การศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาผลการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ของสถานศึกษา ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตชายแดนไทย ลาว กัมพูชา ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (A Study of Current Situation and Needs for the Development Learning Outcomes-)

Main Article Content

ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์ (Teerachai Nethanomsak)
ลัดดา ศิลาน้อย (Ladda Silanoi)
อังคณา ตุงคะสมิต (Angkana Tungkasamit)
สิทธิพล อาจอินทร์ (Sitthipon Art-in)
ศิริพงษ์ เพียศิริ (Siribhong Bhiasiri)

Abstract

               การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับการจัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาผลการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ของโรงเรียนในเขตชายแดนไทย ลาว กัมพูชา มีการดำเนินงานวิจัย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการสำรวจสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการพัฒนาผลการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเก็บข้อมูลกับครูและผู้บริหารสถานศึกษาที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่มีพรมแดนติดกับประเทศลาวและกัมพูชา ได้แก่ จังหวัดบึงกาฬและศรีสะเกษ จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 89 คน ระยะที่ 2 เป็นการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็น โดยทำการลงพื้นที่ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ และศรีสะเกษเขต 2 รวมทั้งหมด 6 โรงเรียน ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจเชิงปริมาณ ผู้วิจัยนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เพื่อให้ได้ข้อสรุปเชิงอุปนัย


                   สรุปผลการวิจัย


                   1)  สภาพปัจจุบันเกี่ยวกับการพัฒนาผลการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พบว่า มีการปฏิบัติในทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง (2.12 £    £ 3.21) ทั้งด้านการกำหนดหลักสูตร  ด้านองค์ประกอบหลักสูตร ด้านการนำหลักสูตรไปใช้และการบริหารจัดการหลักสูตร และด้านการประเมินหลักสูตร


                   2)  ด้านความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการพัฒนาผลการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน พบว่า มีความต้องการสูงในทุกด้าน โดยมีจำนวนร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่แสดงถึงความต้องการพัฒนามากกว่าร้อยละ 80 ในทุกรายการ


                   3)  ผลการศึกษาภาคสนาม พบว่า สถานศึกษามีความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่บูรณาการเรื่องประชาคมอาเซียนไว้ในหลักสูตร ที่อยู่บนพื้นฐานของการสร้างความเข้มแข็งในชุมชนท้องถิ่น แล้วจึงเชื่อมโยงสู่มิติต่างๆ ของกลุ่มประเทศสมาชิกในประชาคมอาเซียน โดยใช้วัฒนธรรมของแต่ละประเทศเป็นสื่อกลางสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรและออกแบบการจัดการเรียนการสอน รวมถึงผลกระทบที่เกิด อีกทั้งประเด็นความรู้สึกของความร่วมมือและมิตรภาพ มากกว่าการเอาเปรียบหรือการแข่งขันที่นำไปสู่ความขัดแย้ง 


 


              This study was conducted to study a current situation and needs for the development learning outcomes and learning process of basic educational schools in border of Thailand Loas and Cambodia with the entry into the ASEAN community. The research methodology comprised of two phases. Phase one was the study of a current situation and needs for the development learning outcomes and learning process from teachers and students who officiate at basic educational schools in border of Thailand Loas and Cambodia, consisted of 89 school principles and teachers of Bueng Kan province and Si Sa Ket province, phase two was the depth study of a current situation and needs by field work in the basic educational schools under Bueng Kan and Si Sa Ket Primary Educational Service Area Office 2, consisted of 6 primary schools.The quantitative data analysis were average, percentage, mean and standard deviation while the qualitative data were analyzed by content analysis.


               The results show that:


               1)  A current situation for the development learning outcomes and learning process in border of Thailand Loas and Cambodia with the entry into the ASEAN community show that there is practice in all aspects at the moderate level. (2.12 £    £ 3.21) such as Curriculum Amis, Curriculum Components, Curriculum Implementation, and Evaluation.


               2) Needs for the development learning outcomes and learning process of basic educational schools in border of Thailand Loas and Cambodia with the entry into the ASEAN community show that there is high level in all aspects. The percentage of sample group show the need for the development learning outcomes and learning process more than 80 percentages in every aspect.


               3) The data from field work show that the basic educational institution need the development of school based curriculum integrated the ASEAN community which based on building up community strength and connected to the other dimensions of ASEAN. Using the culture of each country as an important tool to develop the curriculum and instruction design. Including, the effect, the feeling of cooperation and friendship rather than taking advantage or competition that leads to conflict.


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ