การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดซินเนคติกส์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการถ่ายภาพเชิงสร้างสรรค์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศิลปากร (A Development of Photograph Learning Activities Using Synectics with Social Media -) A Development of Photograph Learning Activities Using Synectics with Social Media Learning to Enhance Creative of Photography for Undergraduate Silpakorn University

Main Article Content

เรียนา หวัดแท่น (Riana Wadtan)
น้ำมนต์ เรืองฤทธิ์ (Nammon Ruangrit)

Abstract

                   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนการถ่ายภาพตามแนวคิดซินเนคติกส์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการถ่ายภาพเชิงสร้างสรรค์  2) ศึกษาความสามารถในการถ่ายภาพเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษา ในรายวิชา การถ่ายภาพดิจิทัล  3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดซินเนคติกส์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนการถ่ายภาพตามแนวคิดซินเนคติกส์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ที่ลงทะเบียนวิชา  468 204 การถ่ายภาพดิจิทัล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 37 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง  2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการถ่ายภาพตามแนวคิดซินเนคติกส์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์  3) กิจกรรมการเรียนการสอนการถ่ายภาพตามแนวคิดซินเนคติกส์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์  4) แบบประเมินผลงานความสามารถในการถ่ายภาพเชิงสร้างสรรค์  5) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาการถ่ายภาพดิจิทัล  6) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการถ่ายภาพตามแนวคิดซินเนคติกส์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 


               ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดซินเนคติกส์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ด้านสื่อการสอน ในภาพรวมพบว่า ผลการประเมินมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( =4.25 , S.D.= 0.38) และคุณภาพกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดซินเนคติกส์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ด้านกิจกรรม ของผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมพบว่า ผลการประเมินมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.56 , S.D.= 0.35) 2) ความสามารถในการถ่ายภาพเชิงสร้างสรรค์จากแบบประเมินผลงานความคิดสร้างสรรค์ในการถ่ายภาพ พบว่าผลงานการถ่ายภาพมีลักษณะผลงานสร้างสรรค์อยู่ในระดับดี ( = 2.61 , S.D.= 0.50)   3) คะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดซินเนคติกส์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ วิชา การถ่ายภาพดิจิทัล  ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลการเรียนหลังเรียน ( =34.49 , S.D.= 1.55 ) สูงกว่าก่อนเรียน ( =21.84 , S.D.= 2.47)  4) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนการถ่ายภาพตามแนวคิดซินเนคติกส์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.06, S.D. = 0.78)


 


                   The purposes of this thesis were 1) develop a photograph learning activities by using Synectics throughout social media for enhancing creative of photography ability 2) study a creative photography ability of students in digital photo subjects 3) study an achievement of students who have learned an photograph learning activity of Synectics throughout social media 4) study the students' satisfaction who have learned this activities. The samples of this thesis were 37 undergraduate students of Faculty of Education from Silpakorn University Sanam Chan Palace Campus who enrolled in digital photo subjects (Code 468 204) on second semester in 2017. They were selected by simple random sampling. The instrument used in this thesis were 1) structured interview 2) an activities program of photograph learning by using Synectics throughout social media 3) a photograph learning activities by using Synectics throughout social media 4) assessment form of creative photography 5) assessment form of students’ achievement 6) students' satisfaction assessment form toward the activities.


               The result demonstrated that 1) the quality in overall of a photograph learning activities by using Synectics throughout social media of instructional media was in the highest level ( =4.25 , S.D.= 0.38), and in terms of activity, it was found that the quality of the assessment was in the highest level ( =4.56 , S.D.= 0.35) 2) Creative ability of photography showed that it was in a good level  ( = 2.61 , S.D.= 0.50) 3) there was a considerable difference at .05 in an average achievement score on pretest and posttest result which pretest result ( =34.49 , S.D.= 1.55 ) was higher than posttest ( =21.84 , S.D.= 2.47) 4) satisfaction of students toward learning activity was in the highest level ( = 4.06, S.D. = 0.78).

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ