ปัจจัยการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนสำหรับกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (Factors of Sustainable Urban Development for Bangkok and Vicinity)

Main Article Content

ภาสกร หอยสังข์ทอง (Pasakorn Hoisangtong)

Abstract

                 การวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อค้นหาปัจจัยการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนสำหรับกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยใช้กรอบการวิเคราะห์ที่สร้างจากทฤษฎีการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนเป็นเกณฑ์การเปรียบเทียบการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนของมหานครและมหานครลอนดอนกับการพัฒนาเมืองกรุงเทพ มหานครและปริมณฑล การวิจัยพบว่า (1) ด้านกายภาพ : ควรสร้างเมืองแบบกระจายตัวเป็นกลุ่มที่มีหลายศูนย์กลางด้วยการกำหนดทิศทางการขยายตัวของชุมชนเมืองและรักษาพื้นที่สีเขียวให้สอดคล้องกับสภาพ แวดล้อม (2) ด้านการขนส่ง : สร้างการสัญจรให้หลากหลายตามแนวความคิดการพัฒนาการขนส่งแบบTOD (Transit Oriented Development) และส่งเสริมการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (3) ด้านการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน : สร้างสังคมแห่งการรีไซเคิลและปฏิรูปการใช้พลังงานทดแทน (4) ด้านสิ่งแวดล้อม : สร้างกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นเมืองปลอดมลภาวะและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (5) ด้านเศรษฐกิจ : ส่งเสริมเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเพิ่มการพึ่งพาตนเองของเมือง (6) ด้านสังคม : ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและปลูกฝังองค์ความรู้ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้แก่ชาวเมือง


 


                This research is aimed to find urban development factors for Bangkok and Vicinity that used an analytical framework based on sustainable urban development theories, to serve as a benchmark between sustainable urban development of Los Angeles county, Greater London and Bangkok and Vicinity development. The research found that. (1) Physical : Bangkok and Vicinity  should follow  decentralized concentration model by setting the directions of urban expansion in order to preserve existing natural environment. (2) Transportation :  create diversity of transportation modes based on Transit Oriented Development concept and promote green transportation. (3) Resources and energy consumption : create recycle-based society and promote renewable energy reform. (4) Environmental : create Bangkok and Vicinity as a zero-emission city and reduce greenhouse gas emission. (5) Economic : create green economy and increase self-reliance of the city. (6) Social : promote public participation and cultivate sustainable development knowledge among the people.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ