การประเมินศักยภาพร้านอาหารเพื่อรองรับการท่องเที่ยวในเขตเทศบาลตำบลบางตะบูน จังหวัดเพชรบุรี (Assessing the potential of restaurants for tourism at Bangtaboon Municipality, Phetchaburi Province)

Main Article Content

พนัชกร สิมะขจรบุญ (Panuschagone Simakhajornboon)

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพของผู้ประกอบการร้านอาหารเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบการร้านอาหารเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้ประกอบการร้านอาหารที่สมัครใจ จำนวน 9 ร้านในเขตเทศบาลตำบลบางตะบูน เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) ด้วยวิธีการวิจัยแบบการอธิบายตามกาลเวลา (The Explanatory Sequential Design) ซึ่งให้ความสำคัญกับการวิจัยเชิงปริมาณโดยการประเมินมาตรฐานบริการอาหารเพื่อการท่องเที่ยวของสำนักพัฒนาบริการท่องเที่ยว แบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลตามเกณฑ์การประเมินของสำนักพัฒนาบริการท่องเที่ยว และสัมภาษณ์เชิงลึกพร้อมกับสังเกตการดำเนินงานของร้านอาหารเพื่อเจาะลึกในรายละเอียดเกี่ยวกับการประเมิน ผลการวิจัยสรุปว่า ผู้ประกอบการร้านอาหารทั้ง 9 แห่ง มีศักยภาพในการบริการอาหารเพื่อการท่องเที่ยว โดยพิจารณาในภาพรวม พบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับ 5 ดาว เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่ 6 (ความปลอดภัย) และองค์ประกอบที่ 7 (การให้บริการนักท่องเที่ยว)  มีผลประเมินในระดับ 4 ดาว และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ตัวชี้วัดที่ประเมินได้ในระดับปานกลาง คือ ตัวชี้วัดที่ 34 (มีการพัฒนาบุคลากรด้านสุขาภิบาลอาหารและการบริการฯ อย่างต่อเนื่อง) ตัวชี้วัดที่ประเมินได้ในระดับน้อย ได้แก่ ตัวชี้วัดข้อที่ 46 (มีการฝึกซ้อม เตรียมความพร้อมต่อกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน) 56 (มีการจัดระบบสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ) 59 (การเสิร์ฟอาหาร อย่างถูกต้องเหมาะสมกับประเภทอาหารนั้น) และ 60 (เสิร์ฟเครื่องดื่ม อย่างถูกต้องเหมาะสมกับประเภทของเครื่องดื่ม) ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงร้านอาหารเพื่อการรองรับการท่องเที่ยว ประกอบด้วย ข้อเสนอด้านความปลอดภัย และด้านการบริการ ปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบการร้านอาหารส่วนใหญ่ คือไม่ทราบว่ามีเกณฑ์มาตรฐานบริการอาหารเพื่อการท่องเที่ยว จึงไม่ได้ดำเนินงานตามเกณฑ์ที่กำหนด แต่ทำตามที่ตนเองเข้าใจและตามความสะดวก


 


               This research aims to evaluate the potential for restaurant operators to support tourism and study the problems and obstacles of restaurant operators for tourism. The key informants were 9 voluntary restaurant owners in Bangtaboon Municipality. This research was a Sequential Explanatory Design of Mixed Methodology that first focused on quantitative research by a used instrument of the standard food service for tourism with a 5-level scale from the Bureau of Tourism Development. Analyze data according to evaluation criteria of Bureau of Tourism Development. Then in-depth interviewed with restaurant operators and observed for their operations in order to describe in each factor of the standard. The research concludes that the nine restaurant operators have the potential to be the food restaurants for tourism, by considering the "overview" found that the result of evaluated is 5 stars. Comparing to individual components, it was found that components 6 (safety) and components 7 (Tourist Service) has a 4-star rating. Considering in each item, it was found that the indicators that were assessed at a moderate level were indicator 34 (continuous improvement of human resources for food and service). Indicators measured at a low level are indicator 46 (Rehearsal, prepare for an emergency), 56 (Provide facilities for people with disabilities), 59 (Foodservice, properly suited for that type of food), and 60 (Served beverages, properly suited to the type of drink). The suggestions for improving the restaurant for tourism support are safety and service offerings. Problems and Obstacles of Restaurant Operators found that most restaurants do not know that there are restaurant criteria. So they do not follow the criteria but done by their own understanding and convenience.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ