ผลของกิจกรรมตามแนวคิดการเรียนแบบร่วมมือร่วมกับการเสริมแรงทางบวกเพื่อพัฒนา เจตคติที่มีต่อการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์) กรุงเทพมหานคร (The Effects Of Cooperative Learning Approach And Positive Reinforcement -) The Effects Of Cooperative Learning Approach And Positive Reinforcement Activities For Increasing Attitudes Towards Reading For Mathayomsuksa 6 Students At Seekan (Wattananunupatum) School Bangkok.

Main Article Content

ภัคชนัญ ศรีจ๊ะ (Phakchanan Srija)
วรางคณา โสมะนันทน์ (Varangkana Somanandana)

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research)  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของกิจกรรมตามแนวคิดการเรียนแบบร่วมมือร่วมกับการเสริมแรงทางบวกเพื่อพัฒนาเจตคติที่มีต่อการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประชากรคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์) จำนวน 250 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์-อุปถัมภ์) ปีการศึกษา 2560 จำนวน 20 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมกิจกรรม 6 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมตามแนวคิดการเรียนแบบร่วมมือร่วมกับการเสริมแรงทางบวก จำนวน 6 แผน ครั้งละ 50 นาที 2) แบบวัดเจตคติที่มีต่อการอ่านจำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสถิติ ใช้ The Wilcoxon Matched Pairs Signed – Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเจตคติที่มีต่อการอ่านเพิ่มขึ้นภายหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


                This research was a Quasi Experimental .The purposes of this research study were 1) To study the effect of cooperative learning approach and positive reinforcement activities for increasing attitudes towards Reading.The populations were 250students from Mathayomsuksa 6 students in academic year 2017, Seekan (wattananunuppatum) School, Bangkok.  The researcher use cluster sampling selected 20 students who study in mathayomsuksa 6 in academic year 2017.The experimental group participated in the Cooperative learning approach with positive reinforcement activities for 6 sessions, 50 minutes per each session. The instruments utilized in this research were: The Cooperative learning approach and positive reinforcement activities for increasing attitudes of reading and Questionnaires on Attitude of Reading. The basic statistic are mean and standard deviation for calculating a questionnaires. The data were statistically analyzed by The Wilcoxon Matched Pairs Signed – Ranks Test.The result of this study showed that The experimental group increasing attitudes of reading after participated in the Cooperative learning activities approach and positive reinforcement was significantly higher at the level of .05

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ