สภาพและปัญหาในการจัดการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ของนักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสังคมศึกษา (State and Problems of History Instructional Organization of Pre - Service Teachers in Social Studies)

Main Article Content

ศศิพัชร จำปา (Sasiphat Champa)

Abstract

                    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาด้านความรู้ และการประยุกต์ใช้ความรู้ทางประวัติศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ของนักศึกษาฝึประสบการณ์วิชาชีพครูสังคมศึกษา 2) ศึกษาความคาดหวังด้านความรู้และการประยุกต์ใช้ความรู้ทางประวัติศาสตร์สู่การจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาฯ 3) ศึกษาความต้องการจำเป็นด้านความรู้และการประยุกต์ใช้ความรู้ และวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์สู่การวางแผนและการจัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ของนักศึกษาฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสังคมศึกษาในเขตภูมิภาคตะวันตก จากคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร และสาขาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีจำนวน 250 คน (ชั้นปีที่ 5 ภาคการศึกษาปลายปีการศึกษา 2560) ที่ได้รับการศึกษาในประวัติศาสตร์อย่างน้อย 1 รายวิชาและได้ฝึกปฏิบัติการสอนหรือกำลังฝึกปฏิบัติการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ในปีการศึกษา 2560 และผู้เชี่ยวชาญในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ หรือสังคมศึกษาในระดับมัธยมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสภาพและปัญหาด้านความรู้และการประยุกต์ใช้ความรู้ทางประวัติศาสตร์สู่การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนของนักศึกษาวิชาชีพครูสังคมศึกษามีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นเพื่อเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ โดยใช้ดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index : PNI Modified) และการวิเคราะห์เนื้อหา


 


                  The purposes of this research were to : 1) study the state of knowledge and problems and application in history of pre – service teachers in social studies; and 2) study the expectation of knowledge and application to instructional organization in history of pre – service teachers in social studies. 3) study need and placation of knowledge and historical methods to plan and organize history instruction of pre–service teachers. The sample were 250 pre – service teachers in social studies of faculty of education, Silpakorn University, Nakhon Pathom Rajabhat University, Kanchanaburi Rajabhat University, Phetchaburi Rajabhat University, who study in history at least 1 subject and work as pre – service teachers in 2017. And Expert in instructional history or social study. The research instruments consisted of a questionnaire and data were analyzed by means, percentages, standard deviations, Modified Priority Needs Index : PNI Modified and content analysis was also used to analyze the data.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ