมสำหรับผู้เพาะเลี้ยงปลาสวยงามของประเทศไทย วิธีการเลือกกลุ่มผู้เข้าร่วมวิจัย จำนวน 15 คน ประกอบด้วย เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาสวยงามในจังหวัดนครปฐมและนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม การวิจัยนี้ดำเนินการวิจัยโดยระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยกลุ่มตัวอย่างเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยเพื่อค้นหาคำตอบร่วมกัน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การศึกษาปรากฏการณ์โดยตรง (Phenomenology Study) การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม (Participation Observation) การระดมสมอง (Brainstorming) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่าบริษัทส่งออกจำลองแบบมีส่วนร่วม ใช้รูปแบบในการดำเนินธุรกิจโดยใช้ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ภารกิจหลักของธุรกิจ คือ ขายปลากัดสวยงามออนไลน์และออฟไลน์ โดยมีปัจจัยที่ส่งผลให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ 6 ปัจจัย ประกอบด้วย 1) การแบ่งปันผลประโยชน์ (Share) 2) การสร้างความมั่นใจ (Sure) 3) บริหารต้นทุนที่ต่ำ (Saving) 4) การพูดคุยกัน (Speak) 5) ไม่มีการจัดเก็บ (Stock) 6) สังคมออนไลน์ (Social Online) ดังนั้น การพัฒนาแบบมีส่วนร่วมอย่างมีระบบช่วยในการพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจโดยนำแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ร่วมกับเศรษฐกิจดิจิตอลส่งเสริมให้เกิดเกษตรกรยุคใหม่ที่มีศักยภาพ ประสานความร่วมมือในการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การสร้างรายได้บนพื้นฐานทุนชุมชน สร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง


 


                       This research aimed to establish and operate a participatory replication export company for ornamental fish farmers of Thailand. Fifteen key in formants. They consisted of the ornamental fish farmers in Nakhon Pathom province and the students of the faculty of management science of Nakhon Pathom Rajabhat University. Qualitative research and action research were conducted in the study by letting the samples take part in the research process in order to find common answers. Research instruments were phenomenology study, participation observation, brainstorming, and in-depth interview. Content analysis was used to analyze qualitative data. The findings revealed that the participatory replication export company used the value chain to operate the business. The main mission of the company used the value chain to operate the business. The main mission of the company was to sell ornamental fighting fish online and offline. Factors that made the business successful consisted of: 1) share, 2) sure, 3) saving, 4) speak, 5) stock, and 6) social online. Consequently, the systematic participatory development could contribute to the development of business innovation. Applying the concept of creative economy as well as digital economy could also encourage new potential farmers, In addition, collaboration in development could lead to the income and truly strengthen sustainability of the community.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ