ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพแบบดูแลให้คำปรึกษา (AT_PSM Mentoring Model – 4A Model) เพื่อพัฒนาความสามารถ ในการจัดการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่ส่งเสริมความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (The -) The Effects Of Using At_Psm Mentoring Model– 4A Model: Professional Development Model To Improve Learning Management Ability For Field Experience Student Teachers That Enhances Analytical Thinking Ability Of Tenth Grade Students

Main Article Content

ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี (Chommanad Cheausuwantavee)

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพแบบดูแลให้คำปรึกษา เพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่ส่งเสริมความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ดังนี้ 1) ศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน  2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่มีต่อการใช้รูปแบบ และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน  ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) ภาคเรียนที่ 2    ปีการศึกษา 2557 ที่เรียนวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 34 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) และนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 1 คน ซึ่งฝึกปฏิบัติการสอนวิชาคณิตศาสตร์ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้องที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพ AT_PSM Mentoring Model – 4A Model แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบความรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน แบบประเมินความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้และแบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่ส่งเสริมความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบประเมินความพึงพอใจของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่มีต่อการใช้รูปแบบและแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ประมวลสรุปด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการเขียนพรรณนาความ ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเลขคณิตด้วยการทดสอบ t-test for dependent samples


               ผลการวิจัย พบว่า


  1. หลังการใช้รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพ นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน สูงขึ้นกว่าก่อนการใช้รูปแบบ

  2. หลังเรียนนักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  3. โดยรวมนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบ ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.90, S.D. = .31)  

  4. โดยรวมนักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู อยู่ในระดับเห็น ด้วยมาก ( = 4.24, S.D. = .33)

      The purposes of this research were to study effects of using mentoring professional   development model to improve learning management ability for field experience student teachers that enhances analytical thinking ability of student (AT_PSM Mentoring Model – 4A   Model).  The subjects were thirty four tenth grade students in the second semester of the 2014 academic year from Prasarnmit Demonstration School, Srinakharinwirot University by employing the cluster random sampling technique and 1 field experience student teacher. The research instruments were AT_PSM Mentoring Model – 4A Model, lesson plans, evaluation form, self-assessment form, analytical thinking assessment test and questionnaire. Statistical analysis employed were mean, standard deviation, t-test for dependent samples and content analysis.


               The research findings were:


               1.The field experience student teacher’s learning management ability enhancing mathematics analytical thinking ability of student after implementation of the model were higher than before.


  1. Students’ mathematics analytical thinking ability after implementation of the model were higher than before with statistically significant different at the level of .01.

  2. The field experience student teacher Satisfied for the model at a highest level of agreement. ( = 4.90, S.D. = .31)

  3. The students agreed with the learning management at a high level of agreement. ( = 4.24, S.D. = .33)

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ