การพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายด้วยกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกายของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน (Development of Exercise Model with Thai Folk Game Activities to Promote Physical Fitness of Elementary School Students with -) Development of Exercise Model with Thai Folk Game Activities to Promote Physical Fitness of Elementary School Students with Overweight

Main Article Content

วรรณวิสา บุญมาก (Wanwisa Bungmark)

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายด้วยกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกายของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน และเพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-3 โรงเรียนสาธิต ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จังหวัดนครปฐม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม คือ นักเรียนระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 1-3 ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มละ 18 คน แยกเป็นเพศชาย 9 คน และเพศหญิง 9 คน จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร (ปฐมวัยและประถมศึกษา) และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ตามลำดับ ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบอาสาสมัคร (Volunteer Sampling) กลุ่มทดลองเข้ารับการฝึกการออกกำลังกายด้วยกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย เก็บข้อมูลโดยการทดสอบสมรรถภาพทางกายของกลุ่มตัวอย่าง ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบทางเดียว (One-way Analysis of Covariance) โดยกำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


               ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายด้วยกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกายของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกินที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ                  3 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการและวัตถุประสงค์ 2) ขั้นตอนการออกกำลังกายด้วยกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน และ 3) การวัดและประเมินผล และเป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพ

 


  1. ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบทางเดียวของสมรรถภาพทางกาย กลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 มีผลดังนี้

                    2.1 ค่าเฉลี่ยน้ำหนักของร่างกาย ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อท้อง ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อหลังและต้นขาด้านหลัง และความอดทนของระบบหายใจและระบบไหลเวียนเลือดของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


                    2.2 องค์ประกอบของร่างกายในส่วนปริมาณไขมันที่สะสมในร่างกาย ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อแขนและกล้ามเนื้อส่วนบนของร่างกาย ความแข็งแรงและกำลังของกล้ามเนื้อขา ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


               สรุปได้ว่า การพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายด้วยกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการและวัตถุประสงค์ 2) ขั้นตอนการออกกำลังกายด้วยกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน และ 3) การวัดและประเมินผล และผลจากการออกกำลังกายด้วยการละเล่นพื้นบ้านช่วยส่งเสริมสมรรถภาพทางกายด้านน้ำหนักของร่างกาย ความแข็งแรงและอดทนของกล้ามเนื้อท้อง ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อหลังและต้นขา และความอดทนของระบบหายใจและไหลเวียนโลหิตของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกินได้


 


                 The purposes of this research were to develop the exercise model with Thai folk game activities and to compare the physical fitness of elementary school students with overweight. The sample consisted of 1-3 elementary school students in the second semester of the academic year 2017 with overweight. The experimental group and the control group consisted of 18 elementary school students with overweight, in per group 9 males and 9 females from Silpakorn Demonstration School. (Early Childhood Education and Primary Education) and Kasetsart University Demonstration School Kamphaeng Saen Campus, respectively. Volunteer Sampling. The experimental group practiced with Thai folk games activities to promote physical fitness. Data were collected by means of physical fitness tests before experiment, after 4th week and after the 8th week. Analyze data by average, standard deviation, One-way Analysis of Covariance were also employed for statistical significant    p < .05)


               The results of this research were as follows: 1. The development of the exercise model with Thai folk game activities to enhance the physical fitness of the overweight elementary school students. It consists of three key elements: 1) Principles and Objectives  2) Exercise Procedures with Folk Games and 3) Measurements and Assessments. It is a form of effective exercise.


  1. One-way Analysis of Covariance analysis for physical fitness experimental group with control group after the 8th week, the results are as follows.

                    2.1  Body weight, strength and endurance of abdominal muscles, flexibility of back and thigh and cardiorespiratory endurance of experimental group better than control group at the .05 level.


                    2.2  Body composition in body fat, strength and endurance of the upper arm muscles and strength and leg power of muscles of experimental and control groups was not significantly different at the .05 level.


               In conclusion, the development of the exercise model with Thai folk game activities consisted of three main elements: 1) principles and objectives; 2) the exercise process with Thai folk games activities; and 3) measurement and evaluation. And the results of the exercise with Thai folk games activities can promote physical fitness on the body weight. Strength and endurance of the abdominal muscles. Mean of flexibility in the back and thighs. And cardiorespiratory endurance in primary school students with overweight.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ