ผลการเรียนอีเลิร์นนิงแบบแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับกิจกรรมโครงงาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (Effects Of E-Learning By Creative Problem-Solving Learning Approach And Project Based Learning Activities To -) Effects Of E-Learning By Creative Problem-Solving Learning Approach And Project Based Learning Activities To Enhance Problem Solving Abilities Of Undergraduate Students

Main Article Content

ธัญชนก รุ่งเรือง (Thanchanok Rungruang)
อนิรุทธ์ สติมั่น (Anirut Satiman)

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาขั้นตอนกิจกรรมการเรียนอีเลิร์นนิงแบบแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับกิจกรรมโครงงาน วิชา คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อการศึกษา 2) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักศึกษาที่เรียนอีเลิร์นนิงแบบแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับกิจกรรมโครงงาน วิชา คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อการศึกษา 3) ประเมินผลงานการผลิตสื่อของนักศึกษาที่เรียนอีเลิร์นนิงแบบแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับกิจกรรมโครงงาน วิชา คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อการศึกษา และ4) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนอีเลิร์นนิงแบบแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับกิจกรรมโครงงาน วิชา คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 468301 คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อการศึกษา (Computer Multimedia for Education) ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน รวมทั้งหมด 45 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling)


               เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) แผนการจัดการเรียนรู้
อีเลิร์นนิงแบบแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับกิจกรรมโครงงาน จำนวน 8 แผน 8 สัปดาห์ 3) บทเรียนอีเลิร์นนิงแบบแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับกิจกรรมโครงงาน 4) แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหา 5) แบบประเมินผลงานการผลิตสื่อ และ6) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนอีเลิร์นนิงแบบแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับกิจกรรมโครงงาน วิชา คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา


               ผลการวิจัยพบว่า 1) ขั้นตอนกิจกรรมการเรียนอีเลิร์นนิงแบบแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับกิจกรรมโครงงาน วิชา คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียเพื่อการศึกษา ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการค้นหาความจริง 2) ขั้นการค้นหาปัญหา 3) ขั้นการค้นหาแนวคิดในการแก้ปัญหา 4) ขั้นการค้นหาวิธีแก้ปัญหา และ5) ขั้นการค้นหาคำตอบที่เป็นที่ยอมรับ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.76, S.D.=0.49) 2) ผลการศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักศึกษาที่เรียนอีเลิร์นนิงแบบแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับกิจกรรมโครงงาน พบว่า ช่วงกิจกรรมกลุ่ม ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักศึกษาอยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.62 และช่วงกิจกรรมรายบุคคล ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักศึกษาอยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.71 3) ผลการประเมินผลงานการผลิตสื่อของนักศึกษาที่เรียนอีเลิร์นนิงแบบแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับกิจกรรมโครงงาน พบว่า ผลงานสื่อมัลติมีเดียวีดิทัศน์ดิจิทัลอยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.17 และผลงานสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้อยู่ในระดับดี มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.21 และ4) ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนอีเลิร์นนิงแบบแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับกิจกรรมโครงงานอยู่ในระดับดี ( =3.77, S.D.=1.03)


 


                 The purposes of this research were to 1) develop steps of e-Learning by creative problem-solving learning approach and project based learning activities 2) study the problem solving abilities of students that learned e-Learning by creative problem-solving learning approach and project based learning activities 3) evaluate computer multimedia design of students that learned e-Learning by creative problem-solving learning approach and project based learning activities and4) study the students’ opinions toward e-Learning by creative problem-solving learning approach and project based learning activities. The samples used in the research were 45 students who were enrolled in the 468301 Computer Multimedia for Education course in the first semester of the academic year 2017, Faculty of Education, Silpakorn University by simple random sampling.


               The instruments in this research were 1) a structured interviews 2) lesson plans of
e-Learning by creative problem-solving learning approach and project based learning activities 3) e-Learning system on creative problem-solving learning approach and project based learning activities 4) problem solving evaluation form 5) computer multimedia design evaluation form and6) questionnaire form on students’ opinions on e-Learning by creative problem-solving learning approach and project based learning activities. Data were analyzed by using percent, mean, standard deviation and content validity.


               Results of this research were as follows:


               1) The steps of e-Learning by creative problem-solving learning approach and project based learning activities consisted of 5 steps: 1) fact finding 2) problem finding 3) idea finding 4) solution finding and5) acceptance finding that steps were most appropriate. ( =4.76, S.D.=0.49) 2) Problem solving abilities of students that learned e-Learning by creative problem-solving learning approach and project based learning activities shown that group activity, problem solving abilities of students were good level ( =2.62) and individual activity, problem solving abilities of students were good level. ( =2.71) 3) Computer multimedia design of students that learned e-Learning by creative problem-solving learning approach and project based learning activities shown that digital video production was good level, the average score was 13.17 and multimedia for learning was good level, the average score was 13.21 and4) The students’ opinions toward e-Learning by creative problem-solving learning approach and project based learning activities were good positive level. ( =3.77, S.D. =1.03).

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ