การพัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์แบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุในชนบทไทย ด้านการดูแลสุขภาพกาย (Development of Holistic Creative Learning Skills for Older Persons in Rural Area of Thailand: Physical Health Care Dimension)

Main Article Content

นภสร นีละไพจิตร (Napasorn Neelapaijit)
นรินทรา จันทศร (Narinthra Chantasorn)
กมลรัตน์ หนูสวี (Kamonrat Nhusawi)

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์แบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุในชนบทไทยด้านการดูแลสุขภาพกาย โดยการศึกษาบริบทชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชน กระบวนการเรียนรู้ การออกแบบและพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้การดูแลสุขภาพกาย การนำกิจกรรมไปใช้และประเมินผลการใช้ ปรับปรุงและสรุปการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุในชนบทไทย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์แบบองค์รวม การศึกษาในครั้งนี้ดำเนินการในพื้นที่ในท้องถิ่น จำนวน 2 แห่ง คือ ชมรมผู้สูงอายุดอกบานไม่รู้โรย ตำบลพนมสารคาม อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา และชมรมผู้สูงอายุบางหลวง ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท


               การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในลักษณะการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบบผสมผสานวิจัย (Mixed Method Research) ระหว่างวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุในชนบทไทย การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สภาพทักษะการเรียนรู้ การจัดทำวิจัยกรณีชุมชนที่เป็นตัวอย่างความสำเร็จในการจัดกิจกรรมผู้สูงอายุ (Best Practice) ในภูมิภาคต่างๆ ศึกษาชุมชน พัฒนากิจกรรม และทดลองจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์แบบองค์รวม ประเมินผลกิจกรรมการใช้ประโยชน์ และขยายผลของรูปแบบการพัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์แบบองค์รวมในด้านสุขภาพกาย ของผู้สูงอายุในชนบทไทย


                ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ รูปแบบพัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์แบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุในชนบทไทยด้านการดูแลสุขภาพกาย เป็นการใช้กิจกรรม โครงการเป็นสื่อในการกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ทั้งในเรื่องการดูแลอาหารการกิน การออกกำลังกาย การไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายและความเป็นอยู่ในชุมชนนั้นๆ ซึ่งประกอบด้วย


  1. ขั้นตอนการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) การคัดเลือกพื้นที่ 2) การศึกษาสภาพบริบทชุมชนและวัฒนธรรมของชุมชน  3) การพัฒนารูปแบบกิจกรรมทักษะการเรียนรู้แบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุ 4) นำเสนอและรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการพัฒนากิจกรรมทักษะการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์แบบองค์รวม

  2. ปัจจัยในการนำทักษะการเรียนรู้ไปใช้ ได้แก่ 1) ภูมิปัญญาหรือวิถีชีวิตดั่งเดิม 2) ทักษะการเรียนรู้ 3) การร่วมมือของผู้สูงอายุในชมรม ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ

  3. เงื่อนไขการนำทักษะการเรียนรู้ไปใช้ ได้แก่ 1) ความพร้อมของพื้นที่ในการจัดการเรียนรู้และพัฒนา 2) ผู้นำชุมชน 3) การเรียนรู้ของผู้สูงอายุ 4) การสร้างสรรค์กิจกรรม

  4. ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ ได้แก่ ความแปลกใหม่ของกิจกรรม ความหลากหลาย สะท้อนภูมิปัญญาของชุมชน เป็นประโยชน์ การมีส่วนร่วม

            This research has a purpose to develop the holistic creation learning skills for Older Persons Physical Health Care in the rural areas of Thailand. This research examined the rural context, the participation of the older persons, their learning process, the design and the development of learning activities, application to their daily lives, and the improvement and the summary of learning style model through the older adult clubs in the rurals of Thailand. The research was conducted in two locations of the elderly clubs named "Dok Baan Mai Roo Roy" in Tumbol Panomsarakham, Amphur Panomsarakham, Chachoengsao Province, and the “Bangluang” in Tumbol Bangluang, Amphur Sappaya, Chainart Province.


               This research and development study (R&D) used mixed method research methodology which composed of analysis of literature seminar on Older Persons in rural areas, data collection by qualitative research, and the analysis of learning skills condition. Two best practice groups of different elderly clubs in two areas were focused in the study, It aims at studying rural context, developing the activities, and evaluating the activities for developing Holistic Creative Learning Skills about the physical health of older persons in rural areas of Thailand.


               The results of this research were as follows: the model of the development Holistic Creative Learning Skills of Older Persons in rural area of Thailand was the use of activities. The important findings showed that the activities of this project motivated the learning skills of Older Persons who actively participated. This project was supported by the local community organization in terms of food, exercises, and health care. The project arranged to suitable for physical condition, and the living style in the community included the following elements.
             The steps for developing the learning skills. 1) Selection of the communities of the study areas. 2) Examination of the rural context and local culture. 3) The development of the holistic creation learning skills for older persons and 4) exchange of opinions on the guidelines of the development of the holistic creative learning skills.


  1. The factors applying learning skills to the real practice: 1) the local wisdom of the living style. 2) The learning skills, and 3) the active participation of the older persons. The external factor was the support from related government agencies and local government.

  2. The conditions for applying the learning skills to the elderly clubs: 1) the readiness of learning and developing activities. 2) Action role of the local leader. 3) The learning patterns of the Older Persons and 4) the creative activities.

  1. The success indicators: the creative activities, variety, local wisdom, usefulness, and participation.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ