แนวทางการพัฒนาด้านการตลาดธุรกิจไข่เค็มใบเตย: กรณีศึกษาวิสาหกิจ ชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านโคกพุทรา หมู่ที่ 2 ตำบลถนนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี (The Guidelines for Marketing Development of Pandanus Salted Egg Business:-) The Guidelines for Marketing Development of Pandanus Salted Egg Business: A Case Study of Ban Khokputsa Agricultural Housewife Group Community Enterprise, Moo 2, Thanonyai Sub-District,Muang District, Lop Buri Province

Main Article Content

กุลชลี พวงเพ็ชร์ (Kulchalee Puangpejara)
สมพร พวงเพ็ชร์ (Somporn Puangpejara)
โสพิศ คำนวนชัย (Sopich Kumnuanchai)

Abstract

              การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1)ศึกษาสภาพและปัญหาของการจัดการด้านการตลาดธุรกิจไข่เค็มใบเตยของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านโคกพุทรา หมู่ที่ 2 ตำบลถนนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี และ2) กำหนดแนวทางการพัฒนาด้านการตลาดธุรกิจไข่เค็มใบเตยของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้าน โคกพุทรา หมู่ที่ 2 ตำบลถนนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สมาชิกวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านโคกพุทรา หมู่ที่ 2 ตำบลถนนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี 18 คน 2) ลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ไข่เค็มใบเตยของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านโคกพุทรา 384 คน3) ผู้นำชุมชน จำนวน 2 คน และ4) นักวิชาการด้านการตลาด 2 คน โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกการเก็บแบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


               ผลการวิจัยพบว่า ธุรกิจไข่เค็มของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรโคกพุทรายังมีปัญหาที่สำคัญ คือ กลิ่นหอมของใบเตยไม่เด่นชัดทำให้ขาดเอกลักษณ์ของตนเอง บรรจุภัณฑ์ไม่จูงใจให้ลูกค้าและนักท่องเที่ยวซื้อไปเป็นของฝาก และไม่เน้นการโฆษณาประชาสัมพันธ์ โดยใช้ระบบปากต่อปากเป็นหลัก แนวทางการพัฒนาธุรกิจไข่เค็มใบเตยของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านโคกพุทราได้แก่ การสร้างเอกลักษณ์ของไข่เค็มใบเตยของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านโคกพุทราให้ชัดเจน  ควรพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยและราคาถูก เพื่อเน้นการจำหน่ายเป็นของฝาก สำหรับนักท่องเที่ยวและคนทั่วไปและทำการโฆษณา ประชาสัมพันธ์โดยวิธีการที่หลากหลายมากขึ้น


 


                The purposes of this research were to: 1) study the state and problems of marketing management for Pandanus Salted Egg Business of Ban Khokputsa Agricultural Housewife Group Community Enterprise (BKAHGCE) at Moo 2, Thanonyai Sub-District, Muang District, Lop Buri Province; and 2) develop the guidelines for marketing development for Pandanus Salted Egg Business of BKAHGCE at Moo 2, Thanonyai Sub-District, Muang District, Lop Buri Province. The samples were 18 members affiliated to BKAHGCE, 384 product consumers of BKAHGCE, selected by accidental sampling method, two community leaders and two marketing academic staffs drawn by purposive sampling method,  The Mixed Method Research (MMR) including  in-depth interview, questionnaires, and focus group technique was employed for data collection. The quantitative data were systematically analyzed to determine percentage and mean, and also the qualitative data to capture categories using a content analysis. According to the results of the study, the most serious  problems encountered by Pandanus Salted Egg Business of BKAHGCE were lack of distinct fragrant Pandanus identity, unattractive packaging, the results revealed that the guideline for marketing development should focus on 1) improve packaging suitable for tourists, and 2) increase marketing promotion using distributing brochures, and use public relations via radio broadcast and local newspaper throughout the community should have been done to develop marketing. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ