แนวทางการสอนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 (Guideline for Art Instruction based on STEAM Education Enhancing Creative Process for The Fifth Graders)

Main Article Content

บุญยนุช สิทธาจารย์ (Boonyanuch Sithajan)
ขนบพร แสงวณิช (Khanobbhorn Sangvanich)

Abstract

                การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการสอนศิลปะตามสะตีมศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้าน  สะเต็มศึกษา-สะตีมศึกษา 3 คน 2) ครูด้านสะเต็มศึกษา-สะตีมศึกษา 3 คน 3) ครูที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีด้านการสอนศิลปะแบบบูรณาการ 3 คน 4) ครูศิลปะสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 394 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบสอบถาม รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


               แนวทางการสอนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 สรุปได้ดังนี้ การสอนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนได้นำความรู้ 5 ศาสตร์มาใช้ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานผ่านการคิดวางแผนและทำงานอย่างเป็นขั้นตอน กิจกรรมเป็นลักษณะศิลปะประดิษฐ์ที่นำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปะ และคณิตศาสตร์มาถ่ายทอดเป็นผลงานศิลปะ มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้น ประกอบด้วย 1) ขั้นปลุกความคิด ครูนำเสนอสถานการณ์ เปิดโอกาสให้นักเรียนอภิปราย และแสดงความคิดเห็น 2) ขั้นผลิตความรู้ นักเรียนจับกลุ่มเพื่อร่วมกันศึกษา ค้นคว้า และระดมความคิดร่วมกัน 3) ขั้นสร้างแผนบูรณาการ นักเรียนนำความรู้ที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า มาทำการวางแผน 4) ขั้นสรรค์สร้างผลงาน นักเรียนได้นำสิ่งที่วางแผนไว้มาสร้างเป็นชิ้นงาน 5) ขั้นร่วมกันสะท้อนคิด นักเรียนนำเสนอผลงาน สะท้อนกระบวนการทำงาน และสิ่งที่ได้จากการปฏิบัติงาน มีการประเมินผลจากการสังเกต การตรวจใบงาน การตรวจชิ้นงาน ในด้านการทำงานเป็นทีม การวางแผนการสร้างชิ้นงาน การปฏิบัติงานตามที่ออกแบบไว้ การเลือกวัสดุ เทคนิค และวิธีการในการสร้างชิ้นงาน ความคิดสร้างสรรค์ การนำเสนอผลงาน และการสะท้อนความรู้และสิ่งที่ได้จากการปฏิบัติงาน


 


             The purpose of this research is to study the concept of art education according to the study of creative process for primary school students. The samples used in this research are 1) 3 STEAM education experts 2) 3 STEAM education teachers 3) 3 Teachers who are good practice in integrated arts teaching and 4) 394 art teachers under the Office of the Basic Education Commission. The instruments used in the study are interviews, observations and questionnaires. Data are collected and analyzed by means of percentage, mean, standard deviation and content analysis.


            Guideline for Art Instruction based on STEAM Education Enhancing Creative Process for The Fifth Graders aims to give the students applying 5 studies to create the work through thinking, planning and working, step by step. The activity is going to be in an invention of science, technology, engineering, arts, and mathematics learning to bring knowledge into a variety of arts. The 5-step learning process are: 1) Awakening, the teacher presents the situation. The teacher allows students to comment 2) Knowledge Production, students gather to study together and brainstorm together 3) Create an integrating plan, students bring their knowledge from the study to the planning 4) Creativity, students apply their creative plan to a project and 5) Idea reflection, students reflect their idea together, present their project, reflect the work process and their performances, evaluate the teamwork performance by observation, workpiece inspection as team, planning process, working according to the plan, material selection, techniques, and methods of creation, creativity, presentation, and reflection on the knowledge they receive from working.


 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ