การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาวิชาชีพครูโดยใช้การโค้ชแบบร่วมมือร่วมใจ (Developing the Analytical Thinking of Teachers Students by Collaborative Coaching Approach)

Main Article Content

วิชัย วงษ์ใหญ่ (Wichai Wongyai)
มารุต พัฒผล (Marut Phatphol)
จำรัส อินทลาภาพร (Chamras Intalapaporn)

Abstract

                   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาวิชาชีพครูก่อนและหลังการพัฒนาโดยใช้การโค้ชแบบร่วมมือร่วมใจ และ2) เปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาวิชาชีพครูหลังการพัฒนาโดยใช้การโค้ชแบบร่วมมือร่วมใจ กับเกณฑ์ร้อยละ 80 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาจีน จำนวน 35 คน  สาขาวิชาศิลปศึกษา จำนวน 35 คน และสาขาวิชาธุรกิจศึกษา   จำนวน 22  คน จำนวน 92 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย ผู้วิจัยเก็บรวมรวมข้อมูลกับนักศึกษาวิชาชีพครูระหว่างเดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2560  เป็นเวลา 51 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ  t – test for dependent sample และ t – test  for one sample ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาวิชาชีพครูมีทักษะการคิดวิเคราะห์หลังได้รับการโค้ชแบบร่วมมือร่วมใจสูงกว่าก่อนได้รับการโค้ชแบบร่วมมือร่วมใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ  2) นักศึกษาวิชาชีพครู มีทักษะการคิดวิเคราะห์หลังได้รับการโค้ชแบบร่วมมือร่วมใจสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ


 


                         The objectives of this research were 1) compare the analytical thinking skills of students teachers before and after using collaborative coaching and 2) compare the analytical thinking skills of students teachers after using collaborative coaching with 80% criteria. 92 students teachers in Nakhon Pathom Rajabhat University, Thailand were sample in this study that selected by simple random sampling.  Researchers developed  the analytical thinking  skills  of students teacher during August – December 2017 for 51 hours and scoring rubrics was used for evaluating the analytical thinking skills of students teacher. Analyzed the data by   t – test for dependent sample and  t – test  for one sample and the results found that 1) the analytical thinking  skills  of  students teachers after using collaborative coaching   higher than before using collaborative coaching, statistical significant at .05 level and 2) the analytical thinking skills of students teachers after using collaborative coaching over 80% criteria. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ